สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ครอบครัวเมลตันต้องเจอกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เมื่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยการแพทย์ชื่อดังในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี นำตัวแนท ลูกชายของตนที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไปตรวจร่างกาย แต่กลับถูกแพทย์นำตัวไป ผ่าตัดลิ้น!
![ผ่าตัดลิ้น พังผืดใต้ลิ้น](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/02/baby-mixup-2-600-424x424.jpg?width=700&quality=10)
เจนิเฟอร์ เมลตัน กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “เธอถึงกับร้องไห้อย่างหนัก เมื่อพยาบาลเดินเข้ามาบอกว่าพังผืดใต้ลิ้นออกให้แล้ว” เธอถึงกับช็อค ว่าเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อแพทย์บอกเองว่า ลูกเธอมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี จึงสอบถามไปยังแพทย์ ๆ กลับตอบว่า “เรียกทารกมารักษาผิดคน!”
![ผ่าตัดลิ้น พังผืดใต้ลิ้น](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/02/tn-9_1454979385239_820397_ver1.0_640_360-578x325.jpg?width=700&quality=10)
เธอและนายคลินท์ เคลลี่ทนายความประจำครอบครัวได้ทำการรวบรวมข้อมูล เพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับทางโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว และทางโรงพยาบาลได้เปิดเผยต่อสำนักข่าวว่า เกิดการผิดพลาดในระหว่างการรักษา และยอมรับความผิดดังกล่าวที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ด้านครอบครัวเมลตันและทนายระบุว่า “สิ่งที่พวกเราทุกคนกังวลมากที่สุดในตอนนี้ก็คือสุขภาพของแนทมากกว่า เราไม่มีทางรู้เลยว่า เด็กจะมีปัญหาเรื่องการพูดและการกินในอนาคตหรือไม่”
ทั้งนี้ การผ่าตัดที่ทารกน้อยแนทได้รับก็คือการขลิบพังผืดใต้ลิ้น โดยทารกราว 5 เปอร์เซ็นต์มีปัญหาลิ้นติด หากไม่รีบทำการรักษา ก็จะไปส่งผมต่อการกินนมแม่ และการพูดได้
คลิกเพื่ออ่านบทความเกี่ยวเรื่องลิ้นติดได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
![ผ่าตัดลิ้น พังผืดใต้ลิ้น](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/02/2-578x384.jpg?width=700&quality=10)
ปัญหาลิ้นติดนั้นเป็นปัญหาที่พบได้ตั้งแต่ตอนแรกเกิด เป็นภาวะที่การเคลื่อนไหวอย่างปกติของลิ้นที่เคยเคลื่อนโดยอิสระถูกจำกัด
สาเหตุเกิดจาก การมีพังผืดใต้ลิ้น ที่มีเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากที่หนา และ รัดแน่นแบบผิดปกติ ปัญหานี้ไม่ได้กระทบแค่การดูดนมจากเต้า แต่จะกระทบต่อการพูดและการเคี้ยวของเด็กด้วย คนที่มีอาการลิ้นติดมากๆอาจจะทำให้แลบลิ้นยื่นออกมาไม่ได้
เด็กทารกที่มีปัญหาลิ้นติดจะเจอกับปัญหาหลายๆอย่างในการเข้าเต้า เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่จำกัดของลิ้น เช่น ดูดนมไม่ได้ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด แม่เจ็บหัวนม หรือหัวนมเป็นแผล เป็นต้น และด้วยเหตุนี้อาจจะไปส่งผลให้ร่างกายของแม่แม่สร้างน้ำนมได้น้อยลง และน้ำหนักตัวเด็กก็จะไม่ขึ้นเพราะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
วิธีการรักษาอาการลิ้นติด
ในกรณีที่ร้ายแรง ที่การเคลื่อนไหวของลิ้นนั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตจนน่าเป็นห่วง การผ่าตัดแยกส่วนติดของลิ้น หรือ Frenotomy นั้นสามารถทำได้
การผ่าตัดแบบ Frenotomy นั้นสามารถทำได้ไม่อยาก เกือบจะไม่มีการเสียเลือด สามารถทำที่คลีนิคหรือโรงพยาบาลก็ได้ โดยการใช้กรรไกรของคุณหมอตัดพังผืดใต้ลิ้นออก หลังจากนั้นก็สามารถให้นมได้ตามปกติทันที
ที่มา: Thaijam
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกคอเอียง แบบไหนปกติ แบบไหนไม่ปกติ
ลูกตาแฉะ ขี้ตาเยอะ อาจเป็นอาการท่อน้ำอุตตัน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!