TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด อันตรายไหม มีวิธีดูแลที่ถูกต้องอย่างไร

บทความ 3 นาที
ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด อันตรายไหม มีวิธีดูแลที่ถูกต้องอย่างไร

ผื่นแดงที่หน้าในทารกแรกเกิด มีโรคที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ ต่อมไขมันอักเสบ ( seborrheic dermatitis ) โรคนี้อันตรายไหม ต้องรักษาอย่างไร

สาเหตุ ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด

ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้คุณแม่หลายท่านเป็นกังวล ซึ่งต่อมไขมันอักเสบในทารกนั้น เป็นภาวะผิดปกติของผิวหนังที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการกระตุ้นมากเกินไปของต่อมไขมัน

นอกจากนี้อาจพบได้บริเวณใบหู ซอกคอ รักแร้ และขาหนีบได้ บางครั้งพบว่าอาจเกี่ยวข้องกับเชื้อรา Malassezia spp. โดยเชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อรามากกว่าเกิดจากการติดเชื้อ ดังนั้นจึงมักพบผื่นในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก ได้แก่ หนังศีรษะ ใบหน้า และลำตัว

อาการที่แสดง

ภาวะต่อมไขมันอักเสบมักพบในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะในช่วงอายุ 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด และอาจพบเริ่มมีอาการหรือเริ่มมีผื่นเมื่ออายุได้ประมาณ 2- 3 สัปดาห์ขึ้นไป และผื่นจะสามารถหายไปได้เองในช่วง 2-3 สัปดาห์ โดยผื่นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เกิดผื่น เช่น ทารก ที่มีอาการผื่นแดงที่หน้าลักษณะเป็นเม็ดสีชมพูแดงๆ พบมากที่บริเวณแก้มทั้งสองข้าง หน้าผาก และหลังหูหรือใบหู

ส่วนผื่นที่บริเวณหนังศีรษะ คิ้วจะมีลักษณะเป็นขุย หรือสะเก็ดรังแคสีเหลือง โดยสะเก็ดค่อนข้างหนาและสามารถลอกออกเป็นแผ่น ๆ ได้ บางครั้งสามารถพบรอยแดงรอบๆ สะเก็ดและเมื่อสะเก็ดหลุดออกจะมีผมร่วงได้ โดยส่วนมากทารกมักไม่มีอาการคัน เกา หรืองอแงจากผื่น โดยส่วนมากแล้ว อาการผื่นแบบนี้จะเป็น ผดร้อน เกิดขึ้นเมื่อท่อระบายเหงื่อเกิดการอุดตัน เกิดให้เป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ บนผิวหนัง หากลูกเป็นผื่นชนิดนี้ คุณแม่ควรระวังเรื่องสภาพอากาศภายในห้องที่อาจจะร้อนจนเกินไปค่ะ

การดูแลรักษาผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิดในเบื้องต้น

สำหรับบริเวณศีรษะใช้น้ำมันหรือน้ำมันมะกอกทาทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง แล้วสระออกด้วยแชมพูเด็ก กรณีที่มีสะเก็ดหนาอาจใช้น้ำมันมะกอกหรือ white petroleum jelly ทาทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วค่อยสระออกด้วยแชมพูร่วมกับการถูเบาๆ หรือใช้แปรงที่มีขนอ่อนๆ เกาจะช่วยให้สะเก็ดหลุดได้ง่ายขึ้น ถ้าเป็นมากควรใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อ่อนๆ หรือไปพบกุมารแพทย์ด้านโรคผิวหนังในเด็ก

ภาวะต่อมไขมันอักเสบนี้คุณแม่บางท่านอาจเข้าใจว่าเป็นผื่นภูมิแพ้ หรือผื่นแพ้อาหาร ซึ่งจริงๆ จะแตกต่างกันเพราะผื่นแพ้อาหาร มักจะพบทั่วตัว และมีอาการคันแต่ต่างกันที่โรคนี้จะไม่ค่อยมีอาการคันเหมือนผื่นภูมิแพ้ และเริ่มเป็นได้เร็วกว่า (ส่วนใหญ่มักเริ่มภายในเดือนแรก)

ส่วนผื่นภูมิแพ้มักเริ่มในช่วงอายุ 2-3 เดือนขึ้นไป และที่สำคัญผื่นผิวหนังจากต่อมไขมันอักเสบจะหายเร็วกว่าผื่นภูมิแพ้ โดยมักจะหายก่อนอายุ 6 เดือน (ประมาณ 3-4 เดือน) ทำให้คุณแม่บางท่านเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากการแพ้อาหารโดยเฉพาะคิดว่าแพ้อาหารผ่านนมมารดา และเมื่อคุณแม่งดอาหารแล้วผื่นดีขึ้นทั้งๆ ที่โดยตัวผื่นจะหายไปได้เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหารที่คุณแม่งด ทำให้คุณแม่เสียโอกาสในการรับประทานอาหารบางประเภทไปโดยไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์

 

วิธีป้องกัน ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด

ในบางกรณี เราอาจไม่แน่ใจว่าเกิดผื่นแดงขึ้นบนหน้าลูกได้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น อาหารบางประเภท สภาพอากาศ สิ่งระคายเคือง อย่างเช่น สารเคมี น้ำหอม สบู่ แป้ง ผงซักฟอก ตัวไรฝุ่น เหงื่อ หรือเนื้อผ้าที่ระคายผิว นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีผลการศึกษาที่สนับสนุนว่าการใช้ครีมบำรุงผิวสูตรที่เหมาะสมสำหรับผิวทารกและผิวแพ้ง่าย ตั้งแต่ทารกแรกคลอดจนถึงอายุ 6 เดือน สามารถช่วยการเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ค่ะ

 

พญ.นวลรัตน์ หาญศิริพันธุ์

พญ.นวลรัตน์ หาญศิริพันธุ์

กุมารแพทย์ด้านโรคผิวหนังในเด็ก ศูนย์สุขภาพเด็ก

รพ.พญาไท 3


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

ลูกนอนสลับเวลา นอนกลางวัน ตื่นมาเล่นตอนกลางคืน แก้ไขอย่างไรดี

parenttown

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

โรงพยาบาลพญาไท 3

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด อันตรายไหม มีวิธีดูแลที่ถูกต้องอย่างไร
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว