X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แชร์ประสบการณ์ สายดูดเสมหะติดคอลูก!!

บทความ 3 นาที
แชร์ประสบการณ์ สายดูดเสมหะติดคอลูก!!

สายดูดเสมหะติดคอเป็นเคสซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก เมื่อลูกน้อยป่วยเป็น RSVต้องมีการดูดเสมหะเพื่อทำให้การหายใจสะดวก จึงเกิดเหุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

เสมหะติดคอลูก 1

บทความนี้เป็นเรื่องที่เกิดกับครอบครัวผมจริงๆ คนมีลูกเล็กควรอ่าน (ไม่ได้หวังโจมตีใครแค่อยากให้เป็นเคสศึกษาหาทางป้องกันดังที่ผมไม่เอาโทษจากใครเป็นเคสซึ่งเกิดขึ้นได้ยากและอาจไม่เคยเกิดขึ้นเลยก็ได้ ขณะที่ผมเขียนเหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วหลายวันและผมถือว่าโชคดีมากที่ไม่เกิดอะไรร้ายแรง

เรื่องมีอยู่ว่าน้องคะนิ้งป่วยติดเชื่อ RSV ทางหลอดลมแต่ไม่ได้ลงปอดจริงๆ ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากโรคนี้เด็กเป็นกันเยอะ
อย่างที่เคยบอกไว้ว่าไม่มีวัคซีนรักษา ใช้การรักษาตามอาการ และต้องมีการดูดเสมหะเพื่อทำให้การหายใจสะดวก

ขอเล่าความเมื่อน้องคะนิ้งเข้าโรงพยาบาล

เสาร์ที่ 17 ตุลาคม ก็ได้แอดมิดเลยเพราะไข้ขึ้นสูงมาก ก็รักษาตามอาการ โดยมีการรมควันดูดเสมหะ เช้าและก่อนนอน

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม อาการก็ดีขึ้นตามลำดับจากการสังเกตของผม แต่ยังมีไข้ขึ้นสูงมากสลับกับต่ำซึ่งเป็นผลของโรค RSV อยู่แล้ว เลยยังกลับบ้านไม่ได้

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม เช้าตรู่หลังจากที่น้องคะนิ้งกลับจากดูดเสมหะมามีอาการไอมากขึ้น มีน้ำมูกออกตลอดเวลา ทั้งที่ตั้งแต่เข้าโรงพยาบาลจะมีน้ำมูกเวลาร้องไห้เท่านั้น

Advertisement

และดูผิดปกติคือไอแล้วมีเสียงขรกอยู่ในลำคอ รู้ได้อย่างไรเพราะผมสังเกตลูกทุกเวลาตลอดการรักษา แต่ผมก็คิดว่าเป็นอาการของไวรัส RSV จึงต้องอดทนสงสารลูกและใจหายทุกครั้งที่ต้องดูดเสมหะ

และตลอดวันมีไข้สูงสลับกับต่ำตลอดเวลาดูอาการแย่ลงอย่างเห็นได้ชัดกินน้อยลง ไม่เล่น นอนอย่างเดียว และเวลาให้ทานน้ำทานข้าว จะทำตาหยีเวลากลืน เลยต้องเจาะสายน้ำเกลือเพราะทานน้อยลง

แต่น้องคะนิ้งสู้มากเพราะเราพูดบอกตลอดว่าหนูกินเยอะแล้วจะหายได้กลับบ้านเร็วๆ อาการอีกอย่างคือร้องไห้งอแงหนักกว่าทุกๆๆวัน แต่ต้องรักษา ดูดเสมหะตามปกติ

เสมหะติดคอลูก 2

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม เช้าตรู่พยาบาลมารับไปดูดเสมหะตามปกติ และครั้งนี้น้องคะนิ้งไม่อยากไปอย่างเห็นได้ชัด พอกลับมาก็ละเมอ ยกมือบ๊ายบายทั้งที่หลับอยู่ (ในที่นี้คือไม่เอาไม่ไป)

หลังจากกลับมาก็มีน้ำมูกและไอหนักเหมือนเดิม เอาแต่นอน หลับอยู่ไอ ก็ลุกขึ้นร้องไห้ เช้ามาผมจึงคิดว่าคงยังออกไม่ได้เพราะดูอาการน้องแย่ลงกว่าเดิมเราคงต้องอยู่โรงพยาบาลรักษาต่อไป

เข้าช่วงบ่ายคุณแม่กับคุณย่า พยายามป้อนข้าวเสร็จแล้วก็ป้อนนม 1 กล่องน้องคะนิ้งก็พยายามทานจนหมด และหลังจากนั้นไม่นานก็ไอหนักและอาเจียน ออกมาหนึ่งครั้ง แล้วก็ไออาเจียนครั้งที่สองออกมาอีกครั้งแต่ครั้งนี้มีสิ่งนึงที่ออกมาคาอยู่ที่ปากคือ สายอะไรสักอย่างใสๆ คุณแม่เลยดึงออกมาและตกใจมาก เพราะมันยาวมากในเวลานั้นผมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เพราะไปทำงาน แต่สิ่งที่ออกมาทำให้คุณแม่และคุณย่าตกใจมาก

ซึ่งไม่ใช่หลอดดูดแน่ๆ จึงนำไปส่งให้ที่วอร์ดพยาบาล และพยาบาลทุกคนก็ตกใจ และหน้าเสียกันทั้งหมดและแม่น้องคะนิ้งได้โทรมาบอกผม ผมจึงรีบกลับไปที่โรงพยาบาลทันที

และได้ความว่าเช้าวันที่ 19 ตุลาคม น้องคะนิ้งได้กัดสายดูดเสมหะเข้าไปแต่ทางเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฎิบัติหน้าที่คิดว่ากัดเข้าไปนิดเดียว และแจ้งหัวหน้าแล้ว ทุกคนช่วยกันส่องไฟดูแล้วไม่มี คิดว่า

พอที่จะหลุดออกไปทางการขับถ่ายได้ แต่สิ่งที่ออกมานั้นทำให้พยาบาลทั้งวอร์ดตกใจกันทั้งหมด คนที่ตกใจที่สุดคงไม่ต้องบอกนะครับคือ พ่อกับแม่ แน่นอนผมกลับไปถึงเห็นลูกร้องไห้เลยครับ

ตลอดเวลาที่รักษาอาการ น้องคะนิ้งกินเจ็บ น้องคะนิ้งไอแล้วร้องไห้ อาการแย่ลงเรื่อยๆ เป็นเพราะสายดูดเสมหะ ติดอยู่ที่ลำคอลูกนี้เองและต้องอดทนเจ็บอยู่เกือบสองวัน

แต่พอสายดูดเสมหะที่***มีความยาวถึง 13 เซนติเมตร*** หลุดออกมาไม่นานน้องคะนิ้งก็ลุกมาเดินเล่นยิ้มร่าเริงคุยเล่น จากหน้ามือเป็นหลังมือแต่ก็ยังมีไข้อยู่

สายดูดเสมหะติดคอลูก 3

เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความผิดพลาดของทางพยาบาลที่ปฎิบัติหน้าที่โดยตรงทั้งที่รู้ว่าน้องกัดสายดูดเสมหะ แต่ก็ไม่ได้แจ้งให้ พ่อกับแม่รับทราบ หรือหาทางตรวจสอบอย่างอื่น

แต่มาคอยถามดูแลอาการเป็นพิเศษ โดยที่ไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้น ผมโวยวายดังลั่นทั้งชั้นพิเศษครับ ถ้าติดอยู่อย่างนี้ แล้วน้องคะนิ้งไม่ได้อาเจียนออกมา แล้วอาการแย่ลงเรื่อยๆ หรือผมพาน้องกลับบ้านมาแล้วเกิดอะไรที่ร้ายแรงมากกว่านี้ ผมคงคิดว่าทั้งหมดเกิดจากน้องคะนิ้งป่วยเป็น RSV ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อทางหลอดลมและเด็กๆ ก็เป็นกันเยอะเท่านั้น

หลังจากที่ความโมโหและเริ่มใจเย็นลงบ้าง ทางโรงพยาบาลก็ได้มีเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ และพยาบาลทั้งหมดเข้ามาขอโทษและแสดงความรับผิดแบบตรงๆ และยอมรับผิด

ว่าเกิดข้อผิดพลาดจริงและก็ไม่ได้แจ้งให้คุณพ่อกับคุณแม่ทราบแต่แรก และทำให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายนี้เกิดขึ้น และน้องพยาบาลคนที่ปฎิบัติหน้าที่ เสียใจเป็นอย่างมาก

ถึงตอนนี้ผมก็คุยกับเจ้าหน้าที่ทั้งหมดก็คิดอะไรหลายๆ อย่างในใจ ถ้ามีการไม่ยอมความฟ้องร้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคงไม่ต้องบอกใครจะชนะ แต่ก็อีกนะโชคยังดีที่น้องพยาบาลคนนั้นมาเจอครอบครัวของผม

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

สิ่งที่เราคิด ผม แฟน และคุณย่า เราได้ระบายอารมณ์ทั้งหมดต่อหน้าไปเรียบร้อยแล้ว เราก็ยอมให้อภัย และคิดเสียว่าเป็นกรรมที่น้องคะนิ้งต้องเจอ และเหตุการณ์ในครั้งนี้น้องคะนิ้งก็ปลอดภัยไม่มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้นมากกว่านี้ ถือว่าทำบุญกับทุกคนที่มอบให้จากน้องคะนิ้ง เพราะมันไม่ใช่เป็นความผิดที่คนใดคนหนึ่งแต่ผิดกันทั้งวอร์ด และหวังว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะมีมาตรการป้องกันเพราะเด็กที่พูดไม่ได้ ไม่สามารถบอกอะไรให้เรารับรู้ได้เลย ถึงแม้ตลอดการทำงานของท่านจนอายุมากก็ไม่เคยเจอเด็กเล็กที่สามารถกัดสายขาดก็ตาม แต่ก็เจอแล้วนิครับควรมีมาตราการป้องกันเลยทันที

ผมเลยขอยกเคสน้องคะนิ้งเป็นอุทาหรณ์ ให้โรงพยาบาลต่างๆ ทุกโรงพยาบาล มีมาตราการป้องกัน เพราะมันมีเหตุแบบนี้เกิดขึ้นจริงๆ ถึงไม่เคยมีเด็กเล็กที่มีกำลังกัดขาดได้เลย แต่น้องคะนิ้งก็กัดขาดแล้วไงครับ

เราต้องมามองข้อนี้กันแล้วแหละครับผม

 

การเขียนบทความ ครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวโทษใคร แต่ขอเป็นเคสตัวอย่างให้โรงพยาบาลต่างๆ และบอกกล่าวเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มีลูกเล็กที่พูดไม่ได้ แล้วต้องรับการรักษาด้วยการดูดเสมหะ ให้ระวังเป็นไปได้ต้องอยู่กับลูกด้วยถึงแม้ต้องเห็นภาพเจ็บปวดหัวใจแค่ไหนก็ต้องอดทน

และวันนี้ผมได้พาน้องคะนิ้งกลับไปตรวจอีกครั้งหลังจากกลับมาอยู่บ้านได้ 2 คืน ผมดีใจที่โรงพยาบาลได้มี การหามาตรการป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่าเอาเคสของน้องคะนิ้งเป็นเคสแรกที่ต้องมีการประชุมหาแนวทางป้องกัน และถือเป็นบุญของน้องคะนิ้ง ที่ช่วยให้เด็กๆ ที่ต้องเข้ารับการรักษาในลักษณะเดียวกันได้มีความปลอดภัยมากขึ้น และผมก็ยืนยันที่จะรักษาที่นี้ต่อไปครับ

สุดท้ายผมขอบคุณทุกคนที่เป็นห่วงน้องคะนิ้งตลอดอาการป่วย ตอนนี้น้องคะนิ้งใกล้หายแล้วยังมีไออยู่บ้าง

แต่สิ่งนึ่งที่บอกถึงตัวน้องคะนิ้งได้ดีว่า (!!!ใครอย่าให้หนูกัดนะคะหนูเอาขาดเลยค่ะ 555 ขอตลกทั้งน้ำตา!!) ชนิดที่ว่าคุณหมอรักษามาจะ 50 ปียังไม่เคยเจอเด็กเล็กคนไหนกัดขาดมาก่อน

หลังจากออกโรงพยาบาลผมก็ได้อโหสิกรรม ถวายสังฆทาน กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวรเรียบร้อย ต่อนี้ไปขอให้น้องคะนิ้งปลอดภัย มีชีวิตสดใสเจอแต่สิ่งดีๆๆ ครับ สาธุ

ทางดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ต้องขอขอบคุณคุณพ่อที่อนุญาตให้นำเรื่องราวของน้องคะนิ้งมาแบ่งปันทุกท่านเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยนะคะและขอให้น้องคะนิ้งแข็งแรงในเร็ววันค่ะ

ที่มา: YaiTis Yai

บทความที่น่าสนใจ

หลอดลมฝอยอักเสบจากไวรัส RSV สาเหตุสำคัญของอาการหอบในเด็กเล็ก

ลูกไอเรื้อรังเป็นเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร?

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ชื่นชนก เชื้อพันธุ์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • แชร์ประสบการณ์ สายดูดเสมหะติดคอลูก!!
แชร์ :
  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว