โรคหัด ไข้ออกหัด ไข้ออกผื่น ผู้ใหญ่ ต่างจากเด็กหรือไม่ ? โดยปกติแล้วเด็กแรกเกิดทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสเป็นได้เยอะและติดต่อกันง่ายมาก ซึ่งคำว่าออกหัดที่เคยได้ยินกัน หมายถึงหลังจากที่เด็กๆ เริ่มมีไข้ ก็จะมีผื่นขึ้นตามตัว ใบหน้า และหลังหู มักจะมีเลือดออกร่วมด้วยนะคะ
โรคร้าย ที่มากับลมหนาว โรคหัด โรคไข้ออกผื่น พบบ่อย ๆ ในเด็กเล็ก ๆ ถ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด พบมากในเด็กอายุ 1-6 ปี แต่สำหรับท่านที่มีเด็กเล็ก ก็ต้องระวัง เพราะแม้แต่ทารกวัย 6-9 เดือน ก็เสี่ยงได้เช่นกัน โรคหัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีอาการไข้ ร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจชัดเจน เช่น ไอบ่อย มีน้ำมูกมาก ตาแดง ปากแดง นำมาก่อนที่จะมีผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งในระยะแรกนั้น ผื่นจะมีสีแดง ต่อมา เมื่อใกล้หาย ผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง
ไข้ออกหัด ไข้หัด การติดต่อได้อย่างไรบ้าง?
โรคหัด สามารถติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากเชื้อไวรัสก่อโรค พบมากในน้ำลาย น้ำมูก และละอองเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอ จาม หายใจรดกัน หรือใช้สิ่งของร่วมกัน เชื้อไวรัสจะ เข้าสู่ร่างกาย ทางการหาย ใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส เข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ โรคหัด มักจะพบในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่ก็อาจพบได้ประปรายตลอดปี
ออกหัด โรคไข้ออกผื่น พบได้บ่อยในช่วงอายุใด?
โดยทั่วไปแล้ว โรคหัด สามรถที่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 1-6 ปี แต่หลังจากที่ประเทศไทย เริ่มให้วัคซีนป้องกันหัด เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข (EPI) สำหรับเด็กอายุ 9-12 เดือน ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงเป็นอย่างมาก ในเด็กอายุน้อยว่า 5 ปี ปัจจุบันผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่ มักจะเป็นเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป หรือเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา?
อาการของโรคหัด ออกหัด เป็นอย่างไร?
ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไอแห้ง มีน้ำมูก ตาแดง น้ำตาไหล และมีไข้สูงตลอดเวลา อ่อนเพลีย ซึมลง หรือกระสับกระส่าย ร้องกวน หลังจากมีไข้ 3 ถึง 4 วัน จึงจะมีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นผื่นแดง รวมตัวกันเป็นปื้น โดยเริ่มเห็นผื่นขึ้นที่บริเวณตีนผม และซอกคอก่อนเป็นอันดับแรก แล้วลามไปตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา ผู้ป่วยอาจมีอาการคันเล็กน้อย ประมาณ 2 ถึง 3 วัน นับจากวันแรกที่เริ่มขึ้น ผื่นจึงจะจางลง โดยเมื่อผื่นจางลง ก็จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำในช่วงแรก เมื่อเข้าสู่ระยะใกล้หายจากโรค ผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง
โรคหัดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่?
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อระบุว่า สำหรับเด็กที่เป็นโรคหัดนั้น ราวหนึ่งคนในทุก 10 คนจะมีอาการติดเชื้อในหู ราวหนึ่งคนในทุก 20 คนจะเป็นโรคปอดบวม ราวหนึ่งคนในทุก 1,000 คนจะเป็นโรคสมองอักเสบและหนึ่งหรือสองคนในทุก 1,000 คนจะเสียชีวิต โรคหัดยังทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย โรคหัดคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกประมาณ 164,000 คนต่อปีและมีผู้ป่วยด้วยโรคหัดราว 20 ล้านคนทั่วโลก กว่าครึ่งของผู้เสียชีวิตอยู่ในอินเดีย ก่อนที่จะมีการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคหัด เด็กเกือบทุกคนเป็นโรคหัดก่อนอายุครบ 15 ปี ในแต่ละปีที่สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัดราว 450 ถึง 500 คน มีผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 48,000 คน ผู้ป่วย 7,000 คนมีอาการชักและราว 1,000 คน สมองถูกทำลายถาวรหรือหูหนวก
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลมพิษจากการอักเสบของหลอดเลือด แตกต่างจากลมพิษธรรมดาอย่างไร? ลูกเป็นลมพิษ อันตรายหรือไม่
โรคหัดไม่น่ากลัวเท่าโรคแทรกซ้อน
สิ่งที่น่ากลัวจากโรคหัด ไม่ใช่อาการของโรคหรือการรักษาค่ะ แต่มันคือโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น หลอดลมและปอดอักเสบ หูชั่นกลางและเยื่อบุตาอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ และสมองอักเสบค่ะ เด็กจะมีภาวะสมองอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute sclerosing panencephalitis หรือ SSPE) ที่เป็นอาการแทรกซ้อนจากการเป็นโรคหัด แม้อัตราการเกิดจะไม่มาก จะเป็นแค่ 1 ใน 1,700 คนเท่านั้น (จากงานวิจัยของประเทศเยอรมัน) และในประเทศไทยจะเป็นอัตรา 1 ต่อ 1,000 คนค่ะ แต่ความรุนแรงของโรคก็ร้ายแรงจนถึงตายนะคะ
หากลูกเป็นโรคหัด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?
เนื่องจากโรคนี้ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และอาการมักจะไม่รุนแรง การรักษา และปฏิบัติตัวของผู้ป่วย จึงเน้นการรักษาตามอาการเหมือน โรคไข้หวัด เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการอื่น ๆ เช่น ยาแก้ไอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะ ๆ โดยคุณพ่อ คุณแม่ สามารถให้การดูแลลูกอยู่ที่บ้านได้ในเบื้องต้น แต่ถ้าหากลูกมีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว หรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ
การรับวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็ก
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคหัดได้ คือ
- วัคซีนป้องกันโรคหัดที่มีส่วนประกอบของวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัดเยอรมัน หรืออีสุกอีใส
- วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ซึ่งผู้ที่ไม่สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดโดยตรง สามารถเข้ารับวัคซีนนี้เพื่อช่วยป้องกันโรคหัดแทนได้ เช่น ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
- วัคซีนป้องกันไวรัสสายพันธ์ุเดี่ยว (Monovalent Vaccine) ซึ่งหลายประเทศมักใช้วัคซีนป้องกันโรคหัด และวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์แทนการใช้วัคซีนป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดี่ยว
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคหัดได้ด้วยการพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้ครบตามกำหนด ซึ่งวัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งแรก เมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน
- ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 2.5 ปีเป็นต้นไป
นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน และอีสุกอีใส ให้แก่เด็กอายุ 12 เดือนไปจนถึงอายุ 12 ปี ในกรณีที่เด็กยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร
ที่มา : Health, pobpad, foxnews, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!