X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อน

บทความ 3 นาที
เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อน

ผลการศึกษาสมรรถภาพร่างกายล่าสุดชี้เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อนหรือสรุปได้ว่าเด็กสมัยนี้ไม่แข็งแรงเท่าพ่อแม่สมัยที่ยังเป็นเด็ก

เด็ก, วิ่งช้า

เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อน

ผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำเสนอผลงานชิ้นนี้ในงานประชุมประจำปีของสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกันระบุว่าระดับ “ความฟิต” หรือสมรรถภาพร่างกายของเด็กอาจกำลังลดลง

นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาจากเด็กมากกว่า 25 ล้านคนใน 28 ประเทศในช่วงระยะเวลา 46 ปี และพบว่าเมื่อวัดจากระยะทาง 1 ไมล์ เด็กรุ่นใหม่วิ่งได้ช้ากว่าเด็กเมื่อ 30 ปีก่อนโดยเฉลี่ยประมาณ 90 วินาที

โรคอ้วน

ข้อมูลที่ได้จากทั้ง 28 ประเทศเผยให้เห็นว่าความอึดของเด็ก ซึ่งวัดตามระยะทางที่เด็กสามารถวิ่งได้ในระยะเวลาที่กำหนดกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องราวร้อยละ 5 ในทุก ๆ 10 ปี

ตัวเลขที่ลดลงนี้เห็นได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายอายุตั้งแต่ 9 ถึง 17 ปี และยังมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสุขภาพหลักในหลายประเทศ

หัวหน้าทีมนักวิจัย ดร. แกรนท์ ทอมคินสัน แห่งมหาวิทยาลัยเซาธ์ออสเตรเลียกล่าวว่า “อันที่จริง ความอึดในการวิ่งที่ลดลงราวร้อยละ 30-60 นั้นมีสาเหตุมาจากมวลไขมันในร่างกายที่เพิ่มขึ้น”

Advertisement

ปัญหาโรคอ้วนมักพบในประเทศแถบตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ แต่ประเทศในเอเชียบางประเทศเช่น เกาหลีใต้ จีนแผ่นดินใหญ่ และฮ่องกงก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน

ดร. ทอมคินสันกล่าวว่าเด็ก ๆ ควรถูกกระตุ้นให้ออกกำลังมากขึ้น มิเช่นนั้นเราอาจจะต้องประสบกับวิกฤตด้านสาธารณสุขขั้นรุนแรง

หอบแฮ่ก ๆ

“ถ้าเด็กร่างกายไม่แข็งแรงก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นเเมื่อพวกเขาโตขึ้น” ดร. ทอมคินสันกล่าว

การจะรักษาให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เด็ก ๆ ควรจะออกกำลังอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือวิ่งเล่นโดยสามารถแยกทำเป็นช่วง ๆ ได้ไม่จำเป็นต้องทำต่อเนื่อง

ศาสตราจารย์ไมเคิล กวิตซ์ แห่งสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน กล่าวว่า “ประเภทของการออกกำลังก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง”

การออกกำลังควรจะทำให้เด็ก ๆ “เหงื่อออก” “มีความต่อเนื่องและมีการเคลื่อนไหวเยอะ ๆ” เพื่อกระตุ้นให้หัวใจทำงาน

ลำพังแค่การไปยิมหรือเล่นกีฬาที่โรงเรียนอาจจะไม่เพียงพอนอกจากว่าเด็กจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา

คริสโตเฟอร์ อัลเลน จากมูลนิธิโรคหัวใจแห่งอังกฤษ กล่าวว่า “เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการที่เด็กไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ มากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น”

“การออกกำลังจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และยิ่งเริ่มออกกำลังเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น การกระตุ้นให้เด็กออกกำลังจะช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ พ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนควรสนับสนุนให้เด็กมีเวลาออกกำลังอย่างน้อยวันละ 60 นาที”

คุยกับ “กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล” นักแบดมินตันมือ 7 ของโลก

แนะนำสวนสาธารณะเที่ยวฟรีสำหรับครอบครัว

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อน
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว