อาการไอ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติของร่างกายเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะอยู่ไม่นานก็หาย แต่ถ้าเกิดลูก ไอเรื้อรัง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือเป็น ๆ หาย ๆ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายอื่น ๆ เพื่อความไม่ประมาทเราควรจะเรียนรู้ว่าอาการไอที่เกิดขึ้นนั้น บ่งบอกอะไรบ้าง และอาการไอเรื้อรัง จะส่งผลอะไรกับตัวเด็กบ้างหากเราปล่อยปละละเลย
ไอเรื้อรัง อาการไอที่พบในเด็กเล็ก
- ไอตอนนอนหลับ มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กวัย 6 เดือน – 3 ขวบ ซึ่งปอดและหลอดลม ยังไม่ค่อยแข็งแรง อากาศเย็น ๆ ในห้องแอร์ทำให้เกิดอาการไอหนัก แก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการอุ้มน้องออกมาอยู่ในที่อุ่น ๆ หรือสูดอากาศบริสุทธิ์นอกห้อง
- ไอเหมือนมีอะไรติดคอ อาจเกิดจากการที่เจ้าตัวเล็กเผลอหยิบสิ่งของใกล้ตัวเข้าปาก แล้วโชคร้ายผลุบเข้าคอไปคาอยู่ในหลอดลม คุณแม่ต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที แต่ถ้าเห็นว่าอาการไม่ดี ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
- ไอมีเสมหะ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นภูมิแพ้ หรืออากาศเย็น การไอแบบมีน้ำมูกหรือเสมหะ ทำให้หายใจลำบาก แต่เมื่อสั่งน้ำมูกออกก็จะหาย แต่ถ้าเสมหะมีสีเหลือง เขียว กลิ่นเหม็นคาว หรือมีเลือดปนมากับเสมหะ ต้องรีบพาน้องไปหาคุณหมอทันทีนะคะ
- ไอหอบ เมือกเล็ก ๆ ที่อยู่ในปอดจากอาการปอดติดเชื้อจะสร้างอาการคัน ทำให้เด็ก ๆ ไอติดกันจนเหนื่อย แต่ถ้าลูกมีไข้ต่ำ ๆ ไอมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน 3 วัน หายใจเร็วผิดปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดบวม ต้องรีบพาไปพบคุณหมอด่วน ๆ นะคะ
- ไอร่วมกับมีไข้สูง ให้คุณแม่สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า ลูกอาจเป็น ไข้หวัดใหญ่ ถ้าเจ้าตัวเล็กมีอาการไอ จาม ไข้ขึ้นสูง บวกกับปวดเมื่อยเนื้อตัว ให้รีบพาไปหาคุณหมอเป็นการด่วนค่ะ
- ไอเสียงแหบ มักเกิดในช่วงที่มีอากาศเย็น และเป็นตอนกลางคืน อาจเกิดจากการติดเชื้อในหลอดลม หรือปอดเกิดอาการบวม ต้องพ่นยาขยายหลอดลม หรือยาลดอาการบวมของปอด เพื่อทำให้หายใจสะดวกขึ้นค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : สุขภาพพ่อแม่ เมื่อต้องอยู่กับลูก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
สาเหตุอาการไอในเด็ก
ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไอสำหรับเด็กเล็กนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. อาการไอจากการติดเชื้อ
- ติดเชื้อไวรัส จะเป็นอาการเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น หวัด โพรงจมูก และโพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน รวมถึงการติดเชื้อไวรัสบริเวณหลอดลม
- ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม
- เชื้อวัณโรค เป็นต้น
2. อาการไอที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
- ภูมิแพ้โพรงจมูก
- โพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง
- โรคหืด
- หลอดลมไวมากกว่าปกติ
- กรดไหลย้อน
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
- ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดลม
- นอนกรน
- สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
- ภาวะสำลักอาหารเรื้อรัง
- โรคหัวใจบางชนิด
- การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อากาศเป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่, สารเคมี, ควันจากการเผาไหม้
- ความผิดปกติบางอย่างทางจิตใจ
- ฯลฯ
อาการไอที่พบได้บ่อยให้เด็ก
- อาการไอแห้ง : อาการไอแห้ง มักจะเกิดจากอาการระคายเคือง
- อาการไอเปียก : เกิดจากการมีเสมหะ หรือมีน้ำมูกไหลลงคอ
6 วิธีบรรเทาอาการไอ แก้อาการไอเรื้อรัง ที่แม่ต้องรู้
-
แก้ไอเด็ก ยาแก้ไอคันคอมีเสมหะ กินน้ำผึ้ง
เป็นวิธีแก้ไอแบบธรรมชาติที่ได้ผลดีมาก เพราะน้ำผึ้งจะเข้าไปเคลือบและให้ความชุ่มชื้นกับต่อมผลิตเสมหะ ด้วยสรรพคุณที่ช่วยลดอาการไอและทำให้ชุ่มคอนี้ น้ำผึ้งจึงกลายเป็นส่วนประกอบหลักของยาแก้ไอไปโดยปริยาย (แต่ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทแบบเฉียบพลันได้)
-
ทาเมนทอล-การบูรที่อกและส้นเท้า
เป็นวิธีโบราณที่ได้ผลดีอย่างคาดไม่ถึง เพียงคุณแม่ทาเมนทอล-การบูร บริเวณอก และส้นเท้าของลูกรัก แล้วสวมถุงเท้าทับอีกชั้น ความร้อนและกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจะช่วยหยุดอาการไอได้อย่างชะงัก
ความชื้อจากไอน้ำช่วยลดอาการไอและคัดจมูกได้ดี และจะยิ่งทวีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคุณแม่เพิ่มหยดน้ำมันการบูรลงไปในอ่างน้ำอุ่น หรือเครื่องทำไอน้ำ หนูน้อยจะโล่งจมูกและหยุดไออย่างรวดเร็วค่ะ
-
เลี่ยงฝุ่น จิบน้ำอุ่น งดทานของมัน
ฝุ่นในอากาศทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ อาหารที่มีความมันก็ทำให้เกิดอาการคันคอจนไอไม่หยุด ส่วนน้ำเย็นก็กระตุ้นให้ไอมากขึ้น ลองงด 3 อย่างนี้ จะทำให้อาการไอหายขาดได้เร็วขึ้นค่ะ
หากอาการไอเกิดจากทางเดินทายใจตีบตัน มีการอักเสบในช่องปากและลำคอ สามารถใช้ตัวช่วยเป็นยาพ่นขยายหลอดลมที่มีส่วนผสมของคาร์โมมายล์ ที่ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดการอักเสบ และหายใจได้โล่งขึ้น
-
จิบยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะเด็ก
เป็นวิธีแก้ไอที่ได้ผลดีอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังหากคุณแม่จะเลือกใช้กับเจ้าตัวเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะยาแก้ไอที่ประกอบด้วยสารเคมี อาจตกค้างและทำให้เกิดการดื้อยา ส่งผลเสียต่อร่างกายอันบอบบางของลูกในระยะยาวได้
ยาน้ำแก้ไอสำหรับเด็ก ไม่ใช่แค่หายไว แต่ต้องปลอดภัยจากสารเคมี
การเลือกยาน้ำแก้ไอให้เจ้าตัวเล็ก ไม่ได้ดูแค่ผลลัพธ์ที่ระงับอาการไอได้ผลดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายอันแสนบอบบางของลูกน้อยด้วย เพราะหากร่างกายสะสมสารอันตรายไว้มาก ๆ นอกจากจะทำให้เกิดอาการดื้อยาได้แล้ว ยังเกิดอาการข้างเคียงอย่าง ท้องผูก ง่วงนอน คลื่นไส้ และอาเจียน และส่งผลร้ายต่อตับ – ไตได้ค่ะ
วิธีบรรเทาอาการไอ ยาแก้ไอคันคอ แบบไหนดี
วิธีบรรเทา และรักษาอาการไอในเด็ก ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบเป็นสำคัญ สำหรับการจะต้องดูแลรักษา รวมถึงบรรเทาอาการ
- การดูแลแบบประคับประคอง โดยทั่วไปสามารถหายได้ใน 1 – 3 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม
- ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ เลี่ยงน้ำเย็น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการ วิธีบรรเทาอาการไอ ของเด็ก ๆ คือต้องทำร่างกายให้อบอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการไอ หากลูกมีอาการไอเรื้อรังมากกว่า 4 สัปดาห์ ควรพาไปพบคุณหมอทันที ทุกครั้งที่มีการซื้อยาหรือเลือกใช้ยา คุณแม่ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของลูกรักค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
ไอแบบไหนอันตราย การไอ 7 แบบในลูกน้อย ที่อาจเป็นอันตรายกว่าที่คิด
ลูกไอแห้ง ๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก
ยาแก้ไอเด็ก ยาแก้ไอสําหรับทารก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกิน
ที่มา : Bangkokhospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!