X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 50 อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

บทความ 5 นาที
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 50 อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

เมื่อลูกมีอาการป่วยแน่นอนอยู่แล้วว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องมีความกังวล วันนี้ขอนำบทความที่เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย อาการธาลัสซีเมียในเด็ก มาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน

เมื่อลูกมีอาการป่วยแน่นอนอยู่แล้วว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องมีความกังวลใจมาก ยิ่งถ้าเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคไข้หวัดธรรมดา พ่อแม่ก็ยิ่งกังวลไปอีก วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย อาการธาลัสซีเมียในเด็ก มาฝากเหล่าคุณพ่อคุณแม่กัน

 

โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร

โรคธาลัสซีเมีย คือ โรคโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ และแตกง่าย สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง และสภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น นิ่วในถุงน้ำดี การเจริญเติบโตน้อย มีภาวะเหล็กเกิน การทำงานของหัวใจและตับผิดปกติ เบาหวาน

โดยโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันทารกที่เกิดใหม่ในประเทศไทยประมาณ 12 คนในประชากรเกิดใหม่ 1000 คนเป็นโรคนี้ ซึ่งหมายความว่ามีประชากรเด็กเกิดใหม่ที่เป็นธาลัสซีเมียประมาณ 12,000 รายต่อปี จากการสำรวจล่าสุดพบว่าคนไข้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และต้องรับเลือดเป็นประจำมีมากถึง 3-4 แสนราย และเพื่อการรับมือได้อย่างถูกต้อง นี่คือคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จาก นพ.อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 2

 

อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

Advertisement

ธาลัสซีเมียแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. อัลฟา – ธาลัสซีเมีย (a – thalassemia)
  2. เบต้า – ธาลัสซีเมีย (b – thalassemia)

ถ้าผู้ใดรับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา – ธาลัสซีเมีย หรือ เบต้า – ธาลัสซีเมีย มาจากบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียว ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นพาหะอัลฟาธาลัสซีเมีย พาหะฮีโมโกลบินคอนแสตนสปริงค์ พาหะเบต้าธาลัสซีเมีย หรือพาหะฮีโมโกลบินอี แต่ถ้าผู้ใดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา – ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา หรือชนิด เบต้า – ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นโรคธาลัสซีเมีย เช่น โรคฮีโมโกลบินเฮช โรคฮีโมโกลบินบาร์ท โรคเบต้าธาลัสซีเมีย หรือ โรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน เป็นต้น

 

อาการของโรคธาลัสซีเมีย

  • ชนิดที่รุนแรงที่สุด คือ ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอดไม่นาน
  • ชนิดปานกลาง และชนิดรุนแรงน้อย ตับม้ามโตไม่นาน ซีดไม่มากแต่เมื่อมีไข้จะซีดมากขึ้น
  • ชนิดรุนแรง คือ แรกเกิดไม่มีอาการ จะสังเกตเห็นอาการชัดเมื่ออายุ 3-6 เดือน อาการที่สำคัญ คือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามโต ตับโต ตัวเล็ก เติบโตไม่สมอายุ มักซีดมากจนต้องได้รับเลือดเป็นประจำ

 

อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

วิธีดูแลเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย

นพ.อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคเลือดและโรคมะเร็ง ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2ได้อธิบายเรื่องการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียไว้ว่า ในด้านสภาพแวดล้อมของเด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียไม่จำเป็นต้องดูแลมากเท่าไร แต่ต้องดูแลเรื่องการกินมาเป็นพิเศษ เพราะเด็กที่เป็นธาลัสซีเมียจะมีอาการซีด อาหารที่กินต้องครบ 5 หมู่ และกินให้ครบ 3 มื้อ และดูแลสุขภาพอนามัยเป็นอย่างดี ต้องกินวิตามินตามที่หมอสั่งให้ครบ ถ้าในรายที่รับเลือดเป็นประจำก็ต้องกินยาขับธาตุเหล็กให้สม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีชีวิตยืนยาวได้เท่าที่คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียเป็นได้

 

อาการธาลัสซีเมียในเด็ก

อาการ ธาลัสซีเมีย ในเด็ก

 

คุณหมอยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ในปัจจุบันทางการแพทย์มีการรักษาโรคธาลลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้หายขาดได้ด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell Transplantation) จากผู้บริจาคที่มีหมู่เนื้อเยื่อตรงกันหรือเข้ากันได้กับผู้ป่วย

Stem Cell นั้นจะได้มาจากไขกระดูก หรือเซลล์ในกระแสเลือดของผู้บริจาค หรือจากเลือดสายสะดือและรกของทารกแรกเกิดก็ได้ โดยมักต้องเริ่มหาจากพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ป่วยก่อน ซึ่งมีโอกาสตรงกันถึง 1 ใน 4 แต่ถ้าโชคไม่ดีก็ต้องแสวงหาผู้บริจาคจากการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครผู้ยินดีบริจาค stem cell

อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดควรกระทำตั้งแต่ผู้ป่วยอายุน้อยๆ ตับม้ามไม่โตมาก ได้รับเลือดมาจำนวนไม่มาก หรือได้เลือดมามาก แต่ได้รับยาขับเหล็กอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ จึงจะได้ผลสำเร็จดี

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

Source : si.mahidol.ac.th , siphhospital.com , si.mahidol.ac.th , synphaet.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีสังเกตลูกเป็นไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร

14 ประกันสุขภาพเด็ก เปรียบเทียบประกันสุขภาพให้ลูก เลือกตัวไหนดี ตัวไหนคุ้ม

ทำความรู้จัก 5 โรคพบบ่อยในเด็กวัยเรียน พร้อมประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษา และเทคนิครับมือฉบับคุณแม่มืออาชีพ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 50 อาการธาลัสซีเมียในเด็ก
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว