X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลถึงจะดี

บทความ 3 นาที
น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลถึงจะดี

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกท่าน ล้วนแล้วแต่อยากให้ลูกเกิดมามีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีน้ำหนักตัวแรกคลอดที่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านจึงพยายามสรรหาแต่สิ่งที่ดี และคิดว่ามีประโยชน์มารับประทานเพื่อบำรุงทั้งตัวเองและลูกในท้อง แต่เอ๊ะ เมื่อบำรุงมาก น้ำหนักก็ขึ้นตามไปด้วย ว่าแต่แค่ไหนกันนะ จึงจะเรียกว่าเหมาะสม

น้ำหนักตัวคนท้อง น้ำหนักคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลถึงจะดี

เรื่องน้ำหนักตัวนั้น น้ำหนักคนท้อง เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายท่านเกิดความสงสัยและคิดกันไปเองว่า น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นนั้น จะทำให้ลูกที่อยู่ในครรภ์แข็งแรง คุณแม่บางท่านมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ถึง 20 – 30 กิโลกรัม หรือบางท่านมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในขณะที่คุณแม่บางท่านก็มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ และมีน้ำหนักตัวลดลง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างความกังวลให้กับแม่ท้องอย่างมาก เรามาดูกันว่า น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลกรัมถึงจะดี และปัญหาเรื่องสุขภาพที่เกี่ยวกับน้ำหนักตัวมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

 

ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น

คุณแม่ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อทั้งคุณแม่ และลูกในท้อง โดยปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นนั้นได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดลูกออกทางหน้าท้อง
  • ลูกมีโอกาสเสี่ยงเกิดการคลอดติดไหล่
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
  • โรคอ้วน

 

น้ำหนักตัวคนท้อง

น้ำหนักตัวคนท้อง

วิธีคำนวณ น้ำหนักคนท้อง ช่วงไหนขึ้นเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสม

ว่ากันว่าคุณแม่ทุกท่านควรมีน้ำหนักขึ้นประมาณ 10 กิโลกรัม แต่จริงๆแล้วน้ำหนักของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น จะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง

หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางที่ 1 ด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5-24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5-16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

 

ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์

น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์

(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์)

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด   น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม 
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์(<18.5) 12.5-18กิโลกรัม  2.3 กิโลกรัม 0.5 กิโลกรัม
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) 11.5-16 กิโลกรัม  1.6 กิโลกรัม 0.4 กิโลกรัม
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9)  7-11.5 กิโลกรัม 0.9 กิโลกรัม 0.3 กิโลกรัม
 อ้วน (≥30)  5-9 กิโลกรัม  –  0.2กิโลกรัม

 

น้ำหนักตัวไม่ขึ้นเลยในสามเดือนแรกมีอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?

อาหารที่แม่ท้องได้รับในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้น ไม่สำคัญเท่าในช่วงกลางและช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แม่ท้องส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-8 สัปดาห์ และอาการจะหายไปเมื่อ 14-16 สัปดาห์ หลังจากนั้นคุณแม่ก็จะรับประทานอาหารได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ท้องยังไม่ควรวิตกกังวลไป หากน้ำหนักตัวยังไม่เพิ่มในช่วง 3 เดือนแรก

หรือหากคุณแม่ท้องมีน้ำหนักตัวลดลง ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และรับประทานให้บ่อยครั้งขึ้น แต่ถ้า 4 เดือนไปแล้ว น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ จะดีที่สุด

 

อาหารประเภทไหนที่ควรควบคุมตอนท้อง?

คำตอบก็คืออาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน โดยหากว่าคุณแม่ชอบทานอาหารทอด หรืออาหารที่มีกะทิแล้วละก็ อาหารประเภทนี้ถ้าหากคุณแม่รับประทานมากเกินไป อาจไปสะสมที่ตัวคุณแม่จนทำให้อ้วน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้

การจัดการเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์นั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก หากคุณแม่มีความเชื่อ มีทัศนคติที่ดี และมีแรงจูงใจ แต่นอกเหนือจากนั้นแล้ว หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์นะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 วิธีสื่อสารกับลูกในท้อง แม่จ๋ามีอะไรจะบอกหนูไหม

ลูกดิ้นตอนเช้า หมายความว่าอะไร เป็นเพราะลูกหิวหรือเปล่า

ท้องแข็งถี่ อันตรายไหม ห้ามทำอะไร เมื่อมีอาการท้องแข็ง

 

ขอบคุณที่มา  ผศ.ดร.ปิยะนันท์  ลิมเรืองรอง  thaihealth.or.th

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลถึงจะดี
แชร์ :
  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว