ลูกเป็นเหา ทำอย่างไรดี เวลาเด็ก ๆ ไปโรงเรียนชอบติดเหาจากเพื่อนมา มีวิธีการกำจัดเหาอย่างไร บ้านไหนมี ลูกเป็นเหา วันนี้เรานำ วิธีกำจัดเหาบนหัวลูกมาฝากค่ะ
เหา เป็นแมลงที่อยู่มาแต่ยุคโบราณ “สมัยพระเจ้าหาว” หลายคนอาจเคย เป็นเหา เมื่อสมัยเด็กๆ บางคนอาจเคยเป็นหลายครั้งด้วยซ้ำ เจ้าตัวเล็กของหมอก็หนี เหาไม่พ้น เมื่อลูกอายุ 2 ปี วันนั้นลูกนอนหนุนตักแม่อยู่ ขณะลูบผมลูกก็เห็นแมลง ตัวเล็กๆ เดินอยู่บนหัวจึงจับออก สักพักก็เห็นตัวอื่นๆ อีกหลายตัวคลานยั้วเยี้ยไปหมด “ตายละลูกเป็นเหา”
ต้องไปหาซื้อแชมพูมาสระ ต้องหาหวีมาสางไข่เหา ต้องนั่งหาเหา กันทั้งพ่อแม่ เมื่อลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล วันหนึ่งลูกกลับมาเล่าให้ฟังว่า “วันนี้คุณครู ให้นอนแยกจากเพื่อนๆ เพราะเป็นเหา” เอาอีกแล้วเรา ดูที่ศรีษะลูก ไม่เห็นไข่เหา วันรุ่งขึ้นไปพบครูจึงรู้ว่าเพื่อนสนิทของลูกเป็นเหา ครูจึงจับเด็กกลุ่มนี้ นอนแยกออกมาก่อนไม่ให้ติดคนอื่น
เมื่อ ลูกเป็นเหา วิธีกำจัดเหาบนหัวลูก
ลูกเป็นเหา
การกำจัดเหาสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
ผลิตภัณฑ์กำจัดเหานั้นหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบแชมพูหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารที่มีฤทธิ์กำจัดเหา เช่น ไพรีทริน เพอร์เมทริน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้หนังศรีษะและบริเวณที่สัมผัสตัวยาเกิดอาการระคายเคือง ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้เพื่อรักษาในเด็กทารกและเด็กเล็ก
หากอาการไม่ดีขึ้นหลังใช้ยา ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์อาจแนะนำยาสำหรับรับประทานร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อกำจัดเหาอย่างมีประสิทธิภาพ
สมุนไพรบางชนิดอย่างเมล็ดน้อยหน่าอาจช่วยกำจัดเหาได้ โดยนำเมล็ดน้อยหน่า 1 ส่วนมาบดและผสมเข้ากับน้ำมันมะพร้าว 2 ส่วน นำเฉพาะส่วนของเหลวที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมงแล้วจึงล้างออกพร้อมกับใช้หวีสางเหาหรือหวีที่มีซี่เล็กและถี่สางผมเพื่อเป็นการกำจัดตัวเหาและไข่เหา โดยทำซ้ำทุก 7-10 วันจนกว่าจะหาย นอกจากนี้ อาจใช้ส่วนผสมอื่น ๆ แทนเมล็ดน้อยหน่าได้ เช่น ใบยาสูบ ใบน้อยหน่า หรือใบสะเดา เป็นต้น
การสางผม นิยมใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยทำให้ให้ผมเปียกและใช้สารหล่อลื่น เช่น ครีมนวดผม น้ำมันมะกอก สารส้ม ใช้หวีซี่ถี่ ๆ หรือหวีเสนียดสางผม ตรวจดูทุกครั้งที่สางว่ายังมีเหา หรือไข่เหาหรือไม่ สางจนเหาไม่มี ทำซ้ำทุก 3-4 วัน จนครบ 2 สัปดาห์ ต้องทำต่อถ้ายังพบตัวเหาอยู่
- ยาฆ่าแมลงทำพิเศษเพื่อฆ่าเหาบนศรีษะ
มีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ห้ามซื้อ ยาฆ่าแมลงตามท้องตลาดใส่เอง คนละชนิดกันใช้ไม่ได้นะคะ ทำตามคำแนะนำ เอกสารกำกับยา ส่วนมาก ต้องสระผมให้สะอาด แล้วใส่ยาหมักไว้ 10 นาที แล้วล้างออก ยาบางชนิดอาจต้องทิ้งไว้ทั้งคืน ควรจะรักษาซ้ำอีกในสัปดาห์ถัดไป เพื่อฆ่าเหา ที่อาจหลงเหลืออยู่ หรือเหาตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่
ทำความสะอาดเสื้อผ้า หมวก ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอน โดยซักด้วยน้ำร้อนและใช้ความร้อนทำให้แห้ง ส่วนหวีให้ล้างในน้ำร้อนอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส หรือเคลือบด้วยยาฆ่าเหานาน 15 นาที
ยากินฆ่าเหา ต้องสั่งโดยแพทย์ ใช้ในผู้ป่วยที่ดื้อต่อการรักษาวิธีอื่น
โกนผมบริเวณดังกล่าวออก อาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง และดื้อ ต่อการรักษา ด้วยวิธีอื่น ๆ
ยารักษาโรคเหา มียาอะไรบ้าง
ลูกเป็นเหา
เป็นยารักษาโรคเหาที่ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ต้องระมัดระวังผลข้างเคียง เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ หรือหนังศีรษะเป็นรอยแดงได้ ยกเว้นผู้ที่มีอาการแพ้ดอกเก็กฮวย หรือแพ้หญ้าแร็กวีด (Ragweed)
ยารักษาโรคเหาที่ผลิตจากไพรีทรินผสมกับสารเคมีต่าง ๆ ช่วยในการฆ่าเหา สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ยกเว้นผู้ที่มีอาการแพ้ดอกเก็กฮวย หรือแพ้หญ้าแร็กวีด (Ragweed) นอกจากนี้ ตัวยาอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เกิดอาการคัน หรือมีรอยแดงบนหนังศีรษะ ยาชนิดนี้นอกจากใช้ภายนอกแล้วอาจอยู่ในรูปของยาสระผมด้วย
เป็นยากำจัดเหาที่ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในรูปของยาสระผม ใช้สระผมแล้วปล่อยทิ้งไว้ 8 – 12 ชั่วโมง จากนั้นล้างออก ทั้งนี้ ตัวยาดังกล่าวมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จึงควรหลีกเลี่ยง การใช้ไดร์เป่าผมขณะที่ใช้ยา และควรเก็บรักษาให้ห่างจากวัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
เป็นยาที่ใช้ในการกำจัดเหา โดยตัวยาจะเข้าไปทำลาย ระบบประสาทของเหาจนตายลงในที่สุด อีกทั้งยังทำลายไข่เหาได้ ซึ่งในปัจจุบัน ยาชนิดนี้มักผสมระดับความเข้มข้นต่ำอยู่ในรูปของยาสระผม และครีม ยาชนิดใช้ภายนอกนี้ควรใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจาก เป็นยาที่มีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวหนัง อาการแพ้ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และควรเก็บให้ห่างจากวัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
ข้อห้ามในการใช้ยารักษาเหา
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- ผู้ป่วยโรคหอบหืด ลมชัก หรือแพ้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง มีปัญหาหนังศีรษะ หรือมีผิวที่ไวต่อสารต่าง ๆ
- สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
เหากระโดดใส่ได้หรือไม่
เหาไม่สามารถกระโดด หรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน
ลดความเสี่ยงในการเป็นเหา
ลูกเป็นเหา
วิธีในการป้องกันเหาอาจทำได้ ดังนี้
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หรือผู้ที่เป็นเหา โดยเฉพาะหมวก หวี และผ้าเช็ดตัว
- รักษาความสะอาด ของใช้ส่วนตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หมวก ผ้าปูที่นอน หรือผ้าห่ม
- สระผมเป็นประจำ หรืออย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ไม่อยู่ใกล้ หรือสัมผัสกับผู้อื่น หากทราบว่าผู้อื่น หรือตนเองเป็นเหา
นอกจากนี้ เหามักพบในเด็ก เป็นส่วนใหญ่ ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจบุตรหลาน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเหา หากพบว่าบุตรหลาน มีอาการคล้ายเป็นเหา ควรรีบเข้ารับการรักษา เพื่อลดความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างการอักเสบและการติดเชื้อ
ที่มา : (pobpad),(Mahidol),(pobpad)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
กำจัดเหาบนหัวเด็กแบบถอนรากถอนโคน ด้วยวิธีนี้สิ ชนะเลิศ!!
วิธีกําจัดเหา วิธีกําจัดไข่เหาออกจากเส้นผม สมุนไพรกําจัดเหาถอนรากถอนโคน! การป้องกันเหาขึ้นหัวลูก
เหา เรื่องเหา ๆ ที่พ่อแม่หนักใจ เหาคืออะไร เกิดจากอะไร และกำจัดได้อย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!