ดอกเตอร์ Kirsten Ness แห่ง St. Jude Children’s Research Hospital ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่ อ้างอิงจากสถิติและข้อมูลที่บันทึกไว้เรื่องเด็กๆ ที่เป็นมะเร็ง ว่าคาดหวังว่าเด็กที่มีชีวิตรอดจากโรคมะเร็งแล้ว ก็จะมีชีวิตเหมือนเด็กปกติ แต่ความเป็นจริงแล้ว เด็กๆ จะมีแนวโน้มหรือเป็นโรคเรื้อรังได้มากกว่าญาติพี่น้องและคนทั่วไป
สารเคมีน้อยลง ทำไมผลกระทบยังแย่อยู่ ???
การรักษามะเร็งในช่วงก่อน มีการฉายรังสีและใช้เคมีบำบัดในปริมาณที่ลดลงแล้ว จึงคาดว่าเด็กๆ ที่รอดชีวิตจะได้รับการรักษาที่มีการใช้ยาที่เป็นพิษน้อยลง จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กกลุ่มที่ได้รับสารเคมีเข้าไปเยอะ แต่มันก็ไม่เป็นอย่างนั้นค่ะ
ดอกเตอร์เนสส์และทีมวิจัยเปรียบเทียบ เด็กที่มีชีวิตรอดจากโรคมะเร็งจำนวนถึง 14,566 คน พวกเขาได้รับการรักษาโรคมะเร็งในปี 1970 1980 และ 1990 กับพี่น้องของเขาที่ไม่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งมาก่อน
แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุ
สัดส่วนของเด็กที่รอดชีวิตจากมะเร็ง ที่มีปัญหาสุขภาพร้ายแรงลดลง ในปี 1970 มีจำนวน 33% และในปี 1990 มีจำนวนน้อยลงเพียง 21% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กๆ ที่ได้รับการรักษาในปี 1970 กับ 1990 พบว่า เด็กๆ มีสุขภาพที่แย่ลง และมีความวิตกกังวลเกี่ยวโรคมะเร็ง และในปี 1990 เด็กที่รอดชีวิตจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเม็ดเลือด มีสุขภาพโดยรวมที่ไม่ค่อยดีนัก และเด็กที่เคยเป็นมะเร็งกระดูกก็ยังมีอาการปวดอยู่บ้าง
การเปลี่ยนปริมาณการฉายรังสีหรือจำนวนยาที่ให้ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของเด็กๆ ที่รอดชีวิตแต่อย่างใดค่ะ พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นมีสุขภาพแย่เมื่อสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย มีน้ำหนักที่น้อยไป หรือมีน้ำหนักที่มากไป
สุขภาพแย่ อาจจะมาจากวิถีชีวิตด้วย
นอกจากสุขภาพจะยิ่งแย่ลงไปอีกตามอายุที่มากขึ้น การใช้ชีวิตก็ไม่เหมือนกัน ทั้งเรื่องของคุณภาพชีวิตและการดูแลตัวเอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะเป็นตัวที่เร่งปัญหาสุขภาพได้เช่นกันค่ะ
นักวิจัยแนะนำว่าการใช้ชีวิตโดยกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ อาจจะช่วยให้ปัญหาสุขภาพลดน้อยลงได้ อีกทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือผิดปกติ ซึ่งอาจจะทำให้เป็นมะเร็งได้ซ้ำอีก รวมไปทั้งการไม่สูบบุหรี่หรือยาสูบต่างๆ ฉีดวัคซีน HPV ทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง รวมไปถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอย่างการตรวจแปปเสมียร์ในผู้หญิงด้วยนะคะ
ที่มา dailymail
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบมากที่สุดในเด็ก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!