TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง

บทความ 3 นาที
11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง

มะเร็งนอกจากจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและการรักษาตัวในโรงพยาบาล ที่มีอัตราการเพิ่มมากขึ้นทุกปีในผู้ใหญ่แล้ว มะเร็งในเด็กก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แก้วตาดวงใจของคุณพ่อคุณแม่จากไปโดยไม่มีวันกลับค่ะ

สัญญาณเสี่ยงว่า ลูกอาจเป็นมะเร็ง

กว่า 40 ปี ที่ผ่านมา การตรวจเจอมะเร็งในเด็ก ๆ นั้นทำได้ช้าเกินไป เนื่องจาก คุณพ่อคุณแม่ หรือแม้แต่กระทั่งแพทย์ ก็ไม่คาดคิดต่อการเกิดมะเร็งในร่างกายของเด็ก ๆ ค่ะ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้การวินิจฉัยและการตรวจผิดพลาด คลาดเคลื่อน เนื่องจาก อาการที่บ่งบอกว่า ลูกอาจเป็นมะเร็ง ไม่ชัดเจน และแตกต่างกันไปในแต่ละคนทำให้กว่าจะวินิจฉัยได้และตรวจเจอว่าเป็นโรคมะเร็งก็อาจจะช้าเกินไปแล้ว

ลูกอาจเป็นมะเร็ง

เด็กคือเด็ก ไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก

อาการที่บ่งบอกว่า ลูกของคุณพ่อคุณแม่เป็นมะเร็ง จึงไม่เหมือนอาการที่ผู้ใหญ่เป็นมะเร็งค่ะ ซึ่งการป้องกันไม่ให้ ลูกเป็นมะเร็งก็ทำได้ยาก เพราะ สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ เพียงแค่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ข้อบกพร่องทางพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส ที่อาจจะเป็นสาเหตุ ของการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ การรักษายังมีขั้นตอนที่มากกว่า และต้องรักษานานกว่าด้วยนะคะ

ลูกอาจเป็นมะเร็ง

11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง

หากลูกมีอาการเหล่านี้เพียง 1 อาการ หรือมากกว่านั้น ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงค่ะ ลองเกริ่นกับคุณหมอถึงโรคมะเร็งด้วย แต่หากยังหาสาเหตุไม่เจอ การหาคุณหมอมากกว่า 1 ท่าน ก็เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องลองพิจารณาดูค่ะ

  1. น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ
  2. เจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อต่อต่างๆ ขณะที่เคลื่อนไหว เล่นเกมส์ หรือทำกิจกรรม
  3. ปวดหัวและอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้า
  4. คลำพบก้อนเนื้อ บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ และหน้าท้อง
  5. พุงป่อง หน้าท้องขยาย
  6. มีจุดสีแดงเล็กๆ (Petechia) ที่บ่งบอกว่ามีเลือดออกจากเส้นเลือดและเส้นเลือดฝอย
  7. มีจุดหรือบริเวณสีม่วงตามผิวหนัง (Hematoma)
  8. บริเวณจอม่านตามีสีขาว เมื่อแสงมากระทบ
  9. มีอาการเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า และมีภาวะซีดเรื้อรัง (โรคโลหิตจาง)
  10. ไข้ขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุเป็นระยะเวลานาน
  11. ติดเชื้อบ่อย จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง
ลูกอาจเป็นมะเร็ง

ลูกของคุณอาจเป็นมะเร็ง

8 โรคมะเร็งในเด็กที่พบได้บ่อย

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบ มากที่สุดในเด็ก

1.มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

เซลล์มะเร็งจะทำร้ายระบบน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย อวัยวะทุกอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ

2.มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)

เซลล์มะเร็งที่มีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว จะส่งผลต่อไขกระดูก มะเร็งชนิดนี้มีอัตราเกิดสูงถึง 30% เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 1

3.เนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS tumor)

หากร่างกายมีเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง จะทำให้ไปขัดขวางการไหลของของเหลวในสมอง ทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ทำให้ปวดหัว และอาเจียนค่ะ เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวค่ะ

4.มะเร็งต่อมหมวกไต (Neuroblastoma)

พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่งผลต่อระบบประสาท สังเกตอาการได้จาก การคลำเจอก้อนในช่องท้อง คอ กระดูกเชิงกราน

5.มะเร็งไต (Wilms tumor)

พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-4 ปี

6.มะเร็งจอตา (Retinoblastoma)

หากเด็กเป็นแต่ไม่พาไปตรวจไม่ได้รักษะอาจจะเสียชีวิตได้ค่ะ

7.มะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)

พบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี บริเวณที่พบได้มาก คือ อาการปวดรอบ ๆ หัวเข่า และอาจจะ แพร่กระจายไปยังปอดได้ด้วยค่ะ

8.มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue sarcoma)

มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่รักษาหายได้ถึง 70%

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบมากที่สุดในเด็ก
บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบมากที่สุดในเด็ก

ที่มา familyshare

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำไมเดือนตุลาคม จึงเป็นเดือนแห่งการ รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม และทำไมต้องเป็นริบบิ้นสีชมพู

10 อาหารที่ไม่ควรอุ่นในไมโครเวฟ อุ่นแล้วกลายเป็นสารก่อมะเร็ง

จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรต้านมะเร็ง กินกับอะไรก็อร่อย แต่คนท้องต้องระวัง!

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว