X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การหย่านมจำเป็นหรือไม่ หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด ทำอย่างไรให้ได้ผล ?

บทความ 8 นาที
การหย่านมจำเป็นหรือไม่ หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด ทำอย่างไรให้ได้ผล ?

การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมลูก จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หรือดูดนมผงจากขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะให้ลูกหย่านมเร็วกว่าปกติเล็กน้อย เพราะคุณแม่สมัยนี้ต้องทำงานนอกบ้าน คุณแม่จึงปั๊มนมแล้วเก็บไว้ให้ลูกดื่มทีหลัง จนในบางครอบครัวถึงขั้นตั้งคำถามว่า การหย่านมจำเป็นหรือไม่ หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด ทำอย่างไรให้ได้ผล ? ซึ่งกุมารแพทย์และทันตแพทย์เด็ก ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กก็มีความเห็นว่า เด็กควรจะเริ่มหย่านมเมื่ออายุได้ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ หรืออย่างช้าที่สุดคือ 15 เดือน

วิธีการเลิกนมนั้นหลากหลายไม่ตายตัว คุณแม่สามารถใช้วิธีใดก็ได้ในการหย่านมลูก จะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือจะหักดิบเลยก็ได้เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญคือ คุณแม่จะต้องมีวิธีรับมือกับอาการร้องไห้งอแง อาการหงุดหงิดเมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่เคยได้ หากสามารถเบี่ยงเบนความต้องการขวดนมของลูกได้ จะหย่านมแบบหักดิบ หรือจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น ดังนั้น เราควรฝึกให้ลูกดื่มนมจากขวดแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ทำร้ายจิตใจลูก

 

การหย่านมจำเป็นหรือไม่ ควรหย่านมแม่เมื่อใด ?

โดยปกติทารกควรดื่มนมแม่จนมีอายุประมาณ 6 เดือน จากนั้นจึงค่อยให้ทารกทานอาหารชนิดอื่นร่วมกับการดื่มนมแม่ โดยอาจยังคงดื่มนมแม่ต่อไป จนกระทั่งอายุ 1-2 ปี หรือนานกว่านั้น อย่างไรก็ตามทารกแต่ละคน อาจหย่านมในช่วงอายุที่แตกต่างกัน ซึ่งบางราย อาจต้องหย่านมตั้งแต่ยังอายุไม่ถึง 6 เดือน โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คุณแม่อาจต้องเริ่มให้ลูกน้อยหย่านม ได้แก่

  • ทารกสนใจอาหารชนิดอื่นมากกว่านมแม่ หรืออาจถูกสิ่งอื่นดึงดูดความสนใจไปมากกว่าการดื่มนมจากเต้า
  • จำเป็นต้องกลับไปทำงาน ทำให้ไม่สามารถให้นมได้ แต่ก็สามารถปั๊มนมเพื่อเก็บสำรองเอาไว้ เพื่อให้ผู้ดูแลทำหน้าที่ป้อนนมแทน
  • มีน้ำนมไม่เพียงพอให้ลูกดื่ม ซึ่งหากรู้สึกกังวลใจสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีเพิ่มน้ำนมอย่างเหมาะสม
  • รู้สึกเจ็บหัวนม หัวนมแตก หรือเจ็บหน้าอกขณะให้นม เกิดจากลูกดูดนมผิดวิธี คุณแม่ที่ประสบปัญหานี้ควรไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเรียนรู้การจัดท่าทางการดูดนมของลูกให้ถูกต้อง
  • แม่ที่เคยมีประวัติแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด อาจต้องงดให้นมทารกอีกคน ก่อนวางแผนตั้งครรภ์ทารกคนต่อไป ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมไม่พอหรือเจ็บหัวนมอาจไม่จำเป็นต้องบังคับให้ลูกหย่านม เพราะจะสามารถกลับมาให้นมลูกได้ตามปกติหากได้รับการรักษาดูแลหรือได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง ซึ่งจริง ๆ แล้ว ลูกหย่านมจากเต้า หมายถึงยังดื่มนมจากอกแม่แต่ไม่ให้ลูกเข้าเต้า เริ่มทำได้ตั้งแต่ทารกอายุประมาณ 1 – 2 เดือนหลังคลอด แม่ก็สามารถฝึกให้ลูกน้อยดูดนมแม่จากขวดได้ แต่ก็ไม่ควรให้ลูกดูดนมจากขวดบ่อย เพราะลูกอาจจะสับสนระหว่างวิธีการดูดนมจากขวด กับวิธีการดูดนมจากเต้าแม่ได้

Advertisement

 

วิธีหย่านมที่ดี

1. หย่านม ต้องวางแผนไว้ก่อน อย่าหักดิบลูก

เริ่มต้นจากการลดจำนวนมื้อของการให้นมแม่ลงวันละ 1 มื้อก่อน โดยเริ่มจากมื้อกลางวันก่อน และเว้นช่วงระหว่างมื้อให้นานขึ้น ใช้ช่วงห่างประมาณ 1-3 วัน ลูกจะค่อย ๆ ปรับตัวได้จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยที่น้ำนมแม่ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้คุณแม่ลดอาการปวดและรัดรึง ที่สำคัญในระยะนี้คุณแม่ควรแสดงความรัก และใกล้ชิดลูกให้เพิ่มมากขึ้นในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียที่ลูกต้องหย่านมแม่

2. หย่านม แบบค่อยเป็นค่อยไป

การ หย่านม แบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ให้ลูกดูดนมจากขวดครึ่งหนึ่ง เอาลูกเข้าเต้าครึ่งหนึ่ง นอกจากการหย่านมแบบเข้าเต้าแล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกรับประทานอาหารเสริมได้ เพื่อให้คุณแม่กลับมาให้นมใหม่ได้ เนื่องจากให้นมมาระยะยาวแล้ว และลูกสามารถกินนมอื่น และอาหารเสริมที่ได้รับสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้นอกจากนมแม่ อาจใช้วิธีชักชวนให้ลูกกินนมแม่ให้สั้นลงได้ หรือเป็นแค่วันละมื้อก่อนนอนหากลูกยังติดเต้าแม่

3. การหย่านมแบบหักดิบที่ไม่ควรทำ

กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน หรือการที่แม่ลูกต้องแยกจากกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา และความยากลำบากทั้งแม่ลูก เช่น

  • คุณแม่อยู่ในภาวะกำลังสร้างน้ำนมอยู่ในขณะหย่านมอย่างเฉียบพลัน คุณแม่บางคน ให้ลูกเลิกเต้าแล้วปวดมาก เกิดปัญหาเต้านมคัด และนำไปสู่การเกิดเต้านมอักเสบ แนะนำให้คุณแม่คอยบีบน้ำนมออกบางส่วน หรือเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันการคัดนม ไม่ควรบีบน้ำนมออกมากเหมือนเก็บสต๊อกนม และลดจำนวนครั้งของการบีบลง ในระยะแรกคุณแม่อาจบีบน้ำนมออกเล็กน้อยในเวลากลางวัน และอาจจำเป็นต้องบีบน้ำนมออกในเวลากลางคืนด้วย ซึ่งจะเป็นการทำให้กลไกการสร้างน้ำนมลดลงได้อย่างช้า ๆ ทดแทน
  • ระหว่างการหย่านม คุณแม่ควรลดอาหารเค็ม เพื่อลดการคั่งของน้ำในร่างกายจนกว่าเต้านมแม่จะหายคัดตึง โดยตามปกติร่างกายจะหยุดการสร้างน้ำนมได้ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการหย่านมอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าคุณแม่ยังคงเจ็บปวดเต้านม หรือมีน้ำนมไหลซึมออกนานเป็นเดือน หรือปี ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อดูอาการ และขอคำปรึกษา
  • การหย่านมทันที ทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินลดลงส่งผลให้มีแนวโน้มต่อการทำให้แม่เกิดปัญหาซึมเศร้าได้
  • เจ้าตัวน้อยที่ถูกเลิกเต้าทันทีนั้น จะส่งผลต่อจิตใจเป็นอย่างมาก ทำให้ลูกรู้สึกสูญเสียความรัก ขาดความอบอุ่น
  • ลูกอาจจะไม่ยอมกินนมผสมได้เท่ากับที่ดูดนมแม่ จึงต้องคอยสังเกตภาวะโภชนาการ น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของทารก และได้รับอาหารตามวัยทดแทนอย่างเหมาะสม และถูกวิธี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

 

การหย่านมจำเป็นหรือไม่

 

10 เคล็ดลับสำหรับเด็กวัย 2 ขวบ หย่านม อย่างไร ให้ได้ผล

  1. หากลูกอายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังชอบเข้าเต้าแม่ คุณแม่ควรให้บ้างไม่ให้บ้าง แล้วค่อย ๆ ลดลงจนเขาสามารถดื่มนมจากแก้วหรือขวดเองได้
  2. พยายามหลีกเลี่ยงให้ลูกเข้าเต้าแม่ โดยหากิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจให้กับลูกทำทั้งในช่วงกลางวัน หรือก่อนนอนตอนกลางคืน
  3. คุณแม่ต้องให้ลูกได้กินอาหารแต่ละมื้อให้อิ่ม หรือมีของว่างเสริมระหว่างมื้ออาหาร
  4. หากลูกยังมีความต้องการนมแม่ กลัวการแยกจากแม่ และยังคงมีความรู้สึกอบอุ่นที่ได้คลอเคลียกับเต้าแม่ คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมเป็นบางครั้ง เพื่อรักษาหัวใจลูก
  5. ปรับท่าทางในการป้อนนม ลองประคองเจ้าน้อยนั่งตักคุณ ลำตัวตั้งตรง โดยให้ศีรษะของลูกพิงอยู่กับอกของคุณ ท่านี้จะช่วยลดความอึดอัดจากลมในท้องและกรดไหลย้อนได้
  6. ควรเอียงขวดนมให้น้ำนมเต็มบริเวณจุกนม เพื่อลดปริมาณของอากาศที่เจ้าตัวน้อยอาจจะดูดเข้าไปและทำให้ลูกท้องอืด ไม่สบายท้อง ทำให้ไม่อยากดูดนมจากขวด
  7. เด็กบางคนชอบนมอุ่น ๆ เหมือนกับนมที่เพิ่งออกจากอกแม่ แนะนำให้คุณแม่ลองปั๊มนมใส่ขวดแล้วป้อนลูกน้อยทันที หรือลองเปลี่ยนเป็นจุกนมที่มีความนุ่มและรูปทรงใกล้เคียงกับหัวนม
  8. ค่อย ๆ เปลี่ยนมาป้อนจากถ้วย ช้อน หรือหลอดดูบ้าง คุณแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนนมจากขวดเสมอไป เพราะวัตถุประสงค์คือ การให้ลูกยอมกินนมด้วยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการเข้าเต้า
  9. คุณแม่ต้องลองซ้อมไม่อยู่บ้านสักวัน ใจแข็งออกไปนอกบ้านจริง ๆ เพื่อให้เขาดื่มนมจากแก้วหรือขวด จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการป้อนนมจากขวดได้มากกว่า
  10. วันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน แนะนำให้ป้อนนมซุกเต้าให้เต็มที่ก่อน  แล้วเอานมสต๊อกให้เจ้าตัวน้อยกินตอนแม่ไม่อยู่  ระหว่างทำงานต้องปั๊มทุก 2-3 ชม. ไม่ปล่อยนมค้างเต้านานเกิน 4 ชม.

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่

 

วิธีฝึกให้ลูกดูดนมจากขวด

  • คุณแม่ต้องป้อนนมลูกก่อนที่จะถึงเวลาที่เคยเข้าเต้าแม่ประมาณ 15 นาที หรือตอนที่ลูกใกล้จะตื่น ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้จากการขยับตัว ขยับปากจุ๊บ ๆ จั๊บ ๆ เหมือนจะตื่น
  • ไม่ควรให้ลูกดูดนมแม่จากขวดตอนที่ลูกร้องไห้หิวนม เพราะจะทำให้เด็กมีอาการหงุดหงิด จนไม่ยอมกินนมแม่ที่อยู่ในขวด และจะร้องหานมจากเต้าแม่เพียงอย่างเดียว
  • ลองให้คนอื่นเป็นคนป้อนนม แล้วคุณแม่ควรหลบอยู่ห่าง ๆ แม้ว่าลูกจะมองไม่เห็น แต่ลูกจะได้กลิ่นแม่ และไม่ยอมกินนมจากขวดได้
  • ช่วงที่ลองให้คนอื่นเป็นคนป้อน ควรเปลี่ยนท่าอุ้มป้อนนม ที่ไม่เหมือนท่าที่คุณแม่เคยอุ้มให้นมอยู่เป็นประจำ เพราะเด็กบางคนจะจำได้ว่า ถ้าแม่อุ้มท่านี้ จะต้องได้ดูดนมจากอกของคุณแม่
  • ลองเปลี่ยนการเข้าเต้า มาให้ลูกน้อยนอนในเปล หรือวางนอนในขณะที่ป้อนนมแม่จากขวดแทน
  • เด็กบางคนอาจจะชอบให้มีการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ ดังนั้นจึงอาจจะลองนั่งเก้าอี้โยก หรือแก่งชิงช้าขณะที่ป้อนนมลูก ซึ่งก็อาจจะทำให้ทารกยอมกินนมจากขวดได้ง่าย
  • ลองเปลี่ยนจุกนมหลาย ๆ แบบ เลือกจุกนมที่นิ่ม ๆ และมีความยืดหยุ่นมาก ๆ ยิ่งคล้ายหัวนมแม่ ลูกก็จะยิ่งดูดจากขวดได้ง่ายขึ้น
  • ไม่ควรใช้จุกนมที่เย็นเกินไป หากเพิ่งเอาออกมาจากตู้เย็น ควรแช่น้ำอุ่นก่อน
  • ในช่วงแรกที่ฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด ลูกอาจจะยังกินได้ไม่มาก ให้ใช้ความอดทน ค่อย ๆ ป้อนไปทุกวัน ลูกก็จะเริ่มชิน และดูดนมได้มากขึ้น

 

การหย่านมจำเป็นหรือไม่

 

วิธีฝึกลูกให้กินนมจากแก้ว

  • เตรียมนมแม่ที่จะป้อน กะเวลาไว้ประมาณ 15 นาทีก่อนที่ลูกจะหิว ห้ามฝึกตอนที่ลูกหิวจัด
  • เตรียมแก้วใบเล็ก ที่มีลักษณะใส ๆ มองเห็นระดับน้ำนมได้ หรืออาจจะใช้แก้วตวงยาให้นมลูก
  • รินน้ำนมใส่แก้วที่เตรียม ไว้ประมาณครึ่งแก้ว
  • ป้อนในท่าที่นั่งสบาย โดยอุ้มลูกให้นั่งบนตัก ใช้ฝ่ามือรองต้นคอเด็กในท่าเอนตัวเล็กน้อย
  • ถ้าหากลูกดิ้น ให้ใช้ผ้าห่อตัวไว้ หรืออาจให้ลูกนั่งในกระเช้าเด็กหรือคาร์ซีท
  • การป้อนลูกโดยให้เอียงแก้วให้ระดับน้ำนมแตะที่ริมฝีปากบน เด็กจะสามารถจิบได้เอง
  • จับเรอเมื่อลูกกินนมได้ 1–2 ออนซ์ และหลังจากที่กินนมเสร็จ
  • เมื่อหัดบ่อย ๆ เด็กจะกินเก่งและจะรู้มากขึ้นจนสามารถกินนมได้เอง

 

วิธีฝึกลูกให้กินนมจากหลอด

  • เตรียมนมแม่ที่จะป้อน แก้ว และหลอดกาแฟที่ไม่เล็กจนเกินไป
  • ตัดหลอดกาแฟให้มีขนาดพ้นจากปากแก้วประมาณ 1 นิ้ว
  • ห้ามฝึกลูกดูดหลอดตอนหิวจัด หรืองอแง
  • อุ้มเด็กในท่านั่งกึ่งนอนหรือนั่งตัก
  • เทนมใส่แก้วสะอาดที่เตรียมไว้ และจุ่มหลอดกาแฟลงไป
  • ช่วงแรกให้ใช้หลอดจุ่มนม แล้วกดปลายไว้ จากนั้นจึงค่อยให้ลูกกินจากหลอด พอปลายหลอดเข้าปากเด็ก ก็ปล่อยให้น้ำนมไหลเข้าปาก
  • ใช้เวลาประมาณ 1–2 วันเท่านั้นเด็กจะรู้ว่ามีน้ำนมไหลออกจากหลอด จากนั้นเขาจะดูดเอง โดยอัตโนมัติ
  • เมื่อสังเกตว่าเด็กดูดนมเข้าปากเองได้ ก็ให้เขาลองดูดเองจากด้านบนของหลอดเอง เพียงแต่ในช่วงแรก ทารกอาจจะมีสำลักบ้าง เพราะเด็กยังกะแรงดูดไม่ได้
  • อย่าลืมจับเรอหลังจากที่ดื่มนมเสร็จ

 

คุณแม่ต้องระวังไว้เสมอว่า ระหว่างที่พยายาม หย่านม ลูกไม่ให้เขาเข้าเต้า ลูกจะงอแงมาก ดังนั้น คุณแม่ต้องอดทน อย่าใจร้อน หงุดหงิด เพราะเขาต้องเรียนรู้และปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคุณแม่เองก็ต้องปรับตัวไปกับลูก ซึ่งการหย่านมต้องเป็นไปอย่างอบอุ่น อ่อนโยน เพื่อไม่ทำร้ายจิตใจลูกจนเกินไป ไม่ให้เขารู้สึกว่ากำลังถูกทอดทิ้ง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หย่านมแม่อย่างไรไม่ทำร้ายใจลูก

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 83

ที่มา :  Mom Junction

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • การหย่านมจำเป็นหรือไม่ หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด ทำอย่างไรให้ได้ผล ?
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว