ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง ลูกตาเหลือง (Jaundice) ปกติแล้วจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุ 3 – 6 สัปดาห์ขึ้นไป ในทารกน้อยบางคนอาจจะมีอาการตาเหลืองมากจนถูกเรียกว่า อาการดีซ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่กังวลกับลูกที่เพิ่งเกิดมา ดังนั้นแนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงให้นมลูกสัก 24 – 48 ชั่วโมง เพื่อรอดูอาการที่แน่ชัดให้แน่ใจว่าทารกตัวเหลืองเพราะดื่มนมแม่หรือไม่
ภาวะตัวเหลือง ลูกตัวเหลือง ตาเหลืองเกิดจากอะไร
ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ลูกตาเหลือง อาการตัวเหลืองของทารกมีหลายสาเหตุ ทารกบางคนตัวเหลืองจากการกินนมแม่ บางคนตัวเหลืองจากการได้รับนมแม่ไม่พอ ซึ่งเกิดจากสาร “บิลิรูบิน” (Bilirubin) หรือสารเหลืองที่อยู่ในกระแสเลือดไหลเวียนเข้าไปสู่ตับ แต่เนื่องจากการทำงานของตับในทารกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงทำให้พวกเขามีอาการตัวเหลือง
ทั้งนี้การที่จะทราบว่าอาการตัวเหลืองนั้นเกิดจากอะไร จึงต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะต้องตรวจคัดกรองหาสาเหตุก่อนเป็นอันดับแรก หากวินิจฉัยแล้วเกิดจากการทำงานของตับ คุณหมอจะใช้สารบิลิรูบิเพื่อดูว่ามีปัญหาจากทางเดินท่อน้ำดี ที่เกิดจากการอุดตัน จึงทำให้ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ
วิธีสังเกตภาวะตัวเหลือง ของลูกน้อย
ทารกบางคนจะเห็นได้ชัดเจนว่าตัวเหลือง ตาเหลือง แต่บางคนอาจไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน ซึ่งมีวิธีการสังเกตอย่างง่าย ๆ ดังนี้
- ลองย้ายทารกไปอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างพอ
- คุณแม่ลองใช้นิ้วมือกดลงบนผิวหนังของลูก หรือใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกัน (ลักษณะนิ้วคล้ายทำกว้าง-หุบ) เพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจ
- คุณแม่สังเกตสีปากของลูก ถ้าปกติจะเห็นเป็นสีขาว แต่ถ้าเห็นเป็นสีเหลืองลงเรื่อยไปถึงท้องควรรีบพบแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง: ทารกตัวเหลือง พาออกไปรับแดดอ่อนตอนเช้าได้ไหม?
สาเหตุของเด็กตัวเหลือง ลูกตาเหลือง
1. ภาวะตัวเหลืองปกติ (Physiologic Jaundice)
ภาวะนี้เกิดจากทารกตอนอยู่ในครรภ์ มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมากกว่า และเม็ดเลือดแดงนั้นมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่ เมื่อเม็ดเลือดแดงของทารกแตกสลายเป็นบิลิรูบินจนเกินกว่าที่ร่างกายต้องกำจัด เนื่องจากตับของทารกยังทำงานไม่เต็มที่ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าทารกไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็จะสามารถหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์
2. ความผิดปกติจากมีพยาธิสภาพ (Pathologic Jaundice)
- กรุ๊ปเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากันส่วนใหญ่พบในคุณแม่หมู่เลือดโอกับลูกหมู่เลือดเอหรือบี หรือคุณแม่มีหมู่เลือด Rh – และลูกมี Rh +
- เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงในร่างกายของทารกหรือภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
- ทารกมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติโดยเฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- อาการตัวเหลืองมีความสัมพันธ์กับการกินนมแม่พบว่าทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวมักจะได้รับนมไม่เพียงพอ เช่น การให้ลูกดูดนมจากเต้าไม่ถูกต้อง หรือสืบเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆ อย่างทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติด ทำให้ดูดนมแม่ได้ไม่ดี
- ทารกมีภาวะตับอักเสบ โรคท่อน้ำดีตีบ ทำให้มีอาการตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด ส่งผลให้ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย
3. เกิดการดูดซึมสารเหลืองในลำไส้
ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากการดูดนมแม่ ซึ่งเกิดจากการดูดซึมสารเหลืองในลำไส้กลับเข้าสู่ร่างกายมากขึ้นกรณีนี้ที่พบบ่อย คือ ทารกได้นมน้อยเกินไป ทำให้มีอุจจาระออกมาปริมาณน้อย ส่งผลให้สารเหลืองที่ค้างอยู่ลำไส้ถูกขับออกมาน้อยตามไปด้วย นอกจากนี้การดื่มนมแม่น้อย ขับถ่ายน้อย ทำให้สารเหลืองถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ร่างกายของทารกจึงมีสารเหลืองเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองนั่นเอง
ลูกตัวเหลืองแบบไหน อาการน่าเป็นห่วง
ปกติแล้วทารกที่คลอดครบกําหนด มีสุขภาพแข็งแรง ประมาณ 80% อาจมีภาวะตัวเหลืองเล็กน้อยมาก พอผ่านไป 3-4 วัน ก็จะหายจากอาการตัวเหลืองไปเอง แต่หากทารกมีอาการตัวเหลืองผิดปกติ ซึ่งตัวเหลืองมากที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และพบเพียงแค่กว่า 1% คือ มีระดับสารสีเหลืองสูงกว่าปกติ ลองสังเกตอาการตัวเหลืองของลูกน้อยและเฝ้าระวังค่ะ
- ลูกตัวเหลืองเร็วคือ ลูกจะตัวเหลืองให้เห็นชัดในอายุ 1-2 วันแรก
- ภาวะเหลืองจัดคือ เหลืองเข้ม ทั้งฝ่ามือและฝ่าเท้าออกเหลืองชัดเจน
- ลูกตัวเหลืองนานเกินไปหากทารกอายุจะเกิน 7 วันแล้ว แต่ยังมีอาการเหลืองอยู่ต้องรีบปรึกษาแพทย์
- สังเกตสีอุจจาระว่ามีสีซีดหรือไม่ ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติหรือไม่
- ทารกตัวเหลืองร่วมกับอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นเช่น มีใช้ ซึม อาเจียน ถ่ายเหลว
ความรุนแรงจากภาวะตัวเหลือง
หากร่างกายของทารกมีระดับบิลิรูบินมากเกินไป สิ่งนี้จะผ่านเข้าสู่สมองไปจับที่เนื้อสมอง ทำให้สมองผิดปกติเรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus)
- ระยะแรก จะเกิดอาการซึม และดูดนมไม่ดี
- ระยะต่อมา ทารกจะซึมบวกกับมีอาการกระสับกระส่าย
- เริ่มมีไข้ ร้องเสียงแหลม ตัวเกร็งคอแอ่นไปด้านหลัง หลังแอ่น
หากได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดในระยะแรกๆ อาจทําให้สมองไม่ถูกทําลาย ช่วยลดความรุนแรงของความพิการทางสมองได้ แต่หากปล่อยลูกไว้จนอาการรุนแรงอาจถึงขั้น ไม่ดูดนม ชัก หยุดหายใจ เข้าขั้นโคม่าและอาจเสียชีวิตได้
เด็กตัวเหลือง สามารถรักษาได้ดังนี้
1. แพทย์จะใช้วิธีการส่องไฟ
อาจทำได้ในระยะแรกทันทีที่พบว่าลูกมีอาการตัวเหลือง โดยใช้หลอดไฟชนิดพิเศษให้แสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น ทั้งนี้ขณะส่องไฟแพทย์จะถอดเสื้อผ้าทารก ปิดตา และตรวจเลือดดูระดับบิลิรูบินเป็นระยะๆ กระทั่งมันลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ผลเสียของการส่องไฟคือ ทารกอาจเกิดภาวะขาดน้ำ น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากการส่องไฟ
2. แพทย์ตัดสินใจเปลี่ยนถ่ายเลือด
วิธีนี้อาจดูทารกมีอาการเข้าขั้นรุนแรง แต่อย่าเพิ่งตกใจค่ะ แพทย์จะทำการเอาเลือดทารกที่มีบิลิรูบินสูงออกจากตัวเด็กและเติมเลือดอื่นเข้าไปทดแทน คล้ายการถ่ายเลือด จะทำให้ระดับบิลิรูบินสูงมากหรือทารกเริ่มมีอาการแสดงทางสมองนั้นลดระดับบิลิรูบินอย่างรวดเร็ว ช่วยให้เด็กปลอดภัย
บทความที่เกี่ยวข้อง: ทารกตัวเหลือง มีอุจจาระสีซีด ผิดปกตินะแม่! ต้องรีบพาลูกไปพบหมอแล้วล่ะ
ทำไมแม่บางคนไม่หยุดการให้นมลูกเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
- ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องยากสำหรับคุณแม่ที่จะหยุดให้นมขณะที่ลูกน้อยกำลังดูดนมแม่จากเต้า และแม่บางท่านก็รู้สึกเจ็บปวดราวนมเวลาปั๊มนมให้ลูก
- เด็กบางคนไม่สามารถเลิกดื่มนมแม่ได้ เพราะพวกเขาไม่ชอบนมผง พอเด็กไม่ชอบก็เกิดอาการแหวะนม จนทำให้หนูน้อยบางคนอายุถึง 3 ขวบแล้วก็ยังไม่ยอมดื่มนมจากขวบสักที
- คุณแม่มีความคิดที่ว่า “นมแม่ดีที่สุด” จึงเป็นการยากที่จะหยุดให้นมแม่แล้วหันไปใช่นมผงแทน แต่เมื่อไหร่ที่ลูกตัวเหลืองคุณแม่ควรหยุดให้นม แล้วใช้นมผงแทน
- อาจเกิดปัญหาการให้นมแม่ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านออกมาพูดว่า พวกเขามีประสบการณ์การให้นมแม่ ซึ่งจะช่วยให้แม่ๆ เลี้ยงลูกด้วยตัวเองได้ ซึ่งอาจทำให้แม่ๆ คิดว่าการให้นมลูกจากขวดกับการให้นมแม่เหมือนกัน แต่มันไม่เป็นความจริง
- แม่หลายคนอาจคิดว่า “นมของฉันอันตรายสำหรับลูกน้อย” หมอบางคนจะใช้ผลกระทบทางสมอง เพื่อให้คุณแม่เลิกให้นมลูกน้อย ซึ่งนั่นทำให้คุณแม่กลัวการให้นม
- แม่บางคนเลิกให้นมลูก เพื่อไปตรวจเลือดหลายวัน แต่นั่นไม่สามารถบอกได้ว่า แม้ว่าลูกได้รับการทดสอบทั้งหมดแล้ว แต่แม่บางคนเลิกให้นมลูกไปหลายวัน แต่นั้นไม่ได้ช่วยอะไร เพราะไม่สามารถบอกระดับของบิลิรูบิ และการเปลี่ยนแปลง
การป้องกันอาการตัวเหลืองในเด็ก วิธีดูแลทารกตัวเหลือง
ปัจจุบันการป้องกันอาการตัวเหลือง หรือดีซ่านในทารกนั้นถือว่าเป็นไปได้ยาก ยิ่งถ้าเป็นการสืบทอดมาจากพันธุกรรมหรือมีภาวะภูมิแพ้ตนเอง ที่เป็นสาเหตุของการสะสมของบิลิรูบิน ทั้งนี้การที่หมั่นใส่ใจในการดูแลสุขภาพอยู่เสมอ และเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เด็กแรกเกิดตัวเหลือง เด็กตัวเหลืองอันตรายไหม
โรคดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง โรคอันตรายที่มักถูกหลายคนมองข้าม!
ที่มา : ibconlin, Bangkok hospital.
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!