X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบดึงผม ถอนผมตัวเอง ลูกต้องการบอกอะไรพ่อแม่?

บทความ 5 นาที
ลูกชอบดึงผม ถอนผมตัวเอง ลูกต้องการบอกอะไรพ่อแม่?

เจ้าตัวเล็กบ้านไหนมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ติดเป็นนิสัยบ้างคะ? อย่างการดึงผมหรือถอนผม ที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่กว่าจะมารู้ตัวอีกที ผมลูกก็หายเป็นหย่อม ๆ หรือ “หัวล้าน” ไปเสียแล้ว แล้วเราจะหยุดพฤติกรรม ลูกชอบดึงผม แบบนี้ได้อย่างไร? เป็นอาการทางจิตไหม? วันนี้ theAsianparent จะพาไปหาคำตอบร่วมกันค่ะ

 

ลูกชอบดึงผม หรือลูกต้องการบอกอะไร ?

ลูกชอบถอนผมตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่แปลกใจอยู่ไม่น้อย เพราะทุกการกระทำของลูกมักจะมีเหตุผลเสมอ เนื่องจากทารกบางคนยังไม่สามารถพูดออกมาได้ จะอธิบายก็ลำบากจึงจำเป็นต้องแสดงออกทางร่างกายเพียงอย่างเดียว ซึ่งพ่อแม่ต้องทำความใจถึงนิสัยของลูกเพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในอนาคต

 

ลูกชอบดึงผม

 

สาเหตุที่ ลูกชอบดึงผม

เด็กที่ชอบดึงผม หรือชอบเอาผมมาพันนิ้วตัวเองในระหว่างที่กำลังดูโทรทัศน์ กำลังจะนอน หรืออ่านหนังสืออย่างเพลิดเพลิน สาเหตุเกิดจากความเครียด หรือความวิตกกังวล เนื่องจากลูกน้อยมีความรู้สึกอยากใกล้ชิดคุณแม่ จึงดึงผมเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายความเครียด พอทำบ่อย ๆ ก็กลายเป็นความเคยชิน นิสัยนี้จะหายไปเองเมื่อมีอายุได้ 4 ขวบ หากไม่หายพ่อแม่ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้

 

Advertisement

หากลูกน้อยกำลังจะนอนแต่มีการดึงผม เป็นสัญญาณของความเมื่อยล้า เมื่อพ่อแม่เห็นลูกทำพฤติกรรมดังกล่าว ต้องหยุดวางลูกนอนบนเตียงทันที แล้วนำเขามากอด มาหอมให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นใจ ไม่เครียด และไม่ต้องกังวล

บทความที่เกี่ยวข้อง : กลั้นหายใจ อาการของทารกชอบร้องกลั้น ต้องรับมืออย่างไร?

 

ลูกชอบดึงผม

 

เด็กบางคนอาจจะดูดนิ้วด้วย เพราะทั้งคู่เป็นปัจจัยส่งเสริมกัน หากอาการนี้เริ่มระหว่างอายุ 5 – 12 ขวบ มักเป็นการระบายออกถึงความโกรธ หรือความก้าวร้าว ยิ่งถ้าเป็นหลังเข้าโรงเรียนใหม่ ๆ ต้องดูว่ามีเรื่องที่ทำให้ลูกน้อยไม่สบายใจที่โรงเรียนหรือเปล่า เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่รู้จักวิธีบอกความรู้สึก ความนึกคิดของตัวเองออกมาเป็นคำพูด แต่จะใช้วิธีดึงขนคิ้ว ขนตาแทน

 

ในเด็กที่อายุมากกว่า 12 ขวบ พบได้ในเด็กที่ย้ำคิดย้ำทำ เป็นการประท้วงต่อต้านของเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่น และเป็นสัญญาณของความเครียดเช่นเดียวกัน ที่อาจเกิดจากความรู้สึกผิดหวัง เหนื่อย หรือหงุดหงิด โดยอาการดึงผมนี้ เราจะเรียกว่า “Trichotillomania” เป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

 

โรคดึงผมตัวเองคืออะไร ?

โรคดึงผม หรือ โรคทิโชทิโลมาเนีย (Trichotillomania) คือโรคที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการที่พุ่งขึ้นมาจากภายในได้ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กวัยเรียนไปจนถึงผู้ใหญ่โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้

 

1. การกระทำขณะที่รู้ตัว

อาจจะเกิดจากความรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ คัน หรือรู้สึกยุกยิก ๆ รวมไปถึงรู้สึกว่าเส้นผมไม่ตรง ไม่เรียบทำให้อยากดึงออก เมื่อดึงออกแล้วจะรู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกโล่งขึ้น

 

2. การดึงผมโดยไม่รู้ตัว

มักจะดึงระหว่างทำกิจกรรมอื่นอยู่ เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ทำงาน เป็นต้น นับเป็นการกระทำแบบเผลอที่ไม่รู้ตัว และไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งทั้งสองแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นในคน ๆ เดียวกันได้

 

ลูกชอบดึงผม

 

วิธีแก้ลูกชอบดึงผม

เบื้องต้นพ่อแม่ต้องดูว่าลูกเราชอบดึงผมตัวเองเพราะอะไร หากคิดว่าเป็นเพราะว่ามาจากอาการคัน แนะนำให้คุณแม่ใช้ยาสระผมและยาลดการอักเสบ ถ้าลูกน้อยเกาหนักจนเป็นแผลก็ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อมาใช้ แต่ถ้าลองแล้วยังเป็นอยู่แสดงว่าเด็กอาจจะเกิดความเครียด ดังนั้น พ่อแม่ต้องพยายามหาสาเหตุให้ได้ แล้วลองหากิจกรรมหรือวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้น เช่น การวาดรูปกับลูก ว่ายน้ำ ระบายสี ขี่จักรยาน

 

สำหรับเด็กที่มีอาการดูดนิ้วร่วมด้วย และเป็นเด็กโตแล้วพ่อแม่ต้องหาสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายใจ เสียก่อน จากนั้นสอนให้ลูกรู้จักการระบายความรู้สึกออกมา และเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าความคิดของตัวเองกับพ่อแม่

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

ลูกชอบดึงผม

 

อย่าไปบังคับ หรือไปดุต่อว่าลูกน้อยให้หยุดดึงผม เนื่องจากพวกเขายังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจ และอาจจะทำให้เลวร้ายลงกว่าเดิมไปอีก เพราะลูกอาจเกิดความเครียดที่มากขึ้นอีกวิธีคือการพาลูกไปตัดผมให้สั้นแทน เด็กจะได้ไม่สามารถดึงผมได้อีก

 

หากลองทำแล้วลูกไม่มีอาการดีขึ้น อาการหนักขึ้น ผมลูกน้อยเริ่มบาง เริ่มมองเห็นหนังศีรษะ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด พร้อมกับพูดคุยกับลูกน้อยเพื่อให้เขาได้ลดพฤติกรรมบางอย่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกฟันบิ่น ฟันแตก เป็นฟันน้ำนมก็ติดเชื้อได้ ป้องกันอย่างไรดี ?

 

ขั้นตอนบำบัดพฤติกรรมลูกชอบดึงผม

1. หากิจกรรมทำ

หากว่าลูกดึงผมแบบไม่รู้ตัว และมักจะดึงในช่วงที่ทำกิจกรรมเพลิน ๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ลองเพิ่มงานที่ต้องบีบ หรือของเล่นที่ให้ใช้มือจับบีบคลายเครียดแทน เพื่อให้มือไม่ว่าง หรือลองแนะนำกิจกรรมอื่นที่ใช้มือเป็นหลัก เพื่อให้ลูกลดการใช้มืออย่างไร้จุดหมาย

 

2. คอยอยู่เคียงข้างลูก

ใช้เวลากับลูกให้มากขึ้น เพื่อจะคอยสังเกตพฤติกรรม และตักเตือนลูกได้เมื่อลูกกลับมาดึงผมอีกครั้ง แต่แนะนำว่าไม่ควรดุว่าลูก แต่ควรใช้วิธีพูดเตือนจะดีกว่า

 

3. คุณหมอช่วยได้

หากการดึงผมเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย และหนักจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน หรือต้องทรมานกับพฤติกรรมนั้น อาจเป็นสัญญาณเตือนแล้วค่ะว่าต้องเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอย่างจริงจัง เพราะนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของภาวะย้ำคิดย้ำทำ หรือมีความเครียดภายใน การปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้พฤติกรรมลามจนเกิดผลกระทบ จึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยค่ะ

 

 

บางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะสะท้อนถึงการเลี้ยงดู หรือการใช้เวลาของพ่อแม่ ที่ไม่เพียงพอต่อลูกน้อยก็เป็นได้ค่ะ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ลองจัดเวลาใหม่ เพื่อให้คุณได้ใช้เวลากับลูกมากขึ้น เชื่อว่านอกจากการใช้ยาหรือบำบัดพฤติกรรมแล้ว ความรักความใส่ใจของคุณพ่อคุณแม่ ก็สามารถช่วยให้ลูกหยุดพฤติกรรมชอบดึงผมได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกเล่นโทรศัพท์จนตาอักเสบหวิดตาบอด เคยได้ยินมาไม่อยากเชื่อ จนลูกเป็น!

การ์ตูนเสริมพัฒนาการ เสริมความรู้ เสริมทักษะ สำหรับลูกน้อย (รวมคลิป)

แม่ผัวลั่น อาบน้ำร้อนมาก่อน จะป้อนกล้วยลูก 2 เดือน พอห้ามกลับโดนไล่ไปอยู่กับหมอ

ที่มา : sanook, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูกชอบดึงผม ถอนผมตัวเอง ลูกต้องการบอกอะไรพ่อแม่?
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว