TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รักลูก ห่วงหลาน อย่าป้อนอาหารก่อนวัยอันควร!

บทความ 3 นาที
รักลูก ห่วงหลาน อย่าป้อนอาหารก่อนวัยอันควร!

เพราะอยากให้ลูกหลานตัวโตแก้มป่อง ด้วยความรักคุณย่าจึงป้อนกล้วยให้ลูกก่อนวัยอันควรต้องผ่าตัด เพราะลำไส้กลืนกัน

ย้อนไปเมื่อสองปีที่แล้ว เมื่อครั้งลูกชายของคุณแม่มีอายุได้เพียง 5 เดือนแทนที่จะได้ใช้ชีวิตสนุกสนานเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ กลับต้องเข้ารับการผ่าตัดเพราะลำไส้กลืนกัน!

อย่าป้อนอาหารลูกก่อนวัยอันควร ลำไส้กลืนกัน

โดยคุณแม่เล่าผ่านทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ว่า น้องเป็นลำไส้กลืนกันถึงสองรอบ รอบแรกเป็นลำไส้กลืนกันแต่สามารถคลายออกได้ แต่ครั้งที่สองคุณหมอต้องสวนแป้งเข้าไปเพราะลำไส้ไม่คลายออก ซึ่งสาเหตุที่ลูกชายของคุณแม่เป็นโรคนี้ เพราะคุณย่าอยากให้หลานตัวโต ๆ แก้มป่อง ๆ เลยป้อนกล้วย

พอป้อนไปได้สัก 5-6 วัน ลูกชายเริ่มถ่ายแข็ง แล้วก็อาเจียนออกมาเยอะมาก ทานอะไรก็ไม่ได้ นอนก็ไม่ได้ คุณแม่จึงพาไปหาหมอทันที หมอให้แอทมิทเป็นเวลา 2 คืน เพื่อให้มั่นใจว่าน้องหยุดอาเจียนแล้วจริง ๆ ตอนแรกคิดว่าน้องจะได้กลับบ้าน แต่ผลปรากฎว่า น้องกลับถ่ายออกมาเป็นสีแดงและมีมูกเลือดปน หมอจึงรีบไปเอ็กซเรย์ดี ผลที่ออกมาคือ น้องเป็นลำไส้กลืนกัน หมอจึงรีบให้น้องกลืนแป้งลงไป เพราะถ้าช้ากว่านี้ ลำไส้ของน้องอาจเน่าได้ ไม่นานน้องก็ได้กลับบ้าน … นี่คือการเข้ารับการรักษาครั้งแรกเพราะโรคนี้

แต่ครั้งที่สองนั้น ลูกชายกลับไม่โชคดีเหมือนครั้งแรก ซึ่งอาการนั้นไม่ได้มีอะไรเหมือนกับคราวก่อนเลย ไม่ถ่าย ไม่อาเจียน แต่ท้องของน้องกลับใหญ่ขึ้นมากจนผิดปกติ หมอสั่งให้แอทมิทและกลืนแป้งอีกเหมือนครั้งที่แล้ว แต่กลายเป็นว่ากลืนเท่าไหร่ลำไส้ก็ไม่คายออกจากกัน!!

หมอจึงสั่งให้งดนม ตั้งแต่เช้าและใส่สายยางทางจมูก สวมท่อฉี่ และได้พาน้องเข้าผ่าตัด โดยใช้เวลาเกือบสี่ชั่วโมง และยังคงต้องงดนมต่อไปอีก 5 วัน โดยให้ลูกชายของคุณแม่นั้นรับน้ำเกลือเพียงอย่างเดียว เพราะหมอต้องการให้มั่นใจว่า ลำไส้ที่ผ่าออกไปนั้นติดสนิทกันแล้วจริง ๆ หมอกล่าวว่า โรคลำไส้กลืนกันนี้ พบมากในเด็กเล็กที่มีกลุ่มอายุตั้งแต่ 4 – 12 เดือน

ทำความรู้จักกับโรคลำไส้กลืนกัน

โรคลำไส้กลืนกันเป็นโรคที่เกิดจากส่วนหนึ่งของลำไส้ซึ่งอยู่ต้นกว่าเคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้ อีกส่วนหนึ่งอยู่ปลายกว่า โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ โรคนี้พบมากในเด็กอายุ 4-12 เดือน พบได้จนถึง 2 ขวบ มักเกิดในเด็กแข็งแรงดีมาตลอด แต่หากโรคนี้เกิดในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มักมีสาเหตุที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน เช่น มีเนื้องอกในลำไส้

อาการของโรคลำไส้กลืนกันเป็นอย่างไร?

เมื่อเกิดโรคลำไส้กลืนกัน เด็กจะมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ แต่เนื่องจากยังพูดไม่ได้จึงแสดงอาการเริ่มต้นออกมาเป็น ร้องกวน กระสับกระส่ายเป็นระยะ มีอาเจียนร่วมด้วย อาจอาเจียนจนมีสีเขียวของน้ำดีปนออกมา ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดเพราะมีส่วนของลำไส้ที่ตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ต่อมาอาจมีไข้และเริ่มซึมลง ซึ่งบ่งว่าอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน

การรักษาโรคลำไส้กลืนกันทำได้อย่างไร?

การรักษาโรคนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือการผ่าตัดและการดันลำไส้ที่กลืนกันออก โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งจะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและลำไส้ที่ผิดปกติของผู้ป่วยขณะที่มารับการรักษาเป็นหลัก สำหรับการรักษาโดยการดันลำไส้คุณหมอจะใช้แรงดันผ่านทวารหนักดันลำไส้ที่กลืนกันออกโดยใช้สารทึบแสงทางเอ็กซเรย์ หรือใช้ลม แต่หากมีลำไส้กลืนกันมาเป็นเวลานานจนมีการเน่าตายของลำไส้จากการขาดเลือด หรือใช้วิธีการรักษาโดยดันลำไส้แล้วไม่สำเร็จ คุณหมอจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

ขอบคุณคุณแม่นุ๊กมากนะคะ สำหรับประสบการณ์ตรงที่ต้องการแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เมื่อไหร่จะเป็นรายสุดท้าย ล่าสุดป้อนกล้วยเด็กเข้าโรงพยาบาลไปอีกราย

ลูกอ๊วก มีไข้ ท้องเสีย อาการที่ไม่น่าวางใจสำหรับเด็กเล็ก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • รักลูก ห่วงหลาน อย่าป้อนอาหารก่อนวัยอันควร!
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว