X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟันน้ำนม เกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า รายการฟันสวยฟ้าผ่ามีคำตอบ

บทความ 5 นาที
ฟันน้ำนม เกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า รายการฟันสวยฟ้าผ่ามีคำตอบ

ฟันน้ำนม เกี่ยวไรกับฟันแท้ด้วยอ่ะ เดี๋ยวก็หลุดนี่นา..

ฟันน้ำนม เกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า รายการฟันสวยฟ้าผ่ามีคำตอบ

ฟันน้ำนม

ฟันน้ำนม กับฟันแท้

รายการฟันสวยฟ้าผ่า โพสต์อัลบั้มภาพฟันน้ำนมเกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า ? ? ในเฟซบุ๊ก อธิบายเรื่อง ราวของฟันน้ำนมได้อย่างละเอียด พร้อมภาพประกอบสุดน่ารัก เข้าใจง่าย

ฟันน้ำนม

เคยสงสัยกันไหมว่า…

Advertisement

ทำไมต้องมีฟันน้ำนมด้วยนะ

ฟันน้ำนม

ตอนเด็กขากรรไกรเล็กเลยต้องมีฟันซี่เล็ก

ตอนโตขากรรไกขยาย ฟันแท้เลยมาเปลี่ยน เพื่อให้เหมาะสมกับขากรรไกร

ฟันน้ำนม

โดยปกติฟันน้ำนมจะขึ้น

ซี่แรก อายุ 6 เดือน 20 ซึ่ อายุ 2 ขวบครึ่ง

ฟันน้ำนม

ถ้าอยากให้ฟันแท้ดีต้อง…

ดูแลฟันน้ำนมให้ดีด้วย

ฟันน้ำนม

แล้วถ้าดูแลฟันน้ำนมไม่ดี

“จนฟันน้ำนมผุ” จะไปเกี่ยวอะไรกับฟันแท้ครับ

ฟันน้ำนม

เวลาฟันน้ำนมผมากๆ

สารพิษจะถูกส่งไปสู่หนอฟันแท้ที่อยู่ใต้ฟันน้ำนม!

ฟันน้ำนม

ทำให้บางคนมีฟันแท้ออกมา

สีฟันไม่สม่ำเสมอ นื้อฟันสร้างไม่สมบูรณ์ พรุน และทำให้ผุง่ายได้อีก!

ฟันน้ำนม

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

เด็กที่ฟันผุง่าย

มักมีนิสัยการกินและการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ดีติดตัวไป เมื่อมีฟันแท้งอกขึ้นมาก็ทำให้ผุง่าย เช่นกัน!

ฟันน้ำนม

 

ฟันสำคัญมากต่อชีวิต

เรามีโอกาสให้ปลูกฝังดูแลตั้งแต่เด็ก อยปล่อยให้โอกาสเสียไปนะครับ

บรรเทาอาการฟันผุเองที่บ้านได้หรือไม่?

คุณอาจรู้สึกปวดฟันในเวลาที่รับประทานอาหาร แต่ไม่แน่ใจว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาฟันผุอยู่หรือเปล่า อีกทั้งในขณะนั้น คุณยังไม่สะดวกที่จะไปพบทันตแพทย์ได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ติดธุระ หรือยังไม่ถึงเวลานัดตรวจจากทันตแพทย์ คุณสามารถบรรเทาอาการปวดฟันนี้ได้เองที่บ้านจนกว่าจะถึงวันนัด อย่างไรก็ตาม

วิธีคำแนะนำดังกล่าวยังคงเป็นเพียงการบรรเทาชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายคุณควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากฟันซี่ที่ผุเป็นเพียงระยะเริ่มต้น ทันตแพทย์สามารถรักษาฟันของคุณให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ หรือถึงแม้ว่าปัญหาฟันผุจะเป็นมากไปกว่าระยะเริ่มต้น ทันตแพทย์ก็มีวิธีที่จะซ่อมแซมฟันซี่ดังกล่าวให้ดีขึ้นได้เช่นกัน

ฟื้นฟูสภาพฟันผุช่วงเริ่มต้น

สัญญาณของปัญหาฟันผุช่วงเริ่มแรกสังเกตุได้จากการส่องกระจกดูฟันขอ

งตัวเอง หากพบจุดขาว (White Spot) บนฟัน แสดงให้เห็นว่าเคลือบฟันของคุณอ่อนแอลงจากการสูญเสียแร่ธาตุและมีแนวโน้มว่าจะเกิดฟันผุได้

ในระยะนี้คุณสามารถช่วยคืนแร่ธาตุให้ฟันด้วยฟลูออไรด์กลับเข้าไปยังผิวเคลือบฟันเพื่อให้ฟันกลับมาแข็งแรงและช่วยรักษาฟันที่เริ่มผุในช่วงนี้ได้ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และแคลเซียมแปรงฟันทุกวันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับฟันของคุณได้เองที่บ้าน

การรักษาฟันผุ

เมื่อฟันผุก่อตัวขึ้นและยังไม่ได้รับการรักษาจนกระทั่งเริ่มลุกลาม ระยะนี้ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของฟันผุและเลือกใช้วิธีการรรักษาที่เหมาะสมที่สุด เช่น

ถ้าอาการผุจนฟันเป็นรูที่ผิวเคลือบฟันแต่ยังไม่ลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์อาจจะใช้วิธีการอุดฟัน โดยเริ่มจากทำความสะอาดบริเวณฟันที่ผุแล้วใช้วัสดุอุดฟันอุดซี่ดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลาม

ในกรณีที่ฟันผุมาก ทันตแพทย์อาจต้องทำการรักษาคลองรากฟัน แล้วทำการครอบฟัน

หรือหากเป็นกรณีที่ร้ายแรมากจนไม่สามารถรักษาตัวฟันได้แล้ว ทันตแพทย์ต้องถอนฟันซี่นั้นของคุณทิ้งและทำการใส่ฟันปลอมหรือทำสะพานฟันให้ วิธีการเหล่านี้ดูเหมือนค่อนข้างรุนแรงหรือน่ากลัว แต่มันเป็นจำเป็นเพื่อปกป้องฟันซี่อื่น ๆ รวมถึงรักษาสุขภาพทั้งช่องปากของคุณในระยะยาว

ป้องกันฟันผุไม่ให้กลับมาอีก

ใครที่ผ่านประสบการณ์ฟันผุถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาหรือถอนฟันทิ้งคงไม่อยากกลับไปมีประสบการณ์นั้นอีกแน่นอน นอกจากอาการปวดฟันที่ทุกข์ทรมานแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้น สิ่งที่คุณควรทำและสามารถทำได้คือ การรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดและมีสุขภาพดีอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียทำลายผิวเคลือบฟันจนกลายเป็นปัญหาฟันผุ

ขั้นตอนแรกคือให้ความสำคัญเรื่องอาหารที่คุณรับประทาน แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากใช้แป้งและน้ำตาลเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและขยายปริมาณ ในระหว่างนี้แบคทีเรียก็จะผลิตกรดออกมาแล้วเข้าทำลายผิวเคลือบฟันให้ค่อย ๆ กร่อนลงทีละน้อย ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งหรือน้ำตาลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วเปลี่ยนมาประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้และนมแทน กากใยจากผักและผลไม้จะช่วยกกระตุ้นการหลั่งน้ำลายในปากเพื่อช่วยชะล้างจุลินทรีย์ทออกไป ส่วนนม นอกจากจะมีแคลเซียมสูงที่ช่วยเสริมให้เคลือบฟันแข็งแรงแล้ว ยังมีฤทธิ์เป็นด่างในขณะที่แบคทีเรียส่วนใหญ่สร้างภาวะที่เป็นกรด นมจึงช่วยเพิ่มความสมดุลหรือปรับค่าความเป็นกลางในช่องปากได้นั่นเอง

นอกจากเรื่องอาหารแล้ว ควรให้ความสำคัญในเรื่องการทำความสะอาดช่องปากด้วย ทันตแพทย์แนะนำให้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเพื่อป้องกันปัญหาฟันผุและปัญหาเหงือก สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาการฟันผุในช่วงเริ่มแรก ควรปรึกษาทันตแพทย์เรื่องการใช้ยาสีฟันหรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมฟลูออไรด์ที่มากกว่าปรกติ เพื่อนำแร่ธาตุที่จำเป็นกลับคืนสู่ฟันของคุณเป็นต้น

เรื่องสำคัญอีกข้อคือ

การพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสภาพช่องปากอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน เพื่อหาดูว่าคุณมีฟันผุหรือไม่ ถ้ามีทันตแพทย์จะรักษาเบื้องต้นด้วยการอุดฟันก่อนที่จะลุกลามหรือเรื้อรังจนต้องถอนฟันทิ้ง หรือถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาเหงือกซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาในช่องปากที่ร้ายแรงด้านอื่นๆ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาแน่นอน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ในเรื่องของฟันน้ำนมและการขึ้นของฟันแท้ในช่องปาก โดยหลายท่านมักจะเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่สำคัญ ถ้าหากลูกมีฟันน้ำนมผุแล้วต้องถอนฟันออกไปก็ไม่เป็นไร เพราะหากไม่มีฟันน้ำนมแล้วเดี๋ยวฟันแท้ก็จะขึ้นมาแทนที่ในไม่ช้า แต่ในความเป็นจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะหากเด็กมีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ในขณะที่หน่อฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ยังมีการสร้างฟันไม่เสร็จ ฟันแท้ที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยก็จะยังไม่ขึ้นสู่ช่องปากของลูก

ขอยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกต้องเสียฟันกรามน้ำนมไปตั้งแต่ยังเล็กช่วง 3 ขวบ เด็กจะต้องฟันหลอไม่มีฟันเคี้ยวอาหารและรอคอยฟันแท้ซี่ที่จะขึ้นมาแทนที่นานถึง 8 ปีกันเลยทีเดียว ถึงจุดนี้คงต้องขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจยิ่งขึ้นโดยจะขอเล่าถึงฟันในขากรรไกรของคนเรา ดังนี้

ฟัน (ถ้าไม่นับรวมฟันปลอม) มี 2 ชุดเท่านั้น  ฟันน้ำนมเป็นฟันชุดแรกที่ขึ้นสู่ช่องปาก โดยจะเริ่มพบฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นช่วงเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ซึ่งซี่แรกที่ขึ้นจะเป็นฟันหน้าล่าง ตามด้วยฟันหน้าบน ฟันกรามและฟันเขี้ยวจนมีจำนวนครบ 20 ซี่ในช่วงที่เด็กอายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง ส่วนฟันแท้จัดเป็นฟันชุดที่สองที่จะขึ้นต่อมาเพื่อแทนที่ในตำแหน่งเดิมของฟันน้ำนม 20 ซี่ และมีเพิ่มอีก 12 ซี่ที่จะขึ้นในตำแหน่งด้านหลังของขากรรไกร ทั้งนี้ฟันแท้จะขึ้นสู่ช่องปากเมื่อมีการสร้างฟันที่พร้อมสมบูรณ์และถึงอายุตามวัยปฏิทินในการขึ้นของฟันแต่ละซี่ เช่น ฟันกรามแท้ที่ขึ้นมาแทนในตำแหน่งของฟันกรามน้ำนมมีช่วงของการขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 10-12 ปี เป็นต้น

 

ที่มา : Funsuayfahpa รายการฟันสวยฟ้าผ่า ทุกวันศุกร์ 6 โมงเย็น ทุกวันเสาร์อาทิตย์ 9 โมงเช้า ทางช่อง workpoint 23

ที่มาจาก : https://www.colgate.com/th-th/oral-health/conditions/cavities/can-you-heal-cavity-at-home

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไม่ยอมแปรงฟัน! ลูก 2 ขวบฟันผุต้องถอนทิ้ง 14 ซี่

ประโยชน์ของฟันน้ำนมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ลูกมีกลิ่นปาก เพราะอะไร 5 เหตุผลที่ทำให้ลูกปากเหม็น ปัญหากลิ่นปาก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ฟันน้ำนม เกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า รายการฟันสวยฟ้าผ่ามีคำตอบ
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว