X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อแม่รู้ไหม ฝึกลูกตั้งไข่ ทรงตัวดีมีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกได้

บทความ 3 นาที
พ่อแม่รู้ไหม ฝึกลูกตั้งไข่ ทรงตัวดีมีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกได้

ทารกส่วนมากจะเริ่มตั้งไข่เมื่อเข้าวัย 8-9 เดือน หรือเริ่มหลังจากที่คลานได้ แล้วรู้ไหมค่ะ การฝึกลูกตั้งไข่ให้มีการทรงตัวที่ดีนั้นสำคัญต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยได้

โดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าตัวน้อยจะเริ่มตั้งไข่กันเมื่อเข้าอายุ 8-9 เดือน  หรือเริ่มหลังจากที่คลานได้ และจะพยายามลุกขึ้นมาอยู่ในท่ายืน หาที่เกาะยืนเพื่อที่จะเกาะและค่อย ๆ ขยับไปทีละก้าว ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเดินหรือเข้าสู่ในวัยเตาะแตะในไม่ช้า นอกจากการ ฝึกลูกตั้งไข่ จะช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี ยังมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยด้วยนะ

ฝึกลูกตั้งไข่ ให้ปลอดภัยได้อย่างไร

ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกกำลังเริ่มตั้งไข่ อาจมีจังหวะก้าวเหมือนจะเดินได้หนึ่งหรือสองก้าว แล้วก็จะนั่งหรือจ้ำเบ้าลงกับพื้น เพราะยังคงทำไม่ถนัดในช่วงแรก ๆ ซึ่งต้องอาศัยการฝึกบ่อย ๆ ลูกก็จะทำได้ดีขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจัดที่ทางบ้านให้โล่งขึ้น พยายามให้มีสิ่งกีดขวางน้อยชิ้น และมีที่เกาะที่แข็งแรงมั่นคง ไม่เคลื่อนที่ หรือล้มง่ายเหมาะสำหรับให้เจ้าตัวน้อยยึดเกาะ เช่น โซฟาตั้งพื้น หรือโต๊ะอาหารที่ปิดเหลี่ยมมุม ไม่มีผ้าปูหรือวางสิ่งของมีคมจนตกลงมาเป็นอันตราย ในขณะที่ลูกฝึกทรงตัวคุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ ๆ ดูแลลูกเพื่อให้ความช่วยเหลือ และเป็นกำลังใจให้สำหรับการหัดตั้งไข่ของลูก

ฝึกลูกตั้งไข่

ฝึกลูกทรงตัวดีมีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกได้

Advertisement

เมื่อมนุษย์สามารถยืนได้ด้วย 2 ขา และสามารถควบคุมร่างกายให้ตั้งตรงจะเรียกว่า มีการทรงตัวเกิดขึ้น ซึ่งการทรงตัวของมนุษย์ถูกควบคุมโดยหูชั้นกลางและหูชั้นใน ซึ่งในส่วนของหูชั้นในนั้นจะมีเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสายตา ทำหน้าที่สำคัญในการทรงตัวไม่ว่าร่างกายจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด เดิน กระโดด หรือโยกเยกไปมา ดังนั้นเมื่อทารกสามารถทรงตัวได้ดี แสดงถึงสมองของลูกในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีและมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีด้วย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีการสั่งการและการควบคุมกล้ามเนื้อที่ดี มีการประมวลผลการรับรู้ของสมองได้ดี แต่กลับกันหากลูกมีการทรงตัวที่ไม่ดี ก็จะไม่ส่งผลต่อการมีสมาธิ สายตาจะไม่เพ่งมองหาโฟกัสสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ การทรงตัวจึงมีความสำคัญต่อทารกมากตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยหัดเดิน

 

ฝึกให้ลูกตั้งไข่ พ่อแม่ช่วยได้

  • เมื่อลูกเริ่มเดินตั้งไข่ นอกจากกำลังใจที่สำคัญจากพ่อแม่แล้ว พ่อแม่ควรเป็นตัวช่วยเพื่อหลอกล่อให้ลูกเดินเข้ามาหาในระยะใกล้ ๆ หรือหาของเล่นที่ลูกชอบวางไว้เพื่อให้ลูกพยายามเดินเข้ามาหยิบ หรือใช้วิธีชูของเล่นให้สูงกว่าตัวลูก เพื่อให้ลูกลุกขึ้นยืนจับ
  • เมื่อลูกเริ่มหัดยืนและเดินใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยจับข้อศอกหรือข้อมือของลูกพยุงไว้ เพื่อให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ เมื่อลูกตั้งไข่คล่องขึ้นจึงลองปล่อยให้ลูกยืนและเดินด้วยตัวเอง ไม่นานลูกก็จะเดินคล่องในที่สุด

ฝึกลูกตั้งไข่

  • เมื่อลูกเริ่มก้าวเดินได้ อาจหาของเล่นลากจูง หรือเดินจูงมือลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน เพื่อให้ลูกสนุกกับการก้าวเดินมากขึ้น
  • พาลูกได้เข้ากลุ่มกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เมื่อได้เห็นเด็กคนอื่นยืนและเริ่มเดินได้เป็นตัวอย่าง จะเป็นแรงจูงใจให้เจ้าตัวน้อยมีความพยายามในการยืนหรือเดินเองได้มากขึ้น
  • สร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ เช่น การโยนรับส่งของเล่น โดยจับให้ลูกนั่ง  ส่งของเล่นไปมา เพื่อให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อแขนขยับไปมา รวมถึงใช้สายตามองของเล่น ซึ่งจะเป็นการสร้างสมาธิจดจ่อให้กับลูกได้ สร้างกล้ามเนื้อขาให้มีความแข็งแรงด้วยการให้ลูกยืนบนตัก และส่งตัวให้ลูกเด้งขึ้นลงพร้อมขาสองข้างสัมผัสพื้น ที่จะเป็นแรงจูงใจให้ลูกอยากทรงตัวได้ด้วยตัวเอง
  • อย่าพยายามอุ้มลูกอย่างเดียว ลองปล่อยให้ลูกได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ลูกพยายามเดินเกาะซึ่งอาจจะมีล้มไปบ้าง หากอยู่ในที่ปลอดภัยไม่เจ็บตัว ก็อย่าเพิ่งรีบเข้าไปช่วย ลองปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้พยายามลุกขึ้นและเกาะเดินเพื่อไปต่อด้วยตัวเองดูนะคะ

จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาตั้งไข่ เป็นอีกหนึ่งสำคัญของชีวิตลูกไม่น้อย การฝึกตั้งไข่ทีละน้อยก็จะนำไปสู่การทรงตัวที่ดี และนำไปสู่พัฒนาการสมองที่ดี รวมไปถึงการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของร่างกายก็ดีตามไปด้วย

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

การนอนช่วยพัฒนาสมอง ทารกควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะฉลาด

ทำไมลูกไม่ยอมคลาน

ที่มา : mamastory

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พ่อแม่รู้ไหม ฝึกลูกตั้งไข่ ทรงตัวดีมีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกได้
แชร์ :
  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว