TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฝีหลังคอหอยในทารก ลูก 2 เดือน เป็นโรคฝีหลังคอหอย หลังโดนกวาดยาที่คอจนติดเชื้อ

บทความ 3 นาที
ฝีหลังคอหอยในทารก ลูก 2 เดือน เป็นโรคฝีหลังคอหอย หลังโดนกวาดยาที่คอจนติดเชื้อ

น้องไก่ (นามสมมติ) อายุ 2 เดือน มาพบแพทย์ด้วยอาการไข้สูง คอบวมและดูเอียง น้ำลายไหลตลอด ไม่ยอมดูดนม หายใจลำบากจนดูเหมือนเหนื่อย หลังจากไปกวาดยาที่คอ มาประมาณ 1-2 วัน เมื่อตรวจร่างกายก็พบว่าน้องไก่มีอาการของโรคฝีหลังคอหอย และมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน

ฝีหลังคอหอยในทารก

สำหรับสาเหตุของภาวะนี้ คุณหมอสันนิษฐานว่า ฝีหลังคอหอยในทารก น่าจะเกิดจากการที่ไปกวาดยา เกิดการบาดเจ็บบริเวณด้านหลังของคอหอย และมีการติดเชื้อตามมา

 

โรคฝีหลังคอหอยคืออะไร?

โรคฝีหลังคอหอย (retropharyngeal abscess) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น group A streptococcus, S. aureus หรือ เชื้อในกลุ่ม anaerobic bacteria มักพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สาเหตุส่วนมากเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ทอนซิล คอหอย หูชั้นกลาง หรือ ไซนัส นำมาก่อน สาเหตุอื่นๆที่พบได้ในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 3 ปีอาจเป็นผลจากการกวาดยาที่คอ ในผู้ใหญ่อาจเกิดจากการกลืนติดกระดูกไก่ หรือก้างปลาที่คอ และเกิดแผลติดเชื้อแบคทีเรีย

 

การกวาดยาทำอย่างไร?

การกวาดยา คือการเอายาป้ายในลำคอโดยใช้นิ้วมือ ทำโดยหมอแผนโบราณ (ซึ่งอาจไม่ได้มีคุณวุฒิทางการแพทย์) มักทำในเด็กเล็ก ไม่เกิน 2-3 ขวบ ที่มีอาการป่วยต่างๆ เช่น มีไข้ มีตุ่มขึ้นในปากและลำคอ
โดยใช้ยาเม็ดบดรวมกับพืชสมุนไพรตามแต่ละสูตร โดยใช้นิ้วชี้ป้ายยาที่เตรียมไว้ แล้วเอานิ้วที่มียาแหย่เข้าปากและป้ายลงไปในลำคอเด็กตรงตำแหน่งหลังคอหอยในท่านอนหงาย

โดยมีความเชื่อแต่โบราณว่า การกวาดยาจะสามารถรักษาโรคบางอย่างได้ โดยอาจกวาดยาเพียงครั้งเดียวก็หาย หรือต้องมากวาดยาติดต่อกันหลายๆวัน ทั้งนี้ ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันสนับสนุนผลการรักษาด้วยวิธีการนี้อย่างชัดเจน

 

ข้อควรระวังของการกวาดยาคืออะไร?

การกวาดยาโดยทั่วไปมีจุดประสงค์เพื่อรักษาโรคแบบแผนโบราณ ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรง แต่มีข้อควรระวังคือหากกวาดยาลงไปในลำคอด้วยนิ้วที่ไม่สะอาด หรือกวาดแรง อาจจะทำให้เกิดแผลในคอ โดยเฉพาะที่หลังคอหอย และเกิดลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ฝีหลังคอหอยได้ ซึ่งหากเกิดในเด็กเล็ก อาจเป็นอันตรายร้ายแรงจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นจนถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

อาการของโรคฝีหลังคอหอยในเด็กเป็นอย่างไร?

  • เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีไข้สูง
  • เจ็บคอ
  • กลืนลำบาก
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำลายไหลตลอดเพราะกลืนน้ำลายไม่ได้
  • คอบวม คอแข็ง
  • บางรายมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย จากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน

 

การวินิจฉัยโรคฝีหลังคอหอยทำได้อย่างไร?

คุณหมอจะวินิจฉัยโรคนี้จากประวัติอาการและการตรวจร่างกายดังที่กล่าวมาข้างต้น ร่วมกับการส่งตรวจเอกซเรย์คอด้านข้างซึ่งจะพบเงาหนาบริเวณหลังคอหอยจนดันหลอดอาหารและกล่องเสียงออกไป ทั้งนี้คุณหมออาจพิจารณาส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT หรือ MRI เพิ่มเติม เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคและเห็นขอบเขตได้ชัดเจนว่ามีการอักเสบติดเชื้อจนเป็นฝีลามออกไปมากถึงระดับไหน และเพื่อประโยชน์ในการเตรียมผ่าตัดระบายหนองออกด้วย

 

การรักษาโรคฝีหลังคอหอยทำได้อย่างไร?

คุณหมอจะรับผู้ป่วยโรคนี้ไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย เพื่อให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เฝ้าระวังการอุดกั้นทางเดินหายใจ โดยหากพบว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจก็จะรีบใส่ท่อช่วยหายใจทันที และผ่าตัดระบายเอาฝีหนองออก และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น การแตกกระจายของฝีหนองเข้าไปในช่องอก อย่างใกล้ชิด

 

หากลูกมีอาการไข้สูง คอบวม น้ำลายไหลตลอด หายใจลำบาก หลังจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ หรือหลังจากไปกวาดยาที่คอมา อาจเป็นโรคฝีหลังคอหอยได้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันทีนะคะ

 

เครดิตภาพ : https://www.slideshare.net

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีตัดเล็บทารก ตัดเล็บให้ลูกอย่างไร ให้ปลอดภัยไม่เข้าเนื้อ

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

ไม่อยากให้ลูกต้องป่วยบ่อย ต้องสอนลูกให้ทำแบบนี้

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ฝีหลังคอหอยในทารก ลูก 2 เดือน เป็นโรคฝีหลังคอหอย หลังโดนกวาดยาที่คอจนติดเชื้อ
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว