X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

บทความ 5 นาที
10 อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วจะมักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงใกล้คลอด เรามีวิธีแนะนำรักษาอาการให้คุณแม่ ลองสังเกตตัวเองว่าเป็นถึง 10 อาการนี้กันมั้ยค่ะ

เมื่อว่าที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว มักจะมีอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาสแรก จนถึงใกล้คลอด เรามีวิธีแนะนำ และรักษาอาการปกติ ที่ไม่ปกติ เหล่านี้ ว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย ลองมาสังเกต 10 อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ ว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย มีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

10 อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

1. แพ้ท้อง

ส่วนมากจะพบเมื่อขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ โดยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มักมีอาการช่วงเช้า ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ชอบ และรับประทานอาหารครั้งละมากๆ แต่เพิ่มจำนวนครั้งให้ถี่ขึ้น  หรือจะรับประทานอาหารอ่อน และเครื่องดื่มอุ่นๆ  เช่น ซุป ข้าวต้ม หรือจะเป็นบิสกิตกับน้ำขิงอุ่นๆ หรือน้ำผลไม้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอเสมอ

2. ตกขาว

ส่วนมากจะพบในช่วงตั้งครรภ์ และจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ  ควรทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า อย่าทำการสวนล้าง ถ้ามีสี และกลิ่นที่แปลกเหม็น ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็ค

3. ปัสสาวะบ่อย

เกิดจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นแล้วไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ อย่าลดการดื่มน้ำเปล่า คุณ และลูกในท้องยังต้องการน้ำในปริมาณที่เหมาะสม วันละ 1.5-2 ลิตร ในขณะที่กำลังปัสสาวะ พยายามเอียงตัวไปข้างหน้าให้มากขึ้น เพราะจะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะขับถ่ายของเหลวออกมาได้เต็มที่มากขึ้นด้วย แต่ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ปัสสาวะแสบขัด  และไม่สะดวก ควรพบแพทย์

อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

4. ท้องผูก

Advertisement

อาการนี้จะเป็นบางคนที่ตั้งครรภ์  แก้ไขโดยการดื่มน้ำ ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เวลาเข้าห้องน้ำอย่านั่งนาน หรือเบ่ง อาจเกิดริดสีดวงได้ ถ้าท้องผูกนานควรพบแพทย์

5. เส้นเลือดขอด  

ส่วนมากคลอดแล้วจะอาการนี้จะหายไป ควรเปลี่ยนอิริยาบทท่าทางในการเดิน หรือการยืนท่าเดียวนานๆ เวลานั่ง หรือนอนควรยกเท้าสูง ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดิน หรือทำงาน

6. ผิวแตกลาย

เกิดจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของผิวหนัง และเนื้อเยื่อในเวลาอันรวดเร็ว ในขณะที่ทารกน้อยเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ ทำให้เส้นใยโปรตีนอีลาสติน และคอลลาเจนบริเวณผิวหนังชั้นในสุดถูกยืดออกส่งผลให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลาย  และทำงานผิดปกติ รวมทั้งฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด  ประกอบกับคุณแม่ ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่ผิวหนังจะขยายตัวตามได้ทันทำให้เกิดรอยแตกบริเวณหน้าท้อง ทรวงอก สะโพก  ต้นขา  และบั้นท้าย ควรดูแลตัวเอง อย่าให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไป อย่าเกา ทาครีมโลชั่น บำรุงผิวและดื่มน้ำมากๆไม่ให้ผิวแห้ง และไม่ควรอาบน้ำอุ่น

อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

7. อาการเมื่อยล้า เพลีย ง่วงนอน   

พบบ่อยช่วงไตรมาสแรก โดยจะรู้สึกอ่อนเพลียง่วงนอน ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนในวันทำงาน ช่วงพักเที่ยงอาจจะงีบ 10-15 นาทีเพื่อให้หายอาการเพลียอ่อนล้า

8. สีผิวจะเข้ม และหมองคล้ำในร่างกาย  

 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย คุณแม่พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด และทาครีมกันแดด เมื่อคลอดแล้วสีจะจางลง

9. สิว ฝ้า กระ   

ฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น รวมไปถึงมีฮอร์โมนใหม่ที่สร้างจากรกขึ้นมาคือ hCG  หลังคลอดทุกอย่างจะค่อย ๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยเฉพาะยารักษาสิว กลุ่มกรดวิตามินเอ หรือเรตินอยด์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแบ่งเซลล์ของทารก ทำให้มีรูปร่างผิดปกติ อวัยวะพิการอย่างรุนแรง เช่นความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ ใบหน้า หัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง

อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

10. กรดไหลย้อน

อาการแสบร้อนในลิ้นปี่ เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนไปที่หลอดอาหาร และระบบย่อยอาหารทำงานช้า ตอนท้องอ่อน ๆ หูรูด ก็จะเริ่มหย่อนแล้ว ยิ่งคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องหนัก ๆ ก็จะยิ่งมีปัญหานี้มากกว่าปกติ การอาเจียนมาก ๆ ก็จะทำให้น้ำย่อยย้อนออกมาโดนหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบในอก จุก แน่นในอก อาการเหมือนกรดไหลย้อน สาเหตุก็คล้าย ๆ กัน แต่กรดไหลย้อน มีอาการแสบแน่นในอก ที่ไม่ได้เกิดจากการอาเจียนแพ้ท้อง แต่เกิดเพราะหูรูดหย่อน เมื่อมดลูกโตขึ้น ดันใต้กระเพาะขึ้นมาเรื่อย ๆ น้ำย่อย ก็ย่อมล้นทะลักขึ้นมาในหลอดอาหารได้มากขึ้น ยิ่งท้องโตขึ้นก็ยิ่งเบียดใต้กระเพาะมากขึ้น อาการกรดไหลย้อน ก็จะยิ่งเป็นมากขึ้นเมื่อท้องแก่มากขึ้น หลังทานอาหารแล้วควรเดินเล่น นั่งทำกิจกรรม อย่าล้มตัวลงนอน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สามารถทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารได้ และถ้าอาการไม่ดีควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ,  mayoclinic.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการแม่ท้องใกล้คลอด ตรงตามตำราเป๊ะๆ แม่ท้องไตรมาสสุดท้าย แชร์ประสบการณ์สิ่งที่ต้องเจอ

แม่ท้อง นอนไม่หลับ ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไร

แพ้ท้อง ทำอย่างไรดี แม่อาเจียนจนเหนื่อย กินอะไรก็ไม่ได้ มีวิธีแก้แพ้ท้องไหม?

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • 10 อาการแย่ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว