ปัสสาวะมีกลิ่น ฉี่เหม็นคาว ตอนตั้งครรภ์ ปกติหรือเปล่าแบบนี้ ไม่ดีแน่หาก ปัสสาวะมีกลิ่น ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือมีกลิ่นรุนแรงขึ้น เพราะนั่นอาจบ่งบอกถึงปัญหาได้
ปัสสาวะมีกลิ่นตอนตั้งครรภ์ ฉี่เหม็นคาว กับ ตอนปกติ ต่างกันอย่างไร ?
ปัสสาวะเกิดจากการที่ไตกรองน้ำ และสารอื่น ๆ จากเลือด กลั่นออกมาเป็นน้ำ เพื่อให้ร่างกายได้ขจัดของเสีย และสารพิษต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายอีกด้วย
ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจจะมีปัสสาวะเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องไปขับถ่ายบ่อยขึ้นในแต่ละวัน นั่นคือเรื่องปกติ ปัสสาวะของแม่ท้อง อาจมีกลิ่นที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การเพิ่มขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ ที่มากผิดปกติอาจ ส่งผลต่อปัญหาร่างกายได้
กลิ่นปัสสาวะบอกโรค กลิ่นของปัสสาวะตอนตั้งครรภ์
- สาเหตุอาจเกิดจากการขาดน้ำ หรือ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาการขาดน้ำเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และมีกลิ่นแรง
- รับประทานอาหารที่มีกลิ่น ปัสสาวะหลังจากการรับประทานกระเทียม หรือผักใบเขียวอย่าง หน่อไม้ฝรั่ง จะมาพร้อมกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่อไม้ฝรั่ง เป็นหนึ่งในอาหารที่จะทำให้ปัสสาวะของแม่ ๆ มีกลิ่นฉุน รวมทั้งพืชผักอย่าง กะหล่ำปลี หอมใหญ่ กระเทียม ผงกะหรี่ หรือ แอลกอฮอล์ ก็เช่นกัน
- โรคอื่น ๆ เช่น ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เบาหวาน โรคตับ ซึ่งโรคเหล่านี้ จะมีอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย
ปัสสาวะเล็ดตอนตั้งครรภ์
ปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 30 – 50 จะเกิดปัสสาวะเล็ดได้เมื่อไอ จาม หัวเราะ หรือเกิดความเครียด ซึ่งอาการปัสสาวะเล็ด อาจเกิดขึ้นในไตรมาสแรกเลยก็ได้ การปัสสาวะเล็ด ก็จะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
การติดเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด อาจจะทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นที่แตกต่างออกไป เช่น กลิ่นเหม็นคาว ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าติดเชื้อหรือไม่ ควรรีบทำการรักษานะคะ เนื่องจากอาจจะมีความเสี่ยงทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
ความเข้มข้นของปัสสาวะ
แน่นอนว่าหากคุณแม่เป็นคนที่ดื่มน้ำน้อย จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้นและมีกลิ่นแรง แก้ได้ด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น ทั้งดีต่อลูกน้อยในครรภ์ และดีต่อร่างกายของคุณแม่ด้วยเช่นกัน
ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
จำนวนคุณแม่ที่เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคนี้ก็จะทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเปลี่ยนไปได้เช่นกัน และนอกจากกลิ่นที่เปลี่ยนไปแล้ว อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น รู้สึกเจ็บเมื่อปัสสาวะ มีไข้ ปวดหลัง หรือไม่มีอาการใด ๆ เลย เพียงแต่มีแบคทีเรียปะปนในปัสสาวะเท่านั้น
ติดเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด
การติดเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด อาจจะทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นที่แตกต่างออกไป เช่น กลิ่นเหม็นคาว ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าติดเชื้อหรือไม่ ควรรีบทำการรักษานะคะ เนื่องจากอาจจะมีความเสี่ยงทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
สำคัญที่สุดคือ หากปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกตินั้น สิ่งที่ควรรีบทำคือการพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และการรักษาต่อไป
ทำไมแม่ท้องจึงปัสสาวะบ่อย ?
สาเหตุที่แม่ท้องปวดปัสสาวะบ่อย เกิดขึ้นจากตัวการสำคัญอย่างการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมดลูก ที่เดิมมีขนาดเพียงแค่กำปั้น ได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับกับขนาดตัวของลูกน้อย ที่เติบโตขึ้นทุก ๆ วัน เบียดเสียดกระเพาะปัสสาวะ กระตุ้นให้รู้สึกปวดฉี่บ่อย
เมื่อเข้าไตรมาสที่ 2 อาการปัสสาวะถี่ ก็อาจจะลดลงชั่วคราว เพราะมดลูกเคลื่อนตัวสูงขึ้น และออกห่างจากกระเพาะปัสสาวะ หากแต่ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ลูกน้อยก็จะเคลื่อนตัวต่ำลงมา อยู่บริเวณเชิงกราน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด จึงทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะอีกครั้ง แม่ท้องก็จะเดินเข้าห้องน้ำเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว
ภาวะปัสสาวะเล็ด เกิดขึ้นตอนหัวเราะ ไอ จาม หรือแม้แต่ตอนออกกำลังกาย การใส่แผ่นอนามัยจะช่วยให้รู้สึกคลายกังวลได้มากขึ้น การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการขมิบ (Kegal Exercise) ก็ช่วยได้
ปัสสาวะบ่อยเกินไป ทำอย่างไรดี ?
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับการปัสสาวะบ่อย ตลอดทั้งวัน แต่อาจจะลดการปวดปัสสาวะในตอนกลางคืนได้ ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ 6 – 8 แก้ว ก่อนเวลา 4 โมงเย็น และหลีกเลี่ยงคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โคล่า เนื่องจากคาเฟอีนจะยิ่งทำให้แม่ท้องปวดปัสสาวะบ่อย
อย่างไรก็ตาม การกลั้นปัสสาวะ ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะติดเชื้อตามมาได้ หากรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำ ก็ไม่ควรจะฝืน และระมัดระวังอุบัติเหตุในการลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน
จัดการกับปัญหา แม่ท้องปัสสาวะเล็ดบ่อย
ยิ่งใกล้คลอด คุณแม่จะยิ่งประสบกับภาวะปัสสาวะเล็ด เกิดขึ้นตอนหัวเราะ ไอ จาม หรือแม้แต่ตอนออกกำลังกาย การใส่แผ่นอนามัยจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกคลายกังวลได้มากขึ้น อาการปัสสาวะเล็ด สามารถบรรเทาได้ด้วยการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการขมิบ (Kegal Exercise)
Kegal Exercise สามารถทำได้โดยการขมิบกล้ามเนื้อประมาณ 10 วินาที เสมือนกับว่ากำลังกลั้นปัสสาวะ แล้วคลายออก ทำซ้ำประมาณ 10 – 20 ครั้ง อย่างน้อย 3 รอบต่อวัน
กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ อันตรายต่อทารกในครรภ์
แม้ว่าการปวดปัสสาวะตลอดทั้งวันจะเป็นเรื่องที่น่ารำคาญใจ แต่คุณแม่ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ แบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E. coli) ที่มักจะอาศัยอยู่ในลำไส้ จะเติบโตได้ดีในปัสสาวะ
ยิ่งไปกว่านั้น หากการติดเชื้อเกิดขึ้นจากแบคทีเรียที่เรียกว่า Group B strep (GBS) แล้ว จะทวีความอันตราย และรุนแรงมากขึ้น กับทารกในครรภ์ และต้องทำการรักษาอย่างเร่งด้วย เพื่อความปลอดภัยของทารก
อาการโดยทั่วไปของกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ มีดังนี้
- ปัสสาวะบ่อย และมีอาการเจ็บ แสบ ขณะปล่อยปัสสาวะ
- มีเลือดปะปนออกมาด้วย
- มีอาการปวดท้องน้อย
หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด เนื่องจากการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ จะส่งผลต่อสุขภาพของแม่ และทารกในครรภ์ เช่น ไตติดเชื้อ คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นต้น
ปัสสาวะมีกลิ่นหวานมาก วิงเวียน อาเจียน ท้องอืด ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน โรคตับ หรือภาวะขาดน้ำรุนแรงได้ รวมทั้งหากมีความวิตกกังวล หรือไม่สบายใจ ก็ไม่ควรรอช้า รีบปรึกษาแพทย์ทันที
สร้างนิสัยการขับถ่ายปัสสาวะที่ดี
เหล่านี้คือวิธีการสร้างนิสัยในการปัสสาวะ ที่จะทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี
- ควรปัสสาวะวันละ 5 – 7 ครั้งต่อวัน หากไม่ได้รู้สึกปวดบ่อย แสดงว่าดื่มน้ำไม่มากพอ
- อย่าพยายามเบ่งปัสสาวะ เพราะอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ทำให้ปัสสาวะเล็ด
- ควรนั่งลงกับชักโครก มากกว่าการนั่งยอง ๆ หรือลอย ๆ ก้นไม่ติดชักโครก
- ค่อย ๆ ปล่อยปัสสาวะ อย่าเบ่งแรงเกินไป
การปัสสาวะที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาหารที่รับประทาน ยา หรือวิตามินที่บริโภค หากคุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกถึงกลิ่น หรืออาการปัสสาวะเล็ด หรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะมีกลิ่นหวานมาก วิงเวียน อาเจียน ท้องอืด ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน โรคตับ หรือภาวะขาดน้ำรุนแรงได้ รวมทั้งหากมีความวิตกกังวล หรือไม่สบายใจ ก็ไม่ควรรอช้า รีบปรึกษาแพทย์ทันที
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รู้สึกปวดฉี่บ่อย ๆ ตอนท้อง ผิดปกติไหม เกิดจากอะไร คนท้องควรทำยังไงดี?
อาการท้องไตรมาสแรก ที่ต้องพบในช่วงตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 10
คุณแม่ต้องรู้!! 5 วิธี ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ในโรงเรียนอนุบาล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!