ทำไมลูกถึงชอบกัด ลูกชอบกัดเป็นเรื่องปกติไหม โดยปกติแล้วทารกที่มีอายุน้อยกว่า 3 ขวบ มักจะชอบกัดคนอื่นอย่างน้อย 1 ครั้ง และจะหยุดกัดไปเองเมื่อลูกอายุ 3 ปี ขึ้นไป พฤติกรรมการกัดของเด็กบางครั้งก็เกิดขึ้นจากความตั้งใจ และบางครั้งก็เกิดจากความไม่ตั้งใจ แล้วแบบนี้พ่อแม่ต้องทำยังไง เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
ทำไมลูกถึงชอบกัด
เหตุผลที่เด็กชอบกัดคนอื่น หรือสิ่งของอื่นๆ นั้นมีสาเหตุดังต่อไปนี้
- ทารกวัย 5-7 เดือน : เด็กวัยนี้จะกัดก็ต่อเมื่อพวกเขารู้สึกไม่สบาย หรือรู้สึกถึงความผิดปกติในช่องปาก เช่น การงอกของฟัน ทำให้คุณแม่มักจะถูกลูกน้อยกัดเต้านมเวลาที่ลูกน้อยดูดนมอยู่บ่อยครั้งค่ะ
- ทารกวัย 8-14 เดือน : เด็กวัยนี้จะกัดก็ต่อเมื่อพวกเขารู้สึกตื่นเต้น และมักจะชอบกัดคนรอบข้างด้วยค่ะ
- เด็กวัย 15-36 เดือน : เด็กวัยนี้เวลากัดเป็นเพราะตอนนั้นเขารู้สึกหงุดหงิด หรือต้องการอำนาจ หรือต้องการอยู่เหนือคนอื่น ทำให้พวกเขามักจะชอบกัดเด็กคนอื่นเป็นประจำ บางครั้งก็เป็นพ่อแม่เองที่โดนลูกกัด
- เด็กวัย 3 ขวบขึ้นไป : เด็กวัยนี้จะกัดก็ต่อเมื่อรู้สึกถึงความหวาดกลัว เช่น เมื่อเด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังพ่ายแพ้ต่อเพื่อน หรือรู้สึกว่ามีคนกำลังจะทำร้ายพวกเขา หรืออาจเป็นสัญญาณว่าเด็กกำลังมีปัญหา ทำให้เขาแสดงพฤติกรรมออกมาแบบนี้
บทความที่น่าสนใจ : ลูกฟันขึ้นตอนไหน ทารกฟันขึ้น ทำยังไง วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก
ลูกชอบกัดสัญญาณว่ากำลังมีปัญหา จริงหรือไม่
เมื่อไหร่ที่พ่อแม่เห็นว่าลูกชอบกัดคนอื่นโดยเฉพาะเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ให้พ่อแม่เริ่มต้นสังเกตพฤติกรรมของลูกไว้ก่อนว่าลูกกัดเพื่อนบ่อยแค่ไหน เพราะหากลูกน้อยมีอายุได้ 3 ปี ขึ้นไปแล้วแต่ก็ยังชอบกัดคนอื่นหลายต่อหลายครั้ง นั่นหมายถึงว่า ลูกของคุณเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าวแล้ว ซึ่งอาจมาจากปัญหาของสุขภาพภายนอกหรือมาจากปัญหาทางอารมณ์ หากลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : เลี้ยงลูกแบบนี้ไง ลูกถึงเป็น โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เด็กเกเร ไม่ใช่เรื่องเล็ก
ทำอย่างไรให้ลูกเลิกกัด
การกัดก็เป็นเรื่องปกติของเด็กในช่วงวัยหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่อาจไม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกกัดได้ แต่คุณแม่สามารถลดการกัดของลูกลงได้ โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
- ถ้าลูกกัดเพราะฟันกำลังขึ้น แนะนำให้พ่อแม่ใช้ผ้าสะอาดที่มีความเย็นให้ลูกได้กัดเพื่อบรรเทาอาการคันฟันขึ้นค่ะ
- สำหรับเด็กอายุ 8-14 เดือน ถ้าลูกน้อยของคุณกัดคนอื่น พ่อแม่ต้องพูดห้ามปรามเสียงแข็งกับลูก บอกกับลูกว่า “ห้ามกัดนะ”
- สำหรับเด็กอายุ 16-36 เดือน
- ถ้าลูกเริ่มรู้เรื่องแล้ว ลองสอนให้ลูกบอกความรู้สึกต่างๆ สอนให้ลูกรู้จักกับความรู้สึกโกรธ ย้ำเวลาลูกไม่พอใจว่านี่คือความรู้สึก พอลูกเริ่มเรียนรู้ ลูกจะพูดเมื่อรู้สึกไม่พอใจ แทนการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พอใจออกมา
- ในวันที่ลูกจะไปเล่นกับเพื่อนๆ คุณแม่ต้องเตรียมของว่างและให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะการนอนไม่พอและความหิว จะส่งผลให้ลูกเกิดความรู้สึกหงุดหงิด จนอาจเผลอไปกัดเพื่อนๆ เอาได้
- ใส่ใจลูกอยู่เสมอ ให้ลูกรับรู้ว่ากำลังได้รับความสนใจ ลูกก็จะไม่ใช้การกัดเพื่อเรียกร้องความสนใจ ซึ่งการแสดงออกถึงความใส่ใจให้ลูกรับรู้อยู่ตลอด จะช่วยให้ลูกรับมือกับความเครียดหรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ได้
นอกจากการที่เราจะทำให้ลูกเลิกกัด หรือกัดน้อยลงนั้น เราอาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวของเขา คำถามที่ต้องพิจารณาในขณะที่คุณเฝ้าดูลูกของคุณเล่นคุณสามารถเริ่มคาดการณ์ได้ว่าอาจเกิดการกัด คำถามต่อไปนี้สามารถแนะนำคุณในการระบุประเภทของสถานการณ์ที่มักจะนำไปสู่การกัด
- เกิดอะไรขึ้นก่อนกัด?
- ลูกของคุณเล่นกับใคร
- ใครกันนะ? เป็นเด็กคนเดียวกันหรือเด็กที่แตกต่างกันทุกครั้งหรือไม่?
- ลูกของคุณกำลังทำอะไร
- ลูกของคุณอยู่ที่ไหน
- คนที่ดูแลลูกคุณ
ฝึกป้องกันเพื่อให้ลูกของคุณมีโอกาสกัดน้อยลงตั้งแต่แรก หากลูกน้อยของคุณกำลังแปรงฟันให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแหวนยางหรือผ้าเช็ดมืออยู่ในมือเสมอ เพื่อเขาหรือเธอจะมีโอกาสน้อยที่จะจมฟันในแขนของใครบางคน หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ลูกของคุณจะหงุดหงิดพอที่จะกัด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกความต้องการของลูกของคุณ รวมถึงการกินและเวลางีบหลับ ได้รับการดูแลก่อนที่คุณจะออกไปข้างนอก นำขนมไปช่วยบรรเทาลูกของคุณ ถ้าเขาหรือเธอบ้า ๆ บอ ๆ จากการหิว
พฤติกรรมที่พ่อแม่ห้ามทำเมื่อลูกกัด
- อย่างแรกที่ไม่ควรทำคือ สะท้อนกลับพฤติกรรมที่ลูกแสดงออกมา ไม่ใช่ว่าลูกกัดแล้วลงโทษลูกแรงๆ หรือตอบโต้กลับในแบบเดียวกัน เพราะวิธีนั้นจะทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมรุนแรง และอาจส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในอนาคต
- ถ้าลูกเกิดกัดใครสักคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต้องสอนให้ลูกรู้ว่าการกัดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และการกัดนั้นทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บ หากลูกโตพอจะเข้าใจ ก็เริ่มสอนให้ลูกรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำ โดยบอกให้ลูกหยุดกัดแล้วให้ลูกหายใจลึกๆ จนกว่าลูกจะรู้สึกสงบ เพื่อลดความเครียด
- ถ้าลูกกัดเพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องลดความสนใจในตัวลูก แล้วแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจคนที่ถูกกัดแทน ขณะเดียวกัน เวลาที่ลูกเล่นกับคนอื่นๆ อย่างดี ให้ชื่นชม และแสดงออกถึงความสนใจในตัวลูก ลูกก็จะเรียนรู้ได้เองว่าควรทำสิ่งไหน
การเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ต้องใช้เวลา
หากลูกของคุณพูดด้วยวาจาและสามารถพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาให้กลับไปและพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เขาสามารถใช้ในครั้งต่อไปแทนที่จะกัด
ช่วยให้เด็ก ๆ เดินหน้าต่อไป ให้คุณถามพวกเขาว่าต้องการเล่นอะไร อาจช่วยเสนอกิจกรรม เช่น play-dough, การวาดภาพ, หรือเล่นในทรายหรือน้ำที่ช่วยให้พวกเขาปล่อยพลังงานในรูปแบบที่สร้างสรรค์และสามารถช่วยให้พวกเขาผ่อนคลาย เด็กวัยหัดเดินที่กัดและเด็กที่ได้รับบาดเจ็บไม่ควรเล่นร่วมกันเว้นแต่ว่าพวกเขาต้องการ
จำไว้ว่าการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ต้องใช้เวลา เด็กวัยหัดเดินของคุณอาจกัดอีกครั้งดังนั้นดูการเล่นอย่างใกล้ชิดต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยในการใช้คำเดียวกัน (ไม่กัดการกัดเจ็บ) อย่างสม่ำเสมอที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเน้นข้อความ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังเป็นกังวลอยู่ว่าลูกของคุณชอบกัด คลายกังวลกันไปได้บ้างหรือเปล่าเอ่ย? ทั้งนี้หากคุณลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาแล้ว และยังไม่ได้ผลก็คงต้องให้เวลาเป็นตัวช่วยนะคะ เราเชื่อว่าพวกเขาสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อยู่แล้ว เพราะว่าพวกเขานั้นอยู่ในช่วงของวัยพัฒนาตนเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าพฤติกรรมของลูกน้อยของคุณส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือคุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจก็สามารถพาพวกเขาไปพบแพทย์ เพื่อปรึกษาและหาทางแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องนี้นะคะ
บทความที่น่าสนใจ
หยอกล้อเด็ก แหย่เด็ก พฤติกรรมสนุกของผู้ใหญ่ แต่ทำร้ายเด็กไม่รู้ตัว!!
ลูกมีกี่ประเภท ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกดี ๆ มาเกิดควรทำอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสไว้ลูกมีกี่ประเภท
ลูกอยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่ายทำอย่างไรดี วิธีทำให้ลูกสงบนิ่ง ไม่ดื้อไม่ซนต้องทำยังไง
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับลูฏชอบกัด ได้ที่นี่!
ลูกชอบกัด สาเหตุมาจากอะไรคะ แล้วมีวิธีแก้ยังไงบ้างคะ แม่ๆแชร์หน่อยค่ะ
ที่มา: WebMD , kidshealth, healthlinkbc
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!