X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตาราง วัคซีนเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยรุ่น ที่จำเป็นสำหรับลูก

บทความ 5 นาที
ตาราง วัคซีนเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยรุ่น ที่จำเป็นสำหรับลูก

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงสงสัยว่าลูกทารกต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคอะไรบ้าง เรามีตารางวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดจนลูกโตเป็นวัยรุ่นมาให้ดู

การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นอกจากจะทำได้โดยการดูแลสุขภาพอาหารการกิน และสุขอนามัยต่าง ๆ แล้ว การฉีดวัคซีน ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็น ที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพาลูกไปฉีดเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ตาราง วัคซีนเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยรุ่น วัคซีนเด็กแรกเกิด มีมากมายหลากหลายชนิด จนพ่อแม่บางคนอาจจะเกิดความสับสน เรารวบรวมข้อมูลมาไว้ให้แล้วค่ะ

 

ตาราง วัคซีนเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยรุ่น วัคซีนเด็กแรกเกิด

 

 

แรกเกิด >>> วัคซีน บีซีจี ป้องกันวัณโรค, วัคซีนป้องกันตับอักเสบบีครั้งที่ 1

1 เดือน >>> วัคซีนป้องกันตับอักเสบบีครั้งที่ 2

2 เดือน >>> วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบครั้งที่ 1

4 เดือน >>> วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบครั้งที่ 2

6 เดือน >>>วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบครั้งที่ 3 ตับอักเสบบีครั้งที่ 3

9 เดือน >>>  วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม

1-3 ปี >>> วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ 1 เข็ม เข็มที่ 2 หลัง 3-12 เดือน

Advertisement

18 เดือน >>> วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอ กระตุ้นครั้งที่ 1

4-5 ปี >>> วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอ กระตุ้นครั้งที่ 2

5 ปี >>> วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอ ครั้งที่ 2 (อายุมากกว่า 4 ปี)

5-6 ปี >>> วัคซีนป้องกันไทฟอยด์

2-16 ปี >>> วัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ เข็มที่ 1-2 ห่างกัน 6 เดือน – 1 ปี

12-15 ปี >>> วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยักตารางวัคซีนตั้งแต่แรกเกิด

ทำไมการฉีด วัคซีน ถึงสำคัญ

บทความ : ลูกลืมฉีดวัคซีนทำไงดี? จะต้องทำยังไงดี เลื่อนนัดได้ไหม จะมีผลอะไรรึเปล่า?

ก่อนอื่นเลย คุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การฉีดวัคซีนนั้นสำคัญอย่างไร

  • ช่วยให้ลูกปลอดภัย ป้องกันโรค ที่บางชนิด อาจจะทำร้ายลูกถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าไม่มีวัคซีนป้องกัน
  • ช่วยประหยัดเงิน การฉีดวัคซีน จะช่วยประหยัดเงิน ผู้ปกครองได้ เพราะเมื่อมีโรคอะไร ที่รุนแรง วัคซีน จะรับหน้าไว้ก่อน ไม่ทำให้กลายเป็น โรคร้ายแรง ที่ต้องไปเสียเงิน และ เวลารักษาอีก
  • ช่วยคนรุ่นต่อไป การฉีดวัคซีน จะทำให้ภูมิคุ้มกัน ในตัวลูกแข็งแรงขึ้น เขายังสามารถส่งภูมิคุ้มกันนั้น ไปให้รุ่นต่อไปได้ด้วย เมื่อภูมิคุ้มกันมากขึ้น โณคบางโรคอาจจะ ตายและหายไปเอง ไม่มีใครเป็นอีกก็ได้

วัคซีนเด็ก

จะทำอย่างไร ถ้าลืมพาลูกไปฉีดยา?

วัคซีนนั้น โดยปกติทั่วไปแล้ว วัคซีนแต่ละชนิด จะมีสรรพคุณ ต่างกันออกไป และ ต้องให้คนละช่วงเวลา บางชนิด ต้องฉีด ทันทีหลังจากคลอด แต่บางชนิด ก็ต้องใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ กว่าเด็กจะฉีดได้

วัคซีนบางชิดอาจจะไม่ได้ ฉีดแค่ครั้งเดียว แต่อาจจะต้องฉีด 2-3 ครั้ง และ แต่ละครั้ง อาจจะมีระยะห่าง รอฉีดต่างกัน แล้วถ้าแม่ดันลืมจะทำยังไงได้ล่ะเนี่ย

อย่างแรกก่อนเลยก็คือ คุณแม่ ไม่ต้องกังวลไป ถ้านึกได้เมื่อไหร่ ให้รีบไปหาคุณหมอ ทันที และ แจ้งไปว่า คุณลืม ต่อมา หมอก็อาจจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมบ้าง ลูกอาจจะต้องได้รับการตรวจเลือด เพื่อดูปฏิกริยา ว่าร่างกาย ตอบสนองกับตัว วัคซีนอย่างไรบ้าง ถ้าเกิด เกินเวลาฉีดไป 2 เดือน

เราแนะนำว่า คุณไม่ควรรอให้เกินไปมากกว่า 2 เดือน ถ้าไม่อยากให้ลูก ต้องตรวจเลือด หรือ มีกระบวนการอะไร ให้ยุ่งยาก มากขึ้น และ เมื่อฉีดแล้ว ก็ควร ฉีดให้ครบโดส ฉีดตามจำนวนครั้ง ที่หมอกำหนด ไม่งั้น มันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย

พูดง่ายๆก็คือ คุณสามารถฉีดวัคซีน ต่อได้เลย ไม่ต้องเริ่มใหม่

พาลูกไปรับวัคซีนที่คลินิก หรือโรงพยาบาล ควรเตรียมตัวอย่างไร ?

บทความ : ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ?

  • โทรสอบถาม และนัดวันรับวัคซีนกับสถานพยาบาลล่วงหน้าเสมอ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอลล์เจล ทุกครั้ง
  • ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือเฟสชิลล์ ให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
  • เว้นระยะห่างระหว่างผู้เข้ารับบริการคนอื่น ๆ อย่างน้อย 2 เมตร
  • เลือกวิธีชำระเงินที่หลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน เช่น ชำระเงินออนไลน์ หรือจ่ายเงินผ่าน QR Code เป็นต้น
  • เลือกรับวัคซีนที่สามารถลดจำนวนครั้งในการเดินทาง ลดเวลาในการอยู่โรงพยาบาลนานๆ สำหรับเด็กเล็ก เช่น วัคซีนรวม 6 โรค ป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน โปลิโอ ฮิบ และตับอักเสบบี

วัคซีนเด็ก

source : www.fhi.no

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิ่งที่ต้องเตรียมซื้อก่อนคลอด

ทำไมทารกแรกเกิดจึงอยากให้อุ้มตลอด 24 ชั่วโมง

สหรัฐฯเริ่มทดสอบ วัคซีนต้านโควิด-19 (Covid-19) กับมนุษย์เป็นครั้งแรก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ตาราง วัคซีนเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยรุ่น ที่จำเป็นสำหรับลูก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว