hCG คืออะไร แล้วทำไมถึงเกี่ยวข้องกับคนท้อง แล้วเราจะสามารถหาค่านี้ได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ ว่าแท้จริงแล้ว hCG คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับคนท้องอย่างไรบ้าง ทำไมคนท้องถึงจะต้องทำความเข้าใจกับค่า hCG
hCG คืออะไร
ฮอร์โมน human chorionic gonadotropin ( hCG) ภาษาไทยเราเรียกกันว่า “ฮอร์โมนตั้งครรภ์” เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก ระดับของฮอร์โมนจะเริ่มตรวจพบเมื่อ 11 วันหลังจากการมีปฏิสนธิ และจะตรวจพบในปัสสาวะหลังจากปฏิสนธิ 12-14 วัน ระดับฮอร์โมนจะมีค่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วันระดับฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นค่าจะลดลงและคงที่ตลอดการตั้งครรภ์
hCG คือฮอร์โมนอะไร
ทำไมคนท้องถึงมีค่าฮอร์โมน hCG
- ร้อยละ 85 ของผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีค่าฮอร์โมนพุ่งขึ้นสูงประมาณ 2 เท่าทุก ๆ 2 – 3 วัน และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ค่าฮอร์โมน hCG ก็เพิ่มขึ้น แต่เป็นช่วงเวลาที่นานกว่าช่วงแรก ๆ คือเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า ทุก ๆ 4 -5 วันนั่นเอง
- การแปรผลค่าฮอร์ต้องระวัง ผู้ตั้งครรภ์บางท่านค่าฮอร์โมนไม่สูง แต่ทารกก็แข็งแรง ดังนั้นควรจะใช้การตรวจชนิดอื่น เช่น ultrasound ร่วมด้วยในการแปรผล
- ระดับฮอร์โมนน้อยกว่า 5mIU/ml แสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ ค่าฮอร์โมนมากกว่า 25mIU/ml แสดงว่าตั้งครรภ์
- ถ้าหากว่าระดับฮอร์โมนของคุณอยู่ช่วงระหว่าง 1,000-2,000 mIU/ml จำเป็นจะต้องทำการตรวจ ultrasound ตรวจทางช่องคลอดเพื่อเช็คดูทารก ดังนั้นหากครรภ์ยังอ่อนอยู่ จะต้องอาศัยทั้งการตรวจฮอร์โมน และ ultrasound ไปพร้อม ๆ กัน
- การตรวจฮอร์โมนเพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย ในกรณีที่มีปัญหาในการวินิจฉัยจะต้องมีการเจาะเลือดซ้ำ
ไม่ควรใช้ระดับฮอร์โมนในการคาดการณ์วันครบกำหนดคลอด
คนท้องเท่านั้นหรือเปล่าที่มี hCG
นอกจากคนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ในกรณีสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรงมะเร็งที่มดลูก หรือมะเร็งลูกอัณฑะ จะทำให้ร่ายการมีฮอร์โมน hCG ปรากฎอยู่ในปัสสาวะด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน คนที่ตั้งครรภ์อยู่นั้น ก็อาจจะวัดค่า hCG ไม่ได้ หรือระดับฮอร์โมน hCG นั้นน้อยเกินไป จนแสดงผลว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยมากเหตุการณ์นี้ มักจะเกิดกับครรภ์แรก หรือผู้ที่ตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ หรือมีการดื่มน้ำที่มากเกินกำหนด ก่อนทำการตรวจ แล้วทำให้ปัสสาวะที่ออกมานั้นเจือจางจนไม่สามารถตรวจวัดค่าได้
รู้จักการตรวจเอชซีจี (hCG) ฮอร์โมนจำเป็นสำหรับการตรวจครรภ์
เทคนิควิธีตรวจสอบการตั้งครรภ์ผ่าน ที่ตรวจครรภ์ ตรวจเลือด และ ตรวจปัสสาวะ โดยหลักจะใช้หลักการตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนนี้ จะเกิดจากตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิอย่างน้อย 6 วันขึ้นไป
ระดับปริมาณฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) บ่งบอกการตั้งครรภ์และอายุครรภ์คร่าว ๆ ได้ ฮอร์โมนนี้มีความยาวของกรดอะมิโน 237 ตัว ชุดน้ำยาในที่ใช้ในการตรวจครรภ์ จะสามารถอ่านผลได้จากการดักจับฮอร์โมนเอชซีจีเป็นหลัก ส่วนการใช้วิธีตรวจการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการตรวจผ่านทางห้องแล็ปปฏิบัติการนั้น จะใช้ชุดน้ำยาอีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถจับส่วนประกอบย่อย ของฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนคือ อัลฟ่า เอชซีจี (Alpha Subunit หรือ Alpha-hCG) และ เบต้า เอชซีจี (Beta Subunit หรือ Beta-hCG)
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร
ค่าฮอร์โมน hCG สูง-ต่ำหมายถึง
hCG คืออะไร
ค่าฮอร์โมน hCG ต่ำหมายถึง
หากตรวจฮอร์โมนแล้วพบว่าค่าต่ำซึ่งมีหลายสาเหตุแนะนำให้ตรวจซ้ำ ค่าฮอร์โมนhCG อาจจะมีสาเหตุมาจากจำวันประจำเดือนสุดท้ายคลาดเคลื่อน การแท้ง ไข่ฝ่อ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก Ectopic pregnancy
ค่าฮอร์โมน hCG สูงหมายถึง
หากค่าสูงควรจะตรวจซ้ำใน 24 – 48 ชั่วโมง ค่าที่สูงอาจจะมีสาเหตุมาจาก จำวันประจำเดือนครั้งสุดท้ายคลาดเคลื่อน ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุ หรือตั้งครรภ์แฝด Multiple pregnancy
ค่าฮอร์โมนนี้จะกลับสู่ปกติเมื่อไร
หลังคลอดหรือแท้งค่าฮอร์โมนจะกลับสู่ปกติ 4 – 6 สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์สิ้นสุด
|
อายุครรภ์ |
hCG level (U/ML |
0-1 สัปดาห์ |
0-50 |
1-2 สัปดาห์ |
40-300 |
3-4 สัปดาห์ |
500-6,000 |
1-2 เดือน |
5,000-200,000 |
2-3 เดือน |
10,000-100,000 |
ไตรมาสที่ 2 |
3,000-50,000 |
ไตรมาสที่ 3 |
1,000-50,000 |
ตารางที่แสดงระดับของฮอร์โมน hCG ในหญิงตั้งครรภ์
ระดับของค่า hCG ในเลือดของคุณแม่ จะมีค่าสูงสุดในช่วงที่ครรภ์อายุได้ประมาณ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่า hCG ก็จะเริ่มตกลงมาในช่วงไตรมาสที่ 2 และมีเริ่มคงที่หลังจากอายุครรภ์ได้ 22 สัปดาห์เป็นต้นไป ในขณะเดียวกัน ระดับของ Free Beta hCG ในกลุ่มคุณแม่ที่ทารกมีอาการของดาวน์ซินโดรม ระดับ hCG จะต่ำกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ MSAFP โดยในการตรวจกรองนี้ จะให้ค่าที่วัดนั้นถูกต้องถึง 49% แต่หากพิจารณาร่วมกันกับอายุผลที่วัดได้จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 50% เลยทีเดียว
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ hCG ได้แก่
- น้ำหนักตัวมารดา หากน้ำหนักมากจะมีระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
- เบาหวานชนิด IDDM ซึ่งจะมีผลให้ระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
- เชื้อชาติ (race) เชื้อชาติ African-Americans and Asian-Americans จะมีระดับสูงกว่าสตรีผิวขาวประมาณร้อยละ 8-9 และร้อยละ 16
- การตั้งครรภ์แฝด ค่าจะสูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวประมาณ 1.8-2.4 เท่าในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 15-19 สัปดาห์
- uE3 (Unconjugate Estriol) เราจะสามารถสังเกตค่าของ uE3 จากเลือดของคุณแม่ได้ว่า โดยปกติจะมีค่า uE3 นี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ แต่ค่า uE3 นี้จะมีต่ำกว่าปกติ ในกลุ่มของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 21
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ตั้งครรภ์กี่วันถึงจะตรวจเจอ กี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง อาการขณะตั้งครรภ์เป็นอย่างไร
ตรวจครรภ์กี่วันถึงรู้ผล
- ตรวจเลือดรู้ผล 14 วัน หลังปฏิสนธิ สำหรับการตรวจสอบการตั้งครรภ์จากเลือดนั้น เป็นวิธีการตรวจแบบ hCG ด้วยการตรวจจากฮอร์โมน Beta hCG เป็นหลัก และจะทราบผลที่แน่ชัด หลังจากมีการปฏิสนธิแล้ว 14 วัน สามารถรู้ผลการทดสอบได้ภายใน 24 ชั่วโมง
- ที่ตรวจครรภ์รู้ผล 14 วันขึ้นไปหลังปฏิสนธิ ในกรณีที่สาว ๆ ใช้ที่ตรวจครรภ์ แม้ว่าจะเห็นขึ้นขีดจางหรือขีดสีเข้ม แต่ผู้หญิงส่วนมาก ไม่ทราบว่าผ่านการปฏิสนธิมากี่วันแล้ว จะเป็นการตรวจด้วยวิธีการประมาณ จากวันแรกที่ประจำเดือนขาด
ความแม่นยำในการตรวจ
จากชุดตรวจสอบหลายยี่ห้อที่มีอยู่ มีการยืนยันถึงความแม่นยำที่สูงเกือบ 100% ซึ่งถือว่าเป็นความแม่นยำที่เชื่อถือได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัย ที่อาจจะส่งผลให้การตรวจนั้นมีความคลาดเคลื่อน ดังนี้
hCG คืออะไร
1. ช่วงเวลาในการตรวจเร็วเกินไป
เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอชซีจีในปัสสาวะยังสูงไม่มากพอ จึงไม่สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ และผลการตรวจออกมาเป็นลบ คือ ไม่ตั้งครรภ์ ควรรอเวลาอีกสักพักแล้วทำการตรวจใหม่อีกครั้ง
2. ค่าความไวในการตรวจของชุดทดสอบการตั้งครรภ์
ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แต่ละยี่ห้อมีการตรวจหาค่าความไวต่อฮอร์โมนเอชซีจีที่ต่างกัน ยิ่งค่าความไวในการตรวจจับฮอร์โมนมีน้อยจะทำให้ผลอาจเป็นลบได้ หรือไม่ตั้งครรภ์ได้
3. ความเข้มข้นของปัสสาวะ
เมื่อน้ำปัสสาวะมีความเจือจาง เนื่องจากการดื่มน้ำมากเกินไปก่อนการตรวจ อาจส่งผลต่อความเข้มข้นของฮอร์โมนในปัสสาวะได้เช่นกัน จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลง
4. การรับประทานยาบางประเภท
ในยาบางตัวอาจมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอชซีจี เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) หรือยาแก้แพ้ (Antihistamines) ซึ่งส่งผลต่อการตรวจได้เช่นกัน
ค่าตรวจเอชซีจี (hCG) เท่าไหร่
ปัจจุบันสามารถเข้ารับการตรวจครรภ์แบบเอชซีจี (hCG) ได้แล้ว ซึ่งราคาหรือค่าบริการก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่โรงพยาบาลนั้น ๆ หากสนใจอยากเข้าตรวจ สามารถติดต่อโรงพยาบาลที่สนใจ เพื่อสอบถามรายละเอียดได้
ฮอร์โมนตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ?
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ท้องจะผลิตฮอร์โมนมากมาย ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของครรภ์ และเป็นตัวการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมาก อาการหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก จนถึงหลังคลอด ส่วนมากแล้ว เกิดขึ้นจากฮอร์โมนแทบทั้งนั้น
มีฮอร์โมนอะไรบ้าง ที่ร่างกายสร้างขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ?
- ฮอร์โมนเอชซีจี (Human chorionic gonadotropin hormone หรือ hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่คุณแม่รู้จักกันดี เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ และเป็นฮอร์โมนตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นมาในร่างกายของคนท้อง ฮอร์โมน hCG ถูกผลิตขึ้นในรก และจะพบได้ในเลือด และปัสสาวะของแม่ท้อง ฮอร์โมนชนิดนี้ มีส่วนทำให้แม่ท้องมีอาการวิงเวียน และแพ้ท้องมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการไตรมาสแรก
- ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human placental lactogen หรือ hPL) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยรก ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาการไปหล่อเลี้ยงตัวอ่อน และยังกระตุ้นต่อมน้ำนม สำหรับการให้นมลูกด้วย
-
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งผลิตขึ้นในรังไข่ และรก เพื่อการเจริญเติบโตของครรภ์
-
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยรังไข่ และรกในขณะตั้งครรภ์ มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับกับการฝังตัวของตัวอ่อน
ที่มา : (siamhealth),(trueplookpanya), (stanfordchildrens)
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง
ตั้งครรภ์อ่อนๆ ท้องอืด เรอ อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ วิธีบรรเทาอาการท้องอืด
ก่อนตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง เรื่องจำเป็นที่คนท้องต้องรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!