ถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ยาก แต่รู้ไหมคะว่าตอนตั้งครรภ์บางครั้งเราสามารถมีประจำเดือนได้ เพราะมันเป็นเรื่องของจังหวะและเวลา วันนี้ theAsianparent พามาอ่านบทความเกี่ยวกับ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 33 ตอนท้องมีประจำเดือนไหม มาดูกัน!
ตอนท้องมีประจำเดือนไหม
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 33 ตอนท้องมีประจำเดือนไหม มาดูกัน!
ในการตั้งครรภ์โดยทั่วไปจะไม่มีประจำเดือนมาจากมีกลไกยังยั้งการตกไข่ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่สร้างมาจากรกเมื่อไม่มีการตกไข่จึงทำให้ไม่มีประจำเดือนมา การมีเลือดออกทางช่องคลอดในคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องผิดปกติ และมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรตามมาได้ การมีเลือดออกดังกล่าวอาจมีลักษณะมาเป็นระลอกคล้ายเลือดประจำเดือน ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นเข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนได้
แต่ในบางครั้ง ท้องแล้วก็สามารถมีประจำเดือน แม่ท้องสามารถมีประจำเดือนได้ ในบางครั้ง เพราะการตกไข่อาจจะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิงสิ้นสุดลง หรือ ภายในสองสามวันหลังจากมี ประจำเดือน ผู้หญิงอาจจะตกไข่ช่วงนั้น ในรอบวงจรประจำเดือน ซึ่งทำให้ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า ช่วงเวลาที่มีภาวะการเจริญพันธุ์มากที่สุด การมีประจำเดือนนั้นสามารถมีได้แต่ค่อนข้างต่ำ
คนท้องเป็นประจำเดือน อาจจะเพราะพวกเธอมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด โดยหากแม่ท้องมีความอุสมบูรณ์มากที่สุดในช่วงสามวันก่อนการตกไข่ในช่วงการตกไข่และสองถึงสามวันหลังจากนั้น โดยเมื่อคุณตกไข่ระบบการทำงานของแม่ท้องจะทำงานได้แตกต่างมากขึ้น โดยจะอยู่ในระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง
โดยช่วงท้องคุณอาจจะเป็นประจำเดือนได้ ในช่วงที่เริ่มต้นและช่วงกลางของการเป็นประจำเดือนปกติ อย่างไรก็ตามการเกิดประจำเดือนช่วงตั้งครรภ์นั้นเพราะความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้ากว่า
สาเหตุที่ท้องแต่มีประจำเดือน เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่เป็นไปได้ ได้แก่
คนท้องเป็นเมนส์ได้ไหม
- ภาวะแท้งบุตรคุกคาม เป็นการตั้งครรภ์ในมดลูกที่มีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเกิดจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ไม่เพิ่มความผิดปกติใดใดแก่ทารกในครรภ์ พบได้ในรายที่มีประวัติแท้งบุตรมาก่อน ในรายที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ให้การรักษาโดยยาฮอร์โมน เพื่อลดโอกาสแท้งบุตร
- ภาวะเลือดออกจากการฝังตัวของทารก เป็นเลือดออกจากโพรงมดลูกจากตำแหน่งที่ตัวอ่อนมีการฝังตัวในผนังมดลูก ลักษณะเลือดออกปริมาณน้อย เพียงวันเดียว และไม่มีอาการปวดท้องใดๆ มักพบในช่วงวันที่ 19-22 นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด ภาวะนี้ไม่มีอันตรายใดใด เพียงให้ความมั่นใจแก่สตรีตั้งครรภ์ก็พอ
- ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก มักมีอาการปวดท้องน้อย ร่วมกับเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มักเกิดการตั้งครรภ์บริเวณท่อนำไข่หรือปีกมดลูก อาจมีประวัติเคยเป็นปีกมดลูกอักเสบมาก่อนหรือมีการผ่าตัดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานมาก่อน หรือเคยเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน มักต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดปีกมดลูก
- ภาวะตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก มักมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับชื้นเนื้อลักษณะคล้ายเม็ดสาคูปนออกมาร่วมด้วย เกิดจากการที่อสุจิสองตัวเข้าผสมกับไข่ 1 ใบ มักลงเอยด้วยการดูด/ขูดมดลูก
- ภาวะรกเกาะต่ำ จากรกมาเกาะบริเวณด้านล่างของโพรงมดลูก ปิดปากมดลูกไว้ อาจพบว่ามีเลือดออกเป็นระลอกได้ โดยมีลักษณะเลือดสด สัมพันธ์กับอาการเจ็บครรภ์ หรือการทำกิจกรรม ผู้ป่วยมักมีประวัติขูดมดลูกมาก่อน เคยผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน ประวัติสูบบุหรี่ ภาวะนี้อาจมีอันตรายได้หากมีการเสียเลือดมาก จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
- รอยโรคเฉพาะที่บริเวณช่องคลอดหรือปากมดลูก เช่น ปากมดลูกอักเสบ รอยโรคบริเวณปากมดลูก ซึ่งอาจมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์จากมีการกระทบกระเทือนกับรอยโรคโดยตรงขณะมีเพศสัมพันธ์ สามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจภายในและการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจเพิ่มเติม
วิธีป้องกันตัวเองเวลาท้อง!
คนท้องเป็นเมนส์ได้ไหม
ห้ามสูบบุหรี่ คนท้องห้ามสูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดอย่างเด็ดขาด เพราะการสูบบุหรี่และใช้สารเสพติด จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นกัน เพราะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกในท้องเช่นกัน ทั้งนี้ สำหรับผลกระทบต่อลูกในท้อง หากแม่ท้องสูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด หรือแม่ท้องดื่มแอลกอฮอล์ จะส่งผลให้ทารกในครรภ์ ดังนี้
- ทารกในครรภ์มีพัฒนาการช้า
- ลูกในท้องมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง เสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ
- เมื่อคลอดลูกแล้ว ทารกมีโอกาสเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้ทารกพิการแต่กําเนิด รักษาไม่หาย
ห้ามเครียด ความเครียด มีผลต่อร่างกายคนทุกเพศทุกวัย แต่ความเครียดนั้นจะยิ่งส่งผลร้ายแรงต่อแม่ท้อง เพราะการเครียดขณะตั้งครรภ์ จะทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งได้อีกด้วย สาเหตุที่ห้ามแม่ท้องเครียด ก็เพราะ ร่างกายของแม่จะหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ออกมามาก จนทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกเกิดการหดตัว ส่งผลให้ปริมาณอ็อกซิเจนที่ส่งไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง จนไม่เพียงพอกับความต้องการ
ห้ามลดน้ำหนัก ด้วยรูปร่างที่เปลี่ยนไป ทำให้แม่ท้องบางคนกังวล อยากลดน้ำหนักขึ้นมา แต่อย่าลืมว่า นี่ท้องอยู่นะ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์และมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา อย่าลดน้ำหนัก หรืออดอาหารขณะที่ท้อง เพราะจะทำให้ลูกในครรภ์ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ และเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
“น้ำอัดลม” น้ำหวานสุดอร่อย กินได้แค่ไหนไม่อันตรายต่อลูกในท้อง
รีวิวชัด ๆ กางเกงผ้า VS. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป MamyPoko Pants Premium Extra Dry แบบไหน แห้งสบาย ระบายอากาศได้ดี ถูกใจคุณแม่ สบายตัวคุณลูก มากกว่ากัน
500 ชื่อเล่นลูกสาวไทย ชื่อเล่นลูกสาวน่ารักๆ เพราะๆ ใช้ได้ทุกยุค มาดูกัน!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!