X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดึงแขนลูกแรงๆ ระวัง! กระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกัน

บทความ 3 นาที
ดึงแขนลูกแรงๆ ระวัง! กระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกัน

อุบัติเหตุกระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกันมักพบได้บ่อยๆ ในเด็กเล็กวัยเริ่มเดินเริ่มวิ่งได้ ซึ่งผู้ปกครองมักจะดึงแขนลูกโดยไม่ทันระวัง หากคุณมีลูกวัย 1-5 ปี นี่คืออุบัติเหตุใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังให้ดีค่ะ

  • กระดูกข้อศอกเคลื่อน

อุบัติเหตุกระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกันเกิดจากอะไร

เนื่องจากสรีระของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อกระดูก 2 ชิ้นตรงข้อศอกของเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 5 ปีนั้นยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หากขยับผิดจังหวะก็จะเคลื่อนหลุดออกจากกันได้ง่าย โดยสาเหตุหลักของอุบัติเหตุกระดูกข้อศอกเคลื่อนมักจะเกิดจากการกระทำของคุณพ่อคุณแม่หรือพี่เลี้ยงเด็ก เช่น

  • ดึงหรือยกลูกขึ้นจากพื้นโดยการจับมือแล้วฉุดขึ้น
  • คว้าข้อมือลูกฉุดยกตัวลอยให้ยืนขึ้น หรือดึงแขนหรือมือลูกเพียงข้างเดียว
  • จับมือลูกแล้วกระตุกอย่างฉับพลัน เช่น ลูกยังเดินไม่ถนัด ทำท่าจะหกล้ม คุณพ่อคุณแม่ต่างตกใจ กระตุกแขนลูกอย่างแรง หรือการดึงแขนเพื่อยกตัวลูกขณะขึ้นบันไดเลื่อน เป็นต้น
  • ดึงลูกออกจากสถานการณ์อันตรายด้วยความตกใจ เช่น จะเดินข้ามถนน พ่อจับข้อมือแล้วดึงกลับ
  • เล่นจับลูกเหวี่ยงแบบชิงช้า โดยจับที่มือทั้งสองข้างของลูก

สังเกตอย่างไรเมื่อลูกกระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุด

Advertisement
  • ดึงแขนลูกแล้วลูกร้องไห้จ้าทันที
  • ขยับแขนไม่ได้ แต่ยังขยับหัวไหล่ได้
  • แขนเหยียดแต่ไม่สุด
  • ข้อศอกอยู่ในท่างอเล็กน้อย หุบเข้าหาลำตัว แต่ขยับไม่ได้เพราะเจ็บมาก

การปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อลูกกระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุด

  • ให้ส่วนที่เจ็บอยู่นิ่งๆ มากที่สุด
  • อย่าพยายามขยับข้อศอกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง เพราะอาจทำผิดพลาดแล้วทำให้บาดเจ็บมากขึ้น
  • ระวังข้อศอกให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด อาจจะใช้มืออีกข้างช่วยประคองไว้
  • ระหว่างทางไปพบแพทย์ ให้ประคบเย็นไว้
  • บางรายกระดูกข้อศอกอาจขยับเข้าที่ได้เอง ลูกจึงขยับแขนได้เป็นปกติ และหายเจ็บ แต่ก็ยังควรไปพบแพทย์อยู่ดี

จะป้องกันลูกจากอุบัติเหตุกระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุดได้อย่างไร

เวลาคุณพ่อคุณแม่จูงลูกควรจับที่แขนท่อนบน ที่ติดกับหัวไหล่ เวลายกตัวลูกควรยกที่ใต้รักแร้ ระวังไม่ยกเด็กขึ้นมาจากพื้นโดยจับที่มือ หรือ จับที่แขนท่อนล่าง ที่ติดกับข้อมือเพียงข้างเดียว และไม่เล่นจับลูกเหวี่ยงแบบชิงช้าเพราะอาจเกิดอันตรายได้รับบาดเจ็บอย่างอื่นได้ด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากลูกเคยกระดูกข้อศอกเคลื่อนมาก่อน คุณพ่ออาจต้องระวังให้มากขึ้น เพราะอาจเป็นซ้ำได้อีกภายใน 3-4 สัปดาห์ค่ะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

ลูกกระดูกเปราะเพระผงชูรสจริงหรือ? คำอธิบายจากหมอ

สุดยอดอาหารบำรุงสมอง 9 ชนิดสำหรับวัยเตาะแตะ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ดึงแขนลูกแรงๆ ระวัง! กระดูกข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกัน
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว