ช่องคลอดแห้งปัญหาใหญ่ สาเหตุของอาการช่องคลอดแห้งคืออะไร?
ช่องคลอดแห้งปัญหาใหญ่ ของสาว ๆ หลาย ๆ คน ปัญหานี้ส่งผลกระทบให้แก้สาว ๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านความสัมพันธ์กับคู่รัก อีกทั้งยังส่งกระทบไปยังสุขภาพอีกด้วย วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับ ช่องคลอดแห้งปัญหาใหญ่ วิธีแก้ไข และสาเหตุของมันมาแบ่งปันสาว ๆ กันค่ะ
ช่องคลอดแห้ง คืออะไร
ช่องคลอดแห้ง (Vaginal dryness) ตามปกติบริเวณช่องคลอดจะมีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นมูกใส ๆ เหนียว ๆ หนืด ๆ โดยเฉพาะในช่วงตกไข่ด้วยแล้ว มูกดังกล่าวนี้จะยิ่งมีความใส และเหนียวหนืดมากยิ่งขึ้น เพื่อจะเพิ่มความหล่อลื่นให้กับช่องคลอด มูกตามธรรมชาตินั้นจะช่วยให้เชื้ออสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้นและลดการเสียดสีไม่ให้อวัยวะเพศทั้งสองฝ่ายเกิดการถลอกหรือฉีกขาดนั่นเอง
ช่องคลอดแห้งปัญหาใหญ่ สาเหตุที่ทำให้เกิดช่องคลอดแห้ง
- ติดเชื้อในช่องคลอด อาจจะเป็นเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ แม้จะมีตกขาวออกมาแต่เยื่อบุช่องคลอดมักจะแห้งและมีอาการแสบ คัน และอักเสบตามมา
- ยาบางประเภท เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคภูมิแพ้ และยารักษาโรคมะเร็ง
- โรค Sjogren’s syndrome โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อต้านตัวเอง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการตาแห้ง ปากแห้ง และช่องคลอดแห้ง
- การสวนล้างช่องคลอด การทำเช่นนี้ส่งผลให้ช่องคลอดแห้งและเสียความเป็นกรดตามธรรมชาติไป
- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เซลล์ผนังช่องคลอดบางลง ขาดการยืดหยุ่น และเปราะบาง ซึ่งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือได้รับเคมีบำบัด หรือฉายรังสีบริเวณเชิงกรานทำให้รังไข่ทำงานลดลง รวมถึงภาวะหลังคลอดและการให้นมลูกที่ทำให้ร่างกายไม่ตกไข่ตามธรรมชาติ
อาการของช่องคลอดแห้ง
ตามปกติช่องคลอดจะมีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาช่องคลอดแห้งเมื่อไม่มีสารหล่อลื่นหรือมูกตามธรรมชาติทำให้ช่องคลอดแห้ง ทำให้เกิดอาการคัน แสบ และระคายเคือง โดยไม่มีอาการตกขาว บางคนช่องคลอดแห้งมากจนเลือดออกก็มี ส่งผลให้ติดเชื้อในช่องคลอดได้ง่าย เพราะเมื่อเวลามีเพศสัมพันธ์จะไม่มีสารหล่อลื่นไหลออกมา เมื่อมีการสอดใส่อวัยวะเพศจึงเกิดการเสียดสีทำให้ช่องคอลดถลอกเป็นแผล ทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย
วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อช่องคลอดแห้ง
1.ใช้สารหล่อลื่น ที่มีน้ำเป็นตัวละลายพื้นฐาน (water – base lubricants) เช่น K-Y Gel ใส่ในช่องคลอดสามารถยู่ได้นานหลายชั่วโมงดังนั้นก่อนการมีเพศสัมพันธ์ควรใช้สารหล่อลื่นทาที่ปากช่องคลอดหรืออวัยวะเพศชาย จะช่วยลดการเสียดสีที่อาจจะทำให้เจ็บได้ และสารหล่อลื่นชนิดนี้ไม่ทำลายประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย
2.สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer : polycarbophil – base varginal moisturizer) เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นสำหรับช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้นได้นานมากกว่า 1 วัน ต่อการใช้เพียงครั้งเดียว
3.หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด ไม่ว่าจะสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำส้ม vinegar โยเกิร์ต หรือสาร Feminine Hygiene ใด ๆ เพราะช่องคลอดจะมีการดูแลทำความสะอาดตัวมันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้นการทำความสะอาดแต่ภายนอกก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องสวนล้าง เพราะจะทำให้สูญเสียความเป็นกรดตามธรรมชาติ ส่งผลให้ช่องคลอดแห้งและระคายเคือง อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตายไปเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราได้
4.เพิ่มสารอาหารจากธรรมชาติ ได้แก่สาร Isoflavones ซึ่งเป็นสารเอสโตรเจนจากพืชที่สามารถพบได้ในถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุด คือ น้ำเต้าหู้ แต่อย่างไรก็ตามเอสโตรเจนจากพืชย่อมมีความเข้มข้นน้อยกว่าเอสโตรเจนในร่างกาย
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : health.kapook.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใน
10 อาหารกระชับช่องคลอด ช่วยน้องสาวให้กลับมาฟิต หอมหวานน่ากิน!
น้ําใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอด ตอนท้อง อันตรายหรือไม่ บางครั้งมีกลิ่น ไม่มีกลิ่น ต้องหาหมอหรือเปล่า
วิธีขมิบ ขมิบช่องคลอด ทําอย่างไร การขมิบช่องคลอดหลังคลอด ออกกำลังกายน้องสาว ขมิบน้องสาวให้ฟิต
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!