X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา...ปกติไหม?

บทความ 5 นาที
ช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา...ปกติไหม?

ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์แน่นอนว่าประจำเดือนคุณแม่ต้องขาดหายไป อีกทั้งหลังคลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว หน้าที่สำคัญต่อไปของคุณแม่ คือ การให้นมลูก และช่วงที่ให้นมลูกอยู่นั้นประจำเดือนก็ยังไม่มา อาจทำให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านรู้สึกกังวลว่าประจำเดือนไม่มาเช่นนี้ยังปกติหรือไม่ คำถามต่อไปแล้วประจำเดือนจะมาเมื่อไรนะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประจำเดือน

การมีประจำเดือนกับเพศหญิงเป็นของคู่กัน  แต่การมีประจำเดือนของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป  เช่น  บางคนมามาก  บางคนมาน้อย  ก่อนมีประจำเดือนบางคนก็เจริญอาหารหิวนั่นหิวนี่  เรียกว่าแทบจะกินกันได้ทั้งวัน   แต่บางคนต้องทุกข์ทรมานจากอาการปวดท้องประจำเดือนจนบางทีต้องลางาน  หรือขาดเรียนกันไปเลยเพราะปวดจนทนไม่ไหวจริง  แถมช่วงที่มีประจำเดือนก็มีสิวขึ้นเต็มไปหมด ปัญหานานาประการเหล่านี้มีคำตอบค่ะ

ประจำเดือนมาจากไหน

ประจำเดือนของผู้หญิงนั้น  เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นวงจรในแต่ละรอบเดือน  รอบเดือนหนึ่งรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งของผู้หญิงจะเกิดการตกไข่ขึ้น ไข่ที่โตเต็มที่หากได้รับการผสมพันธุ์จากเชื้ออสุจิของฝ่ายชายก็จะเกิดการปฏิสนธิต่อไป   แต่ในที่นี้หมายถึงไข่ที่ไม่ได้มีการปฏิสนธิกรณีนี้ก็จะมีการหลุดลอกของโพรงมดลูกออกไปเป็นประจำเดือน

เลือดประจำเดือนใช่เลือดเสียหรือไม่

ผู้หญิงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว เมื่อรังไข่และมดลูกเจริญเต็มที่ และพร้อมจะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน โดยปกติแล้วจะมีไข่ตกจากรังไข่เดือนละ 1 ฟองสลับกันข้างละเดือน เมื่อไข่ตกจะไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งจะมีลักษณะหนาขึ้นเพราะเตรียมพร้อมสะสมอาหารหากมีการปฏิสนธิ ถ้าหากไม่มีการปฏิสนธิจะทำให้ผนังมดลูกนี้หลุดลอกออกมาพร้อมกับไข่และจะมีเลือดปนออกมา ที่เราเรียกว่าประจำเดือนนั่นเอง ดังนั้นประจำเดือนจึงไม่ใช่เลือดเสียที่ร่างกายขับออกมาอย่างที่หลาย ๆ คนเคยเข้าใจ แต่กลับเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าระบบสืบพันธุ์ของเราทำงานเป็นปกตินั่นเอง

ประจำเดือนมาไม่ปกติ บางคนมาเดือนละ 2 ครั้ง ถือว่าผิดปกติหรือไม่

ปัจจัยแวดล้อม ความเครียด ความกังวล นอนไม่หลับ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการควบคุมการตกไข่จะไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้ในเดือนนั้น ๆ ไม่มีการตกไข่ หรือตกไข่ไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้ ผลที่เกิดขึ้น คือ ประจำเดือนอาจเลื่อนออกไปหรือเดือนนั้นอาจจะไม่มาก็ได้ หากเกิดกรณีเช่นนี้ ต้องหันมาใส่ใจกับสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทำจิตใจให้แจ่มใสและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประจำเดือนของคุณก็จะมาตามปกตินั่นเอง หรือบางท่านอาจไม่สบายใจก็ไปพบคุณหมอ ในกรณีเช่นนี้คุณหมอจะให้กินยาฮอร์โมนเพื่อมาปรับสมดุลก็จะทำให้ประจำเดือนมาปกติเอง

อย่างไรจึงจะเรียกว่าประจำเดือนมาปกติ

ผู้หญิงเกือบทุกคนเข้าใจว่าการมีประจำเดือนทุกเดือน หมายถึงการมีประจำเดือนแบบปกติ คำว่า มีประจำเดือนแบบปกติ อาจเป็นกรณีเช่นนี้ได้ค่ะ คือ คำว่าประจำเดือนปกติไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีประจำเดือนมาทุกเดือนเท่านั้น บางคนทุก 2 เดือน บางคนทุก 20 วันก็มี แต่ถ้าคุณมีการตกไข่แบบปกติแล้วละก็ถือว่ามีประจำเดือนเป็นปกติ ประจำเดือนที่ปกติควรจะมีอย่างเร็ว 21 วันครั้ง และอย่างช้า 60 วันครั้ง หากผิดไปจากนี้ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อดูแลรักษาต่อไป

การนับรอบประจำเดือนทำอย่างไร

หากผู้หญิงคนใดมีประจำเดือนตรงทุกเดือนนับว่าเป็นเรื่องดีและสะดวกต่อการเตรียมพกพาผ้าอนามัยใส่กระเป๋าจะได้ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนให้เสียอารมณ์ และสำหรับคนที่อยากมีเจ้าตัวน้อยจะสะดวกในการคำนวณวันตกไข่ซึ่งจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่า และยังรู้อีกว่าประจำเดือนครั้งต่อไปจะมาเมื่อไร ทางที่ดีนะคะให้ทำเครื่องหมาย “วันนั้นของเดือน” ไว้บนปฏิทินกันลืมจะดีไม่น้อย สำหรับการนับรอบเดือนนั้นให้เริ่มนับให้เริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งนี้จนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งต่อไป จะกินเวลาอย่างเร็ว 25 วัน อย่างช้า 30 วัน ซึ่งมีปัจจัยอื่น ๆ หลายอย่างดังที่กล่าวมาแล้วหากเกิดประจำเดือนคลาดเคลื่อน

หงุดหงิดใจทำไมมีสิวในช่วงที่มีประจำเดือน

เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า “อาการก่อนมีประจำเดือน” นอกจากสิวแล้วจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น ปวดท้องน้อย บางคนระคายเคืองช่องคลอด บางคนมีพฤติกรรมที่แปลกไปบ้าง เช่น หงุดหงิดง่าย เครียด อารมณ์เสียง่าย หรือบางคนมีอาการคัดหน้าอก ปวดหัว ปวดหลัง ปวดแข้งปวดขา หรือบางคนหิวบ่อยกินตลอดทั้งวัน เป็นต้น อาการเหล่านี้ไม่มีสาเหตุทางชีวภาพที่แน่นอนค่ะ แต่ที่แน่ ๆ คือ ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนจะลดต่ำลง ทางที่ดีในช่วงนี้ไม่ควรรับประทานเกลือ น้ำตาล คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ จะส่งผลให้เกิดอาการบวมมากขึ้น เนื่องจากโซเดียมในเกลือทำให้เกิดน้ำขังบริเวณท้องและหน้าอก ควรหันมากินพืชผักผลไม้ และคาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแคลเซียม จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ

อาการปวดประจำเดือนผิดปกติหรือไม่ และทำอย่างไรให้หายปวด

อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสสำหรับบางคน เพราะถึงขั้นลุกเดินไม่ได้ก็มี ปวดทรมานสุด ๆ มาดูกันว่าการปวดประจำเดือนมาจากสาเหตุอะไรกันแน่ อาการปวดประจำเดือนเกิดขึ้นเนื่องจากผนังมดลูกมีการสร้างสารที่เรียกว่า โพรสตาแกลนติน (Prostaglandin) เป็นชื่อของสารชนิดหนึ่งในร่างกายมีลักษณะคล้ายฮอร์โมน คือ สาเหตุของการปวดท้องประจำเดือนรวมไปถึงปวดท้องคลอดอีกด้วยนะคะ เมื่อสารนี้หลั่งออกมามากขึ้น หรือมีความไวต่อสารนี้มากขึ้น ทำให้เกิดการบีบรัดของกล้ามเนื้อมดลูกและเมื่อมดลูกหดตัวแรงขึ้นจึงทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน และยังทำให้เส้นเลือดอื่น ๆ ในร่างกายหดตัวตามไปด้วยอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ ท้องเดิน ร่วมกับตอนที่ปวดประจำเดือนอีกด้วย ส่วนทางแก้นั้น ควรออกกำลังกายอยู่เสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟินออกมา เป็นการระงับการปวดบวมตามธรรมชาติได้ ควรทำใจให้สบาย ๆ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ เช่น การจิบชาสมุนไพรร้อน ๆ รับประทานวิตามินซี แคลเซียม เป็นประจำจะมีส่วนในการช่วยลดอาการปวดท้องได้ หรือเวลาที่ปวดมาก ๆ ใช้กระเป๋าน้ำอุ่นวางบนท้องน้อย หากปวดมาก รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอน หรือยาที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนติน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดประจำเดือนได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.woman.thaiza.com

อ่านช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา…..ปกติไหม  คลิก

ช่วงให้นมลูกหลังคลอดแต่ประจำเดือนไม่มา…..ปกติไหม

ในระหว่างตั้งครรภ์ 9 เดือนนั้นประจำเดือนไม่มา เพราะไม่มีการตกไข่ รวมทั้งในร่างกายของคุณแม่ยังมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอีกหลายอย่างเพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นปกติ และเมื่อคุณแม่คลอดลูกน้อยออกมาแล้ว แต่ผลของฮอร์โมนนั้นยังอยู่ไปอีกระยะหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วหลังคลอดมักจะมีประจำเดือนอีกครั้งช่วงประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะการให้นมลูกน้อยอย่างต่อเนื่องยาวนาน บางคนอาจหายไปนาน 5-6 เดือน หลังจากคลอดลูกและให้นมลูกอยู่ก็เป็นได้

ควรกังวลหรือไม่ คงเป็นคำถามในใจคุณแม่หลาย ๆ ท่าน การที่ประจำเดือนยังไม่มาหลังคลอดไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลเพราะเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ และเมื่อประจำเดือนมาแล้วช่วงแรกบางคนก็เป็นสีจาง ๆ บางคนก็มาแบบเป็นปกติเลย อย่างไรก็ตามในเดือนต่อ ๆ ไปจะกลับมาเป็นปกติได้เองในเดือนหรือสองเดือนถัดไป

สิ่งที่ควรกังวล แต่ไม่ได้หมายถึงให้กังวลจริง ๆ นะคะ จะบอกแต่เพียงว่า ถึงอยู่ในช่วงหลังคลอดที่ไม่มีประจำเดือนโดยเฉพาะในช่วงที่ให้นมลูก แล้วมีกุ๊กกิ๊กกับสามีขอบอกว่า อาจท้องได้นะคะ ท้องทั้ง ๆ ที่ประจำเดือนยังไม่มา บางคนคิดว่าการให้นมลูกคือการคุมกำเนิดตามธรรมชาติ ในช่วงแรกอาจจะใช่ค่ะ เพราะอาจมีการตกไข่เกิดขึ้นใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าไม่ได้มีการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสมหรือชะล่าใจอาจเกิดการตั้งครรภ์ต่อเนื่องได้ หรือยังไม่มีประจำเดือนสักที นานไปจน 5-6 เดือนก็อาจตกไข่ได้เช่นกัน

คำแนะนำของคุณหมอในเรื่องการคุมกำเนิดหลังคลอด ซึ่งจะแนะนำให้คุมกำเนิดได้เลยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนมา สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกนั้น ควรเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ไม่มีผลต่อนมแม่ คือ ยาฉีด หรือยาฝังคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด เป็นต้น ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมนั้น คุณหมอจะไม่แนะนำให้รับประทานเพราะจะมีผลทำให้น้ำนมแม่ลดน้อยลงได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ประจำเดือนสีดำคืออะไร ผิดปกติไหม ปัญหาของสาว ๆ ที่ต้องรู้

ห้ามพลาด! 10 อาหารช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา...ปกติไหม?
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว