X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง มีอาการและวิธีการรักษาแตกต่างกันอย่างไร

บทความ 5 นาที
ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง มีอาการและวิธีการรักษาแตกต่างกันอย่างไร

ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง เป็นอาการที่แม่ ๆ ทุกคนควรระวัง เพราะเรื่องของความดันเป็นเรื่องสำคัญและอันตราย มาดูกันว่าทั้งสองสิ่งมีความแตกต่างกันอย่างไร

ความดันสูง – ความดันต่ำของคนท้อง เป็นอาการที่แม่ ๆ ทุกคนควรระวัง เพราะเรื่องของความดันเป็นเรื่องสำคัญและอันตรายมาก ๆ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ทราบและไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าอาการที่เป็นคือความดันต่ำหรือความดันสูง วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำข้อแตกต่างของอาการระหว่างความดันสูงและต่ำมาฝากกันค่ะ

 

ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้นจะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขึ้นได้ โดยแพทย์จะวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้ หากมีความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งมักไม่เป็นอันตรายต่อคนท้อง แต่หากความดันโลหิตต่ำมาก ๆ ก็อาจส่งผลกระทบและเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

โดยการตั้งครรภ์นั้นส่งผลโดยตรงกับระดับความดัน เพราะร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง เป็นสาเหตุให้เกิดความดันโลหิตต่ำ โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 คนท้องจึงมักมีอาการหน้ามืดหรือเป็นลม เมื่อยืนนาน ๆ และลุกจากท่านั่งหรือท่านอนเร็วเกินไปในช่วงเวลาดังกล่าว

 

ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง

ความดันสูง – ความดันต่ำของคนท้อง

 

Advertisement

อีกทั้งระดับความดันโลหิตของคุณแม่ยังบ่งบอกถึงสุขภาพของตัวเองและลูกในท้อง โดยระดับความดันโลหิตที่สูงเกินไปอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ส่วนความดันโลหิตที่ต่ำเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณของการท้องนอกมดลูก ซึ่งอันตรายต่อทั้งแม่และเด็ก ในรายที่มีความดันโลหิตผิดปกติอย่างรุนแรงอาจทำให้แม่และเด็กเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

ความดันโลหิตคนท้องไตรมาสแรกถึงไตรมาสสอง : ความดันโลหิตในผู้หญิงตั้งครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ใหม่ ๆ จะมีความดันโลหิตที่ต่ำลง จนถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความดันต่ำนั้นมักจะเจอในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ บางครั้งจะพบในคุณแม่ที่มีภาวะแพ้ท้องมาก ๆ หรือรับประทานไม่ได้

โดยลักษณะของความดันต่ำ จะมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ในบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียมาก หากแม่ตั้งครรภ์มีอาการอ่อนเพลียมาก เวียนศีรษะ จะเป็นลม แนะนำว่าต้องพักสักหน่อย ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ต้องมาให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล

วิธีดูแลตัวเองตอนท้องเมื่อมีความดันต่ำ

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนแต่หัวค่ำ อย่านอนดึกบ่อย ๆ
  2. เมื่อคนท้องมีความดันโลหิตต่ำ มักจะหน้ามืด วิงเวียนได้ง่าย จึงไม่ควรยืนนาน ๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าลุกพรวดพราด
  3. หมั่นเดินออกกำลังกายวันละหน่อย แต่ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ระบบประสาทเกิดความสมดุลยิ่งขึ้น แต่ถ้ารู้สึกเหนื่อยแล้วก็ไม่ต้องฝืน
  4. ถ้ามีอาการแพ้ท้อง เวียนหัวมาก ทานอาหารไม่ลง ให้เลือกทานมื้อละเล็กมื้อละน้อย ทานหลาย ๆ มื้อต่อวัน โดยใส่ใจสารอาหาร ต้องทานอาหารให้ครบห้าหมู่ เพราะถ้าคนท้องได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้ความดันต่ำลงไปอีก
  5. ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว จะเสริมด้วยน้ำขิงอุ่น ๆ หรือน้ำผลไม้คั้นสด ก็ช่วยให้ร่างกายสดชื่นได้
  6. ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ให้ปรึกษาคุณหมอทุกครั้ง
ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง

ความดันสูง – ความดันต่ำของคนท้อง

การรักษาเมื่อมีอาการความดันโลหิตต่ำ

ส่วนใหญ่แล้วสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เนื่องจากความดันโลหิตจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และกลับเข้าสู่ระดับปกติหลังจากการคลอดบุตร อีกทั้งแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาในการรักษาภาวะใด ๆ ก็ตามในระหว่างตั้งครรภ์โดยไม่จำเป็น เพราะตัวยาอาจส่งผลกับทารกได้ แต่หากมีอาการของภาวะความดันโลหิตต่ำ และคาดว่าอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ที่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้คุณแม่เข้ารับการตรวจเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไปค่ะ

ภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันสูงระหว่างการตั้งครรภ์ หรือเป็นความดันสูงก่อนการตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้วอาจจะทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้ ทั้งยังมีคุณแม่บางรายที่มีความดันปกติ แต่เมื่อตั้งครรภ์กลับเป็นความดันสูง ซึ่งพัฒนาไปสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งความดันสูงในระยะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยในแต่ละระยะครรภ์ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต โดยในแต่ละปีพบกว่า 50,000 ราย และเกือบทุกรายมีโอกาสเสียชีวิต

 

ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง

ความดันสูง – ความดันต่ำของคนท้อง

ปัจจัยที่ทำให้คนท้องความดันสูง

  • แม่ท้องมีน้ำหนักมาก
  • แม่ท้องอายุมาก
  • แม่ท้องมีโรคประจำตัว อาทิ โรคไต เบาหวาน

 

อันตรายเมื่อคนท้องความดันสูง

แม่ท้องที่เกิดความดันสูงจะเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อตัวมารดาและลูกน้อยในครรภ์ ในประเทศไทยเราพบคุณแม่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์ร้อยละ 1-3 ตามสถิติจำนวนคลอดประมาณ 700,000 รายต่อปี แต่ละปีจะมีคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย

วิธีป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในคนท้อง

  1. แม่ท้องต้องควบคุมความดันโลหิตให้ดี
  2. ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดที่ใช้กับโรคความดันอาจจะส่งผลต่อทารกทำให้เกิดความผิดปกติได้ แล้วแพทย์จะปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมต่อไป
  3. เลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งช่วยยป้องกันโรคความดันได้ พบมากในผักและผลไม้สด เช่น กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่าง ๆ
  4. แม่ท้องสามารถออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ได้ อาทิ เล่นโยคะคนท้อง ว่ายน้ำ
  5. คนท้องต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นทำสมาธิ

ความดันคนท้องเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ คนท้องความดันต่ํา หรือคนท้องความดันสูง ก็อันตรายทั้งนั้น แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้มาก ๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายบ้างนะคะ

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

 

Source : pobpad , โรงพยาบาลเปาโล

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคเบาหวาน ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย วิธีการดูแลคนท้องเป็นโรคเบาหวาน

อาการนอนไม่หลับของคนท้อง เกิดจากอะไร แก้ไขปัญหาได้ด้วยเทคนิคเหล่านี้

คนท้องคอเลสเตอรอลสูงมีอันตรายอย่างไร เรียนรู้ป้องกันก่อนจะสาย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ความดันสูง - ความดันต่ำของคนท้อง มีอาการและวิธีการรักษาแตกต่างกันอย่างไร
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว