ช่วงนี้ต้องระวัง คนท้องไม่สบาย ได้ง่ายมากขึ้น ด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดและความเครียด ที่สั่งสมเข้ามา อาจทำให้แม่ท้องเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย รวมไปถึงเรื่องอาหารการกินที่ต้องระวังมากขึ้น อีกทั้งช่วงนี้ยังออกกำลังกายลำบาก ทำได้เพียงหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายภายในบ้านเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโรคที่คุณแม่ท้องควรสังเกตร่างกายตัวเองให้ดี หากเป็นโรคเหล่านี้แล้ว อาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้เช่นกัน
คนท้องไม่สบาย เพราะเป็นโรคไข้หวัด
โดยปกติแล้ว คนทั่วไปมีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี ซึ่ง คนท้องไม่สบาย ด้วยโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน หากเป็นไข้หวัดธรรมดา อาการไม่รุนแรงมาก มักไม่ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เพียงแค่ร่างกายของแม่ท้องอาจจะหายช้ากว่าคนทั่วไป เนื่องจากภูมิต้านทานของผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์นั้นจะลดลง หากคุณแม่มีไข้สูงเกิน 38 องศา หรือรู้สึกว่าร่างกายมีความผิดปกติ ให้สังเกตตัวเองให้ดี ถ้ามีอาการรุนแรง หรือไม่สบายนานเกิน 3-5 วัน ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาที่ควรเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ ยาอะไรบ้างที่ไม่ควรกินตอนท้อง
8 โรคอันตราย ควรเฝ้าระวังระหว่างตั้งครรภ์
ในผู้หญิงตั้งครรภ์ มักจะมีโรคแทรกซ้อนขึ้นมาบ่อยครั้ง นอกจากโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ทั้งโรคทางพันธุกรรมและระบบการทำงานของสุขภาพทำงานได้ไม่ดี เนื่องจากขาดการดูแลและบริโภคอาหารที่เหมาะสม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาจนำโรคต่าง ๆ มาสู่ร่างกายได้ ลองไปดูโรคที่ควรระวังมีดังนี้
1. โรคระบบทางเดินอาหาร
คนท้องไม่สบาย ด้วยโรคนี้ค่อนข้างเยอะ เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องการกิน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร อย่างกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส แต่โรคนี้จะหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ ถ้าคุณแม่ไม่สบายเรื้อรัง อาจไม่เกิน 3 วัน แล้วระหว่างนี้อาจจะกินอะไรไม่ค่อยได้ แต่จำเป็นต้องดื่มน้ำให้มาก การติดเชื้อแบบนี้มักไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อ ทารกในครรภ์ แต่ควรดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เช่น ในช่วงที่ 12 ชั่วโมงแรก ไม่ควรกินอาหารอื่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะกระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ควรงดอาหารและน้ำ 12-24 ชั่วโมง จึงค่อยเริ่มกินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ผักต้มเปื่อย จนอาการดีขึ้นแล้วค่อยกินอาหารตามปกติ แต่หากพบว่ามีอาการแย่ลงควรรีบไปพบแพทย์
2. โรคหัดเยอรมัน
ปกติแล้วคุณหมอ มักจะแนะนำให้ผู้หญิงฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันก่อนที่จะตั้งครรภ์ จากนั้นเว้นช่วงหลังจากฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เดือน สำหรับแม่ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน ก็ต้องตรวจดูว่ามีภูมิต้านทานอยู่หรือไม่ เพราะแม่บางคนมีภูมิต้านทานอยู่แล้ว ทั้งนี้โรคหัดเยอรมันมีความอันตรายต่อทารกในครรภ์ เมื่อมีการติดเชื้อในระยะ 2-3 สัปดาห์แรก จะมีอาการเพียงเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึกว่ามีร่างกายผิดปกติ เช่น มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยตัว ต่อมน้ำเหลืองโต โดยผลกระทบที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของมารดา และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ถ้ามีการติดเชื้อในเดือนแรก ลูกอาจจะคลอดออกมาแล้วพิการถึงร้อยละ 35 ในขณะที่การติดเชื้อในเดือนที่ 3 โอกาสที่จะพิการและความรุนแรงลดน้อยลง คือร้อยละ 10-15 เลยทีเดียว
3. โรคท็อกโซพลาสโมซิส
โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า ท็อกโซพลาสมา จากการกินเนื้อดิบที่มีเชื้อนี้อยู่ หรือสัมผัสกับอุจจาระแมวที่ติดเชื้อนี้ เมื่อคนท้องไม่สบาย แล้วเกิดติดเชื้อนี้เข้าไป อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือต้องคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดความผิดปกติของสมองได้
4. โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ปบี
แม่ตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ปบี (Streptococcus Group B) ถือว่าเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ถึงขั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยปกติการติดเชื้อนี้จะอยู่ในช่องคลอดที่ไม่ปรากฏอาการให้เห็น แพทย์จะนำมูกจากช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ หากพบเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่มากพอตั้งแต่ก่อนคลอด จึงทำให้ไม่มีการติดเชื้อต่อทารกในครรภ์ ซึ่งการติดเชื้อชนิดนี้จะเป็นสิ่งที่พบได้น้อย เนื่องจากทางการแพทย์จะระวังโรคนี้มาก
บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อซิฟิลิส ทำอย่างไร แม่ขอแชร์จากประสบการณ์ตรง
5. โรคหัด
คุณแม่ควรฉีดวัคซีนป้องกัน โรคหัด (Measles) ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ เพราะการฉีดวัคซีนเหมือนกับการให้ร่างกายได้รับเชื้อโดยตรงเพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเชื้อที่ถูกฉีดเข้าไปอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ หากแม่ท้องติดเชื้อช่วงใกล้คลอด อาจทำให้ทารกเกิดภาวะติดเชื้อไวรัสในเลือด แพทย์จะให้แกมมาโกลบูลินแก่ทารกทันทีที่เกิดเพื่อลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ
6. โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
โรคที่ต้องระวังที่สุดอีกโรคหนึ่งของผู้หญิงตั้งครรภ์คือ โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยร้อยละ 10 ของแม่ตั้งครรภ์จะมีการติดเชื้อ 1 ครั้งและผู้ที่ติดเชื้อแล้ว 1 ใน 3 คนสามารถติดเชื้อซ้ำอีก ซึ่งอาการที่พบบ่อยคือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบมักจะไม่แสดงอาการ พบได้เมื่อมีการตรวจปัสสาวะในตอนฝากครรภ์ ถ้าพบการติดเชื้อจะต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อ นอกจากนี้ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่กรวยไต หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้กรวยไตอักเสบซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตัวแม่ท้องและลูกในครรภ์ และหากเป็นกรวยไตอักเสบในช่วงหลังอายุครรภ์เดือนที่ 7 เป็นต้นไป จะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
7. โรคตับอักเสบชนิดบี
โรคตับอักเสบบี เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลและรักษาตัวเองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด ร้อยละ 95 ของคนท้องที่ไม่สบายเป็นโรคนี้ ร่างกายจะฟื้นกลับมาได้เอง
8. โรคอีสุกอีใส
โรคที่คุณแม่ต้องระวังและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น คือ โรคอีสุกอีใส หากเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ มักจะแสดงอาการจะรุนแรงกว่าเด็ก หากมาเป็นในช่วงกำลังตั้งครรภ์จะต้องได้รับแกมมาโกลบูลินภายใน 96 ชั่วโมงหลังการสัมผัสโรค และควรระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
เมื่อคนท้องไม่สบาย เป็นไข้ สามารถกินยาอะไรได้บ้าง
ก่อนอื่นที่จะตัดสินใจกินยาแก้ปวด ลดไข้ คุณแม่ควรรักษาตามอาการก่อนใช้ยา เช่น อาจมีอาการเจ็บคอ ลองดื่มอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาวหรือน้ำขิงอุ่น ๆ ก่อนนอน หากมีอาการคัดจมูก ควรเรียนรู้วิธีล้างจมูกด้วยตนเอง เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกที่บอบช้ำจากการไอหรือจาม และอย่าลืมรับประทานผลไม้จำพวกวิตามินซีเป็นประจำ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีอาการไข้ขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจจะได้ยามารับประทานดังนี้
- ยาแก้ไข้ ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล สามารถรับประทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมงโดยรับประทานเม็ดละ 500 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด (หรือตามแพทย์สั่ง)
- ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้แพ้ทั่วไป ซึ่งยาจำพวกนี้จะลดอาการคัดจมูก เนื่องจากแพ้อากาศ อยู่ในหมวดยา คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) เป็นยาไม่อันตราย แต่ควรใช้ภายใต้การสั่งยาของแพทย์ ซึ่งคุณแม่อาจถามคุณหมอได้ว่า หากยาหมดแล้วยังไม่หาย ควรทำอย่างไร หาซื้อเองได้หรือไม่ และควรใช้ยานานเท่าไร
- ยาปฏิชีวนะ รักษาอาการอักเสบทั่วไป เช่น คออักเสบ เนื่องจากเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ยาจำพวกนี้ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง ควรไปหาหมอเพื่อรับการรักษาเบื้องต้น จากนั้นคุณหมอจะสั่งยาให้เราอย่างปลอดภัยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ป่วยแล้วต้องทำยังไง กินยาอะไรไม่ให้กระทบลูกในท้อง
ข้อห้ามสำหรับการกินยาลดไข้ บรรเทาอาการปวด
อย่างที่ทราบกันว่า คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ แต่มีข้อควรระวังในการใช้ยาดังนี้
- ไม่ควรกินเกินครั้งละ 2 เม็ด และห้ามกินยาติดต่อกันเกิน 5 วัน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตับ
- ไม่กินยาพร้อมกับเครื่องดื่มอื่น ๆ นอกจากน้ำเปล่า
- ห้ามซื้อยามารับประทานเอง โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์เด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรจะดูแลสุขภาพให้ดี เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยอื่น ที่สำคัญ คือ การฉีดวัคซีนสำคัญสำหรับผู้หญิงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือได้รับระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรระลึกไว้เสมอว่า หากมีอาการเจ็บป่วยแม้เพียงน้อยนิด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่คนท้องไม่ควรกิน
กลัวการคลอดลูก ทำอย่างไรดี มีวิธีไหนที่คนท้องไม่ต้องกลัวการคลอดลูกบ้าง
วัคซีนที่คนท้องต้องฉีด วัคซีนจำเป็นแม่ท้อง หญิงตั้งครรภ์ ต้องฉีดเพื่อลูกในท้องปลอดภัย
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนท้องไม่สบายได้ที่นี่!
คนท้องไม่สบาย ลูกจะเป็นอะไรไหมคะ แล้วกินยาอะไรได้บ้างคะ
ที่มา : amarinbabyandkids
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!