TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ขนาดเท้าบอกความเป็นความตายของเด็กคลอดก่อนกำหนดได้

บทความ 3 นาที
ขนาดเท้าบอกความเป็นความตายของเด็กคลอดก่อนกำหนดได้

ในแต่ละปี 1 ใน 10 ของทารกที่เกิดมานั้นเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และมากกว่าร้อยล้านคนเสียชีวิตในที่สุด แต่เชื่อหรือไม่ว่าการวัดขนาดเท้าช่วยให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดรอดชีวิตได้!

คลอดก่อนกำหนด,ทารก,แรกเกิด

การคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะการคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของระยะตั้งครรภ์ สามารถนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวของเด็กได้ ทั้งนี้การคลอดก่อนกำหนดอาจไม่ส่งผลใด ๆ ต่อสุขภาพของเด็กบางคนเลย แต่สำหรับบางคนอาจส่งผลให้เกิดภาวะพิการอย่างถาวร หรือ ภาวะบกพร่องด้านการเรียนรู้ได้

การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากในเอเชียใต้และในทวีปแอฟริกาแถบใต้ทะเลทรายสะฮาราลงไป โดยการเสียชีวิตของเด็กทารกในภูมิภาคทั้งสองนี้มีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนดมากกว่า 80% เลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ชนบทของแทนซาเนีย ประมาณ 1 ใน 30 ของเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้นไม่สามารถมีชีวิตรอดได้นานเกิน 4 สัปดาห์หลังคลอด อย่างไรก็ตาม เด็กน้อยเหล่านี้จะสามารถมีชีวิตรอดต่อไปได้ เพียงแค่คุณแม่ทุกคนได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง โดยคำแนะนำง่าย ๆ ที่คุณแม่ทุกคุณควรทำตามก็คือ ให้เริ่มจากการวัดขนาดเท้าของลูก

ถ้าเท้าของทารกเล็กกว่า 67 มิลลิเมตรอาจบอกได้ว่าทารกคลอดก่อนกำหนด และต้องรีบพาทารกไปโรงพยาบาลในทันที

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจากบีบีซี

เริ่มง่าย ๆ … แค่วัดขนาดเท้าของลูก

คุณแม่ส่วนใหญ่จากประเทศที่ร่ำรวยและพัฒนาแล้วจะได้คลอดลูกในโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน และมีนางพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงคอยดูแลอยู่ตลอด ซึ่งหมายความว่า หากเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตาม เช่น น้ำหนักตัวทารกต่ำกว่าปกติ ทุกอย่างก็จะได้รับการรักษาหรือแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

ในทางตรงกันข้าม กว่า 40% ของผู้หญิงที่คลอดบุตรในประเทศที่มีรายได้ต่ำและยังไม่พัฒนา จะต้องคลอดบุตรโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลช่วยเหลืออยู่ใกล้ ๆ ไม่มีใครบอกคุณแม่เหล่านี้ว่าทารกของเธอคลอดก่อนกำหนดไหม ทารกตัวเล็กไปไหมหรือน้ำหนักน้อยไปไหม

อย่างไรก็ตาม ขนาดของรอยเท้าสามารถใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบอกน้ำหนักของทารกได้ โดย Dr Joanna Schellenberg จาก London School of Hygiene and Tropical Medicine ได้กล่าวว่า “ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กน้ำหนักอยู่ที่ระหว่าง 2.4 กิโลกรัม และ 2.1 กิโลกรัม เด็กจะอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ มากขึ้น และยิ่งถ้าเด็กคลอดที่บ้าน ก็จะไม่มีใครมาคอยชั่งน้ำหนักให้เลย”

Dr Joanna Schellenberg และเพื่อนร่วมงานของเธอจึงชวยกันคิดกลยุทธ์ที่เรียกกันว่า Mtunze Mtoto Mchanga (แปลว่า ปกป้องเด็กแรกคลอด) ขึ้นมา

การช่วยกันปกป้องเด็กแรกคลอดตามกลยุทธ์ของ Dr Joanna Schellenberg ก็คือการใช้ภาพของรอยเท้าเด็ก 2 รอยแปะบนแผ่นการ์ด และให้อาสาสมัครในพื้นที่วางเท้าของทารกแรกคลอดทาบกับภาพรอยเท้าในแผ่นการ์ด

อ่านต่อที่หน้าถัดไป >>>


ถ้าเท้าของทารกมีขนาดเล็กกว่า 67 มิลลิเมตร คุณแม่จะต้องได้รับคำแนะนำให้พาทารกไปโรงพยาบาลในทันที ถ้าวัดเท้าของทารกได้ขนาดระหว่างภาพเล็กกับภาพใหญ่ คุณแม่จะได้รับการบอกให้ดูแลทารกอย่างมากเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กรอดชีวิต
โดยควรใช้แผ่นการ์ดวัดขนาดเท้าทารกหลังจากคลอดมาได้แล้วประมาณ 2 วันแรก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากที่สุด หากไม่ได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ

Mariam Ulaya หนึ่งในอาสาสมัครจากหมู่บ้าน Namayakata shuleni ในแทนซาเนีย และเป็นผู้ที่ได้เข้าไปเยี่ยมหญิงแรกคลอดมาแล้วหลายคนบอกว่า “ถ้าวัดเท้ากับภาพรอยเท้าแล้วผลออกมาว่าเท้าของเด็กมีขนาดเล็กกว่าปกติ ฉันจะบอกให้แม่ ๆ อุ้มเด็กแบบเนื้อแนบเนื้อ เพื่อที่ว่าเด็กจะได้รับความอบอุ่นจากตัวแม่ ฉันยังมีตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ ชื่อ Opendo ด้วย ฉันใช้ตุ๊กตาตัวนี้สาธิตวิธีให้นมทารกที่ถูกวิธีกับแม่ ๆ ”

สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด

แท้จริงแล้วไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ว่าทำไมจึงเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้น และมีแนวโน้มว่าการคลอดก่อนกำหนดจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกเกาะต่ำ โรคเบาหวาน รวมถึงโรคอ้วนด้วย

ทราบได้อย่างไรว่าจะคลอดก่อนกำหนด?

Fetal Fibronectin เป็นโปรตีนซึ่งเป็นตัวช่วยบ่งชี้ได้ว่าจะเกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ โดยมักพบโปรตีนชนิดนี้ในช่วงราวสัปดาห์ที่ 22 ของการตั้งครรภ์ ไปจนถึงช่วงสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หากตรวจพบ Fetal Fibronectin ในช่วงระยะเวลานี้ แสดงว่าคุณจะคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ผลการวิจัยยังบอกด้วยว่าหากตรวจพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในน้ำลายต่ำ ก็เป็นตัวบอกความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้เหมือนกัน

การกอดลูกเนื้อแนบเนื้อช่วยได้

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะสามารถรอดชีวิตได้หากได้รับความอบอุ่นอย่างมากจากการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ การให้นมจากแม่บ่อย ๆ ก็ช่วยกำจัดการติดเชื้อได้ด้วย รายงานพบว่าสามารถป้องกันการเสียชีวิตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้ด้วยวิธีดังกล่าวมากถึง 75 % โดยไม่ต้องเสียเงินหรือจ่ายเงินแพงเลย

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ขนาดเท้าบอกความเป็นความตายของเด็กคลอดก่อนกำหนดได้
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว