TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด ผิดถูกอย่างไร เช็คกันได้ที่นี่

บทความ 5 นาที
วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด ผิดถูกอย่างไร เช็คกันได้ที่นี่

จริง ๆ แล้วการอาบน้ำทารกนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่จะถูกต้องหรือไม่นั้นวันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คดูสิคะว่า วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด ของเรานั้น ทำถูกต้องกันแล้วหรือยังนะ

วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด ทำอย่างไร

วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด

1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนอาบน้ำให้ทารก

2. ห่อตัวเด็กโดยเก็บแขนแนบลำตัวทั้งสองข้าง เหลือเฉพาะส่วนศีรษะ

3. ทำความสะอาดตาของทารกก่อน โดยใช้สำลีชุบน้ำสุก บีบหมาด ๆ เช็ดตาข้างที่สะอาดมากกว่า ไปหาจุดที่สะอาดน้อยกว่าสำลีที่ใช้ทำความสะอาดตาให้ทารกในแต่ละข้างนั้น เมื่อใช้แล้วให้ทิ้งไปเลย ไม่นำมาใช้ซ้ำ เพื่อป้องกันความสกปรกและเชื้อโรค

4. ทำความสะอาดใบหน้าของทารก โดยอาจจะใช้ฟองน้ำสำหรับอาบน้ำเด็ก หรือผ้าขนหนูก็ได้ บิดน้ำให้หมาด ๆ เช็ดตามบริเวณหน้า มุมปาก ซอกคอ ซอกหู จมูก

5. หากต้องการสระผมให้ทารก วิธีสระผมให้ทารก ก่อนสระผมให้อุ้มเด็กมาหนีบไว้ข้างลำตัวข้างซ้าย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วนางของมือข้างซ้าย กดใบหูให้ทับรูป้องกันน้ำเข้าหู จากนั้นก็วักน้ำใส่ผม แล้วใช้ผ้าใส่แชมพูสระผมสำหรับทารก นำมาถูที่ศีรษะเด็กให้เกิดฟอง ใช้นิ้วมือข้างขวาคลึงตามหนังศีรษะเบา ๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นด้วย

6. หากเล็บยาว ก็ไม่ควรเกาหนังศีรษะให้ทารก เพราะจะทำให้หนังศีรษะของลูกถลอกเป็นแผลได้เมื่อสระผมเสร็จ ให้คลี่ผ้าที่ห่อตัวเด็กออก แล้วเช็ดศีรษะของทารกให้แห้ง หากหนังศีรษะทารกคนไหนเป็นสะเก็ดดำ ๆ ให้ทาด้วยน้ำมันมะกอกทิ้งไว้ก่อน 30 นาที แล้วจึงล้างออก

วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด

7. วางตัวเด็กลงบนเตียง หรือเบาะที่ปูด้วยผ้ายางกันเปียก เอาผ้าที่ห่อ
ตัวเด็กออกให้หมด แล้วทำความสะอาดลำตัว แขน ขา โดยใช้ฟองน้ำ หรือผ้าขนหนูชุบน้ำ เช็ดตามตัวก่อน แล้วจึงฟอกสบู่ โดยการนำผ้า หรือฟองน้ำถูสบู่ก่อน แล้วค่อย ๆ ถูตามซอกคอ รักแร้ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้าทั้งด้านหน้า และด้านหลัง

8. เมื่อฟอกสบู่ตามส่วนต่าง ๆ ครบแล้ว ใช้ฟองน้ำ หรือผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดสบู่ตามตัวออกให้หมด จากนั้นประคองเด็กวางลงในอ่างสำหรับอาบน้ำเด็ก ล้างสบู่ออก แล้วรีบนำลูกขึ้น แล้วห่อผ้าให้เพื่อให้เกิดความอบอุ่น (ไม่ควรแช่เด็กนานเกิน 10 นาที เพราะเด็กจะหนาวสั่น และอาจไม่สบายได้)

9. จากนั้นให้เช็ดตามตัวให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ

10. ทาแป้งให้เด็ก โดยเทแป้งลงบนฝ่ามือก่อน แล้วจึงค่อย ๆ ทาไปบนตัวเด็กตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น ที่ใบหน้า ซอกคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ยกเว้น สะดือ (ในรายที่สะดือยังไม่หลุด) ในรายที่เด็กอ้วน ซอกคอ ขาหนีบ ข้อพับ จำเป็นมากเพื่อลดการเสียดสีของผิวหนัง

11. เช็ดสะดือทารก โดยการเช็ดจากโคนสะดือ ขึ้นไปหาส่วนปลาย โดยจับปลายสะดือดึงขึ้นเล็กน้อย ให้เห็นส่วนโคนสะดือได้ชัด เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด เมื่อเช็ดเสร็จแล้วปล่อยให้แห้ง บางครั้งจะสังเกตเห็นมีเลือดซึม ๆ ปนกับน้ำเหลือง ในระยะที่สะดือใกล้จะหลุดได้ ซึ่งส่วนมากสะดือจะหลุดภายในเวลา 7-14 วัน โดยประมาณ

12. ทุกครั้งที่เช็ดสะดือให้ทารก ควรสังเกตดูรอบ ๆ สะดือ ว่ามีอาการบวมแดงหรือไม่ หากพบความผิดปกติ ควรนำเด็กไปพบคุณหมอโดยเร็ว โดยหากสะดือติดเชื้อ ทารกมักจะมีไข้ร่วมด้วย

วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด

ไขปัญหาข้องใจ อาบน้ำให้ทารกแรกเกิดอย่างไร ถูกวิธี

1. อาบน้ำให้ลูกไวเกินไปหรือเปล่า

ด้วยความที่ว่าเราเห็นไขที่ห่อหุ้มตัวทารกอยู่ เราก็กลัวว่าเจ้าไขที่ว่านี้จะสกปรก ก็เลยจับลูกอาบน้ำ … ทราบไหมคะว่า การกระทำเช่นนั้น เป็นการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดไวเกินไป เพราะแท้จริงแล้ว ไขห่อหุ้มทารกนี้สุดแสนจะมีประโยชน์กับตัวทารกเองเลยละค่ะ เพราะมันทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกแรกคลอด และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวทารกเป็นอย่างดี แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถชำระล้างไขเหล่านี้ออกได้ในภายหลังจากนั้นนะคะ

2. อาบน้ำให้ลูกบ่อย ๆ ได้ไหมนะ

จริง ๆ แล้วผิวของทารกแรกเกิดไม่ได้สกปรกอย่างที่เราคิดหรอกค่ะ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องอาบบ่อยถึงขนาดเช้าเย็น สามารถอาบอาทิตย์ละครั้งหรือสองครั้งก็ยังได้ แต่ห้ามอาบตอนกลางคืนนะคะ เดี๋ยวตัวน้อยจะไม่สบายเอา

3. ใช้ผลิตภัณฑ์มากเกินไปหรือเปล่า

ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกมีสุขภาพผิวที่ดีด้วยกันทั้งนั้น จึงพากันเลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำให้ลูกอย่างมากมาย แต่สำหรับเด็กแรกเกิดแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปบำรุงอะไรมากเลยค่ะ เพราะผิวของเด็ก ๆ ดีกว่าที่เราคิดเสียอีก อีกทั้งยังบอบบางเกินไป ดังนั้น การอาบน้ำทารกนั้น ไม่ควรที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เยอะ แค่ใช่สบู่น้ำที่ผสมมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ก็เพียงพอแล้ว

4. น้ำร้อนเกินไปหรือไม่

การอาบน้ำให้ทารกนั้น ควรใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมเท่านั้นนะคะ ไม่ร้อน และไม่เย็นจนเกินไป ให้พออุ่นสบายก็พอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเช็คได้โดยการใช้ข้อศอกจุ่มน้ำดูค่ะว่าอยู่ในอุณหภูมิที่สบายกับร่างกายแล้วหรือยัง

5. กังวลเรื่องสายสะดือของลูก

เพราะสายสะดือ คือสิ่งที่ลูกต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้น ไม่ควรให้ลูกลงอ่างอาบน้ำจนกว่าสายสะดือจะหลุดหรือแห้งสนิท เนื่องจากความสกปรกในอ่างที่เราไม่สามารถมองเห็น อาจทำให้ลูกเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ วิธีการทำความสะอาดก็คือ ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดสายสะดือ ควรระวังอย่าให้ผ้าอ้อมปิดทับสายสะดือเพราะจะมีโอกาสสัมผัสกับปัสสาวะและเชื้อโรคได้ ที่สำคัญห้ามดึงสายสะดือเด็ดขาด สายสะดือของลูกจะหลุดออกมาเองตามธรรมชาติเมื่อถึงเวลา เด็กทารกส่วนมากสายสะดือหลุดภายในสัปดาห์ที่สองของชีวิต

วิธีการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิด

ที่มา: Parents.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

อาบน้ำทารกแรกเกิด จำเป็นต้องอาบทุกวันไหม ต้องอาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย

หน้าที่ของรก อวัยวะพิเศษหล่อเลี้ยงชีวิตทารก

5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด

วิธีทําความสะอาดสะดือทารก แต่ละขั้นตอนแบบถูกต้องทำอย่างไร

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการอาบน้ำทารก ได้ที่นี่!

อาบน้ำทารก อาบน้ำทารกแรกเกิด อาบยังไงถึงจะถูกวิธีคะ

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีการอาบน้ำทารกแรกเกิด ผิดถูกอย่างไร เช็คกันได้ที่นี่
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว