X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 53 การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่

บทความ 5 นาที
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 53 การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่

การอัลตราซาวด์ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนคุ้นเคย เพราะการอัลตราซาวด์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้พบเจอและได้เห็นพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นอกจากพัฒนาการของลูกแล้ว การอัลตราซาวด์สามารถตรวจความผิดปกติได้หรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thailand มีคำตอบมาให้คุณพ่อคุณแม่กัน

 

การอัลตราซาวด์ คืออะไร

การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นเสียงในการสร้างภาพลูกในท้องคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ ไขมัน อวัยวะในช่องท้อง และร่างกายของทารก รก น้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับเพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้ง

นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์ยังสามารถบ่งบอกตำแหน่งการตั้งครรภ์ และจำนวนทารกในครรภ์ได้อีกด้วย รวมถึงยังเป็นวิธีการตรวจนับอายุครรภ์ที่แม่นยำ โดยไม่สร้างความเจ็บปวดต่อคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์แต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยเป็นอย่างมาก

 

การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์โรงพยาบาลพญาไท 3 ได้ให้ข้อมูลว่า แม้การตรวจอัลตราซาวด์จะไม่สามารถเห็นความผิดปกติหรือความพิการทุกอย่างได้ แต่ด้วยความสามารถและประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยส่วนใหญ่จะสามารถตรวจความผิดปกติได้มากถึง 80-90%

ข้อจำกัดที่ทำให้การตรวจอัลตราซาวด์ไม่สามารถพบความผิดปกติได้ ประกอบด้วย การระบุชนิดของอวัยวะที่เกิดความผิดปกติ เช่น มือ-เท้า, แขน-ขา, ทางเดินหายใจ จะตรวจพบได้ยากมาก, ท่าของทารกขณะการตรวจ (นอนคว่ำ, ปิดหน้า, หนีบขา), คุณแม่มีรูปร่างอ้วน หรือ ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นภายหลังหรือมีความชัดเจนมากขึ้นภายหลังจากการตรวจอัลตราซาวด์ที่ทำไปในช่วงแรก คุณแม่จึงควรรับตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง (ทุก 3 เดือน)

บทความที่เกี่ยวข้อง : การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ คืออะไร จำเป็นต่อแม่ท้องมากน้อยแค่ไหน?

 

Advertisement

การอัลตราซาวด์

 

อายุครรภ์เท่าไหร่ถึงอัลตราซาวด์ได้

โดยปกติแล้ว การตรวจอัลตราซาวด์สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ เพื่อตรวจยืนยันอายุครรภ์ และทำให้ทราบกำหนดวันคลอด โดยการตรวจจะวัดความยาวของศีรษะจนถึงกระดูกก้นกบลูก และดูลักษณะของทารกในครรภ์ รวมถึงวัดความหนาของช่องทางเดินน้ำเหลืองเพื่อตรวจภาวะดาวน์ซินโดรมของลูกในท้อง

 

ข้อมูลวัตถุประสงค์ในการอัลตราซาวด์

ช่วงอายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์

  • ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์, จำนวนทารก และดูการเต้นหัวใจ
  • ตรวจภาวะตั้งครรภ์ ว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะท้องนอกมดลูก-ท้องลม หรือไม่
  • ตรวจว่ามีเนื้องอกมดลูก หรือ ถุงน้ำรังไข่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการตั้งครรภ์ หรือไม่

 

10-14 สัปดาห์

  • ตรวจหาความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงบางอย่าง
  • วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ (Nuchal Translucency) เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)

 

การอัลตราซาวด์

 

18-22 สัปดาห์

  • ตรวจความผิดปกติหรือความพิการของทารกอย่างละเอียด (Anomaly Scan)
  • ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก
  • ตรวจตำแหน่งรก สายสะดือ และปริมาณน้ำคร่ำ

 

28-36 สัปดาห์

  • ตรวจความผิดปกติของทารกอีกครั้งก่อนคลอด
  • ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก
  • ตรวจสุขภาพทารก, การหายใจ และการเคลื่อนไหว
  • ตรวจสุขภาพรก, ปริมาณน้ำคร่ำ, ประเมินภาวะรกเสื่อม
  • ตรวจความเร็วเลือดในสายสะดือและทารก (Dopplerstudy)
  • ตรวจยืนยันท่าของทารกก่อนการคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 46 ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

 

การอัลตราซาวด์

 

ผลอัลตราซาวด์เชื่อถือได้แค่ไหน

แม้ว่าการตรวจอัลตราซาวด์จะเป็นการตรวจการเจริญเติบโตของลูกน้อย แต่ก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ นั้น มาจาก

  • อวัยวะของทารกในท้องกับนอกท้องจะไม่เหมือนกัน
  • อวัยวะทารกบางอย่างเล็กมากจนอาจมองไม่เห็น เช่น นิ้วเด็กหรือหัวใจ
  • ท่าทางของทารกในครรภ์บางท่า อาจบดบังการมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ ได้
  • อวัยวะทารกยังไม่สมบูรณ์ อาจไม่สามารถบ่งบอกความผิดปกติได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงอาจเกิดความผิดปกติหลังคลอดได้

 

การเตรียมตัวก่อนอัลตราซาวด์

  • หากนัดตรวจอัลตราซาวด์ตอนเช้า คุณแม่ควรงดน้ำ, อาหาร ตั้งแต่หลังเที่ยงคืน หรือ 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจเป็นอย่างน้อย
  • หากนัดตรวจอัลตราซาวด์ตอนบ่าย ควรรับประทานอาหารเช้าที่ไม่มีไขมัน, งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิด ตั้งแต่หลัง 8 โมงเช้า จนกว่าจะตรวจเสร็จ
  • หากเข้ารับการตรวจช่องท้อง คุณแม่อาจปวดปัสสาวะขณะตรวจ และต้องกลั้นปัสสาวะไว้ก่อน แต่หากไม่ปวดปัสสาวะ คุณหมอจะให้ดื่มน้ำก่อนตรวจ 30-60 นาที เพื่อทำให้กระเพาะปัสสาวะมีน้ำเต็ม ทำให้คุณแม่สามารถตรวจอัลตราซาวด์ได้
  • หากเข้ารับการตรวจช่องคลอด คุณแม่ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการตรวจ

 

คุณหมออดิศรยังกล่าวต่อว่า คุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ โดยสูติแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (maternal-fetal medicine, MFM) เพื่อตรวจหาความพิการในทารก (anomaly scan) และติดตามพัฒนาการของทารก ปัจจุบันแนะนำว่าคุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกไตรมาส

สำหรับคุณแม่บางท่านที่มีภาวะแทรกซ้อนผิดปกติ เช่น ทารกน้ำหนักตัวน้อย, น้ำคร่ำน้อย, ครรภ์เป็นพิษ, เบาหวาน, ครรภ์แฝด เป็นต้น จะได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ที่ถี่กว่าปกติและตรวจละเอียดมากขึ้น บางครั้งอาจต้องได้รับการตรวจทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 45 เตรียมตัวก่อนไปอัลตราซาวด์

คนท้องต้องฉีดอะไรบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 5 สมุดวัคซีนแม่ท้อง

อาการผิดปกติแบบไหนที่คนท้องต้องไปพบหมอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 11

ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลสมิติเวช, enfababy

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 53 การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว