X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การอาบน้ำกับลูก คู่มือสำหรับพ่อแม่: ควรแยกอาบกับลูกน้อยเมื่อไหร่ดี?

บทความ 5 นาที
การอาบน้ำกับลูก คู่มือสำหรับพ่อแม่: ควรแยกอาบกับลูกน้อยเมื่อไหร่ดี?

การอาบน้ำกับลูก ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สร้างความผูกพันและพัฒนาการ แต่เมื่อลูก ๆ โตขึ้น หลาย ๆ ครอบครัวก็เริ่มกังวลว่าควรถึงเวลาแยกอาบน้ำกันหรือยัง วันนี้ทาง theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่มาไขข้อสงสัยนี้และช่วยหาคำตอบที่ชัดเจนสำหรับพ่อแม่มือใหม่กันค่ะ

 

การอาบน้ำกับลูก ช่วงเวลาแห่งการสานสัมพันธ์กับลูกน้อย

การอาบน้ำลูกน้อยเป็นโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยม ทั้งระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้มากมายจากการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของคุณ พ่อแม่สัมผัสลูกน้อยระหว่างการอาบน้ำ ช่วยให้เด็กรู้สึกถึงความอบอุ่นและปลอดภัย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ทุกคนผ่อนคลายและรู้สึกดีต่อกัน

นอกจากนี้ ในยุคสมัยที่โทรศัพท์กลายเป็นสิ่งของจำเป็นที่เราพกพาติดตัวอยู่เสมอ การอาบน้ำจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะวางโทรศัพท์ลงชั่วคราว ผลสำรวจเผยว่า 64% ของพ่อแม่ไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างอาบน้ำลูกน้อย ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกน้อยของคุณเป็นอย่างยิ่ง

 

การอาบน้ำกับลูก มีข้อดีอย่างไร? 

1) ลูกรักตัวเอง (Positive body image)

เวลาที่พ่อแม่รู้สึกดีกับรูปร่างของตัวเอง ลูกน้อยก็จะรู้สึกดีกับตัวเองด้วยนะ แทนที่จะบ่นเรื่องรูปร่าง ลองใช้คำพูดดี ๆ บรรยายถึงร่างกายของตัวเองและลูกน้อยแทน เช่น “ตัวเราแข็งแรง!” หรือ “แขนเรายาวเหมาะกับการกอดเลย”

 

2) รู้จักร่างกาย (Anatomy and gender differences)

 

การอาบน้ำกับลูก

 

Advertisement

เวลาอาบน้ำ ลองชี้ชวนลูกน้อยรู้จักอวัยวะต่าง ๆ ว่ามีชื่อว่าอะไร ใช้ทำอะไร เช่น ชี้ที่ตา บอกว่า “ตาไว้ดูโลกกว้าง” หรือ ชวนลูกน้อยสังเกตความแตกต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ดร. ไมเคิล แชปแมน กุมารแพทย์เวชกรรมเด็ก ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (Fellow of American Academy of Pediatrics) กล่าวว่า “เด็ก ๆ มักเริ่มอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง โดยเฉพาะช่วงวัยประมาณ 2-3 ขวบ” ซึ่งสิ่งสำคัญคือการสอนลูกน้อยให้รู้จักชื่อที่ถูกต้องของอวัยวะต่าง ๆ และสอนวิธีการทำความสะอาดร่างกายอย่างถูกต้องด้วย

 

3) การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (Changes in the body)

ลูกน้อยตัวโตขึ้นทุกวัน! เวลาอาบน้ำ ลองเล่าให้ลูกฟังว่า ร่างกายของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงตามวัย เช่น “ตอนเด็กๆ เราตัวเล็ก ตอนนี้เราตัวสูงขึ้น”

บทความที่เกี่ยวข้อง: ชวนความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ

 

4) การทดลองวิทยาศาสตร์ (Science topics)

 

การอาบน้ำกับลูก

 

การอาบน้ำจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป! โดยการใช้ของเล่นและฟองสบู่มาเป็นตัวช่วย สอนลูกน้อยเรื่องวิทยาศาสตร์สนุก ๆ เช่น น้ำหนักเบา-หนัก อะไรจมน้ำ อะไรลอยน้ำ หรือฟองสบู่มันยืดหยุ่นยังไง

 

การอาบน้ำกับลูก ควรแยกกันอาบเมื่อไหร่ดี?

แม้จะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามนี้ แต่สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมและรับรู้ถึงสัญญาณจากลูก หากลูกเริ่มแสดงความคิดเห็นหรือแสดงความรู้สึกไม่สบายใจเมื่อเห็นพ่อแม่เปลือยกาย พ่อแม่ควรหยุดเปลี่ยนเสื้อผ้าหรืออาบน้ำต่อหน้าลูก

โดย ดร. เบเยอร์ นักจิตวิทยา เผยว่า โดยทั่วไปแล้ว การที่ผู้ใหญ่ร่วมอาบน้ำกับลูกน้อยภายในบ้าน ไม่ได้สร้างผลเสียทางจิตใจให้เด็ก และหากเกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม ดร. เบเยอร์ แนะนำให้พ่อแม่หยุดอาบน้ำร่วมกับลูกเมื่อลูกเริ่มเข้าโรงเรียน ประมาณอายุ 5 หรือ 6 ขวบ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ นี่เป็นวัยที่เหมาะสมที่จะหยุดอาบน้ำกับลูก เนื่องด้วยลูกต้องการความเป็นส่วนตัวและพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้นตามพัฒนาการ การปล่อยให้ลูกอาบน้ำเองช่วยให้ลูกสร้างขอบเขตที่เหมาะสม และพัฒนาความเป็นอิสระ การอาบน้ำกับลูกหลังจากวัยนี้อาจส่งผลต่อการพัฒนาทักษะเหล่านี้ และอาจทำให้ลูก รู้สึกไม่สบายใจได้ 

ในช่วงแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะที่ลูกเริ่มฝึกอาบน้ำเอง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกเป็นอิสระและเรียนรู้ทักษะการรักษาความสะอาด

 

เทคนิคสอนลูกอาบน้ำด้วยตัวเอง

การสอนลูกอาบน้ำด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง ความรับผิดชอบ และความเป็นอิสระ จะมีเทคนิคการสอนให้ลูกอาบน้ำได้ด้วยตัวเอง ได้อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1) ให้ลูกเลือกอุปกรณ์อาบน้ำ

เด็ก ๆ ชอบมีส่วนร่วมในการทำอะไรหลาย ๆ อย่าง ลองให้ลูกเลือกอุปกรณ์อาบน้ำที่เขาชื่นชอบ เช่น แปรงสีฟัน แชมพู สบู่ ฟองน้ำขัดตัว หรือหมวกอาบน้ำที่มีสีสันสดใส แต่ต้องแน่ใจว่าของทุกชิ้นที่ลูกเลือกเหมาะกับช่วงวัยของลูกจริง ๆ เช่น แปรงสีฟันควรเป็นแปรงที่ออกแบบมาสำหรับเด็ก แชมพู สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวบอบบาง เป็นต้น

 

2) หาของเล่นสำหรับเล่นเวลาอาบน้ำ

 

การอาบน้ำกับลูก

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

 

โดยปกติแล้ว ธรรมชาติของเด็กจะชอบเล่นอะไรสนุก ๆ การหาของเล่นสำหรับเล่นเวลาอาบน้ำจะช่วยให้ลูกเพลิดเพลินกับการอาบน้ำมากขึ้น อาจเป็นตุ๊กตาลอยน้ำ ที่เป่าฟองสบู่ หนังสือลอยน้ำ หรือของเล่นที่เปียกน้ำแล้วไม่อันตรายหรือเสียหาย ของเล่นเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูก เช่น การจินตนาการ การประสานงานมือและตา และทักษะการแก้ปัญหา

 

3) ร้องเพลง เปิดเพลง แต่งเพลง

เสียงเพลงจะช่วยให้ลูกผ่อนคลาย ร้องเพลงเกี่ยวกับการอาบน้ำ นำขั้นตอนการอาบน้ำมาแต่งเป็นเพลงสั้น ๆ หรือเปิดเพลงที่ลูกชอบฟัง ลูกจะจดจำเนื้อเพลงและขั้นตอนการอาบน้ำ สามารถอาบน้ำเองได้และผ่อนคลาย

 

4) กำหนดเวลาที่ชัดเจนและให้กำลังใจ

กำหนดเวลาอาบน้ำที่ชัดเจน เพื่อสอนให้ลูกรู้จักเวลา ไปอาบน้ำได้โดยที่ไม่ต้องอิดออด เมื่อลูกอาบน้ำเองได้ ทำตามที่พ่อแม่บอก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะชมเชยและให้กำลังใจลูก ให้รางวัลเมื่อลูกทำตามขั้นตอนการอาบน้ำได้ครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น อดทน และคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกน้อยเริ่มหัดอาบน้ำด้วยตัวเอง เมื่อลูกอาบน้ำเองได้ ลูกจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และเรียนรู้ทักษะการดูแลตัวเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกในอนาคตได้ค่ะ

 

ที่มา: brightside, romper, Babymild

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาบน้ำกับลูก ถึงตอนไหนดี ลูกขี้อายไม่ยอมอาบน้ำเองควรทำอย่างไร

ลูกกลัวการอาบน้ำ จะทำอย่างไรดีเมื่อเด็ก ๆ ไม่ชอบที่อาบน้ำ งอแงทุกครั้งที่อาบน้ำ

ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม สระผมได้หรือเปล่า ลูกป่วยไม่สบายควรดูแลอย่างไร?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

samita

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • การอาบน้ำกับลูก คู่มือสำหรับพ่อแม่: ควรแยกอาบกับลูกน้อยเมื่อไหร่ดี?
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว