X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 77

บทความ 5 นาที
สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 77

ถึงแม้ว่า การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีปัจจัยหลายๆอย่าง ที่เป็น สิ่งที่ห้ามทำ ในการออกกำลังหาย สำหรับคนที่ตั้งครรภ์

การออกกำลังกาย มีประโยชน์มากสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ เพราะการออกกำลังกาย นอกจากช่วยคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ยืดเส้นยืดสาย แล้ว ยังส่งผลที่ดีไปถึงลูกที่อยู่ในครรภ์ด้วยเช่นกัน หากตัวคุณแม่ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง จะมีส่วนช่วยให้คลอดได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน แต่หากตัวคุณแม่หักโหม หรือออกกำลังกายผิดวิธี ก็จะส่งผลเสียให้กับสุขภาพของคุณแม่ และเด็กในครรภ์ด้วยเช่นกัน มาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง ที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้น สิ่งที่ห้ามทำ สำหรับการออกกำลังกาย

 

สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 77

 

สิ่งที่ห้ามทำ สำหรับ การออกกำลังกาย

  • ในช่วง 6 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ การออกกำลังควรทำด้วยความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงที่กำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ
  • กรณีที่คุณแม่เป็นโรคหัวใจ โดยปกติคนเป็นโรคหัวใจ มีข้อจำกัดเรื่องการออกกำลังกายอยู่แล้ว ยิ่งอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หัวใจยิ่งต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่คุณลูกแล้ว หากคิดจะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแล้ว ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่าค่ะ
  • กรณีตั้งครรภ์แฝด การออกกำลังกาย อาจกระทบกระเทือนต่อมดลูก และทารกได้ง่ายกว่าการตั้งครรภ์ปกติ ยิ่งในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์แล้วล่ะก็ พักผ่อนมาก ๆ จะดีต่อสุขภาพมากกว่าค่ะ
  • คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูง ที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ การออกแรงมาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยง หรือโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นค่ะ
  • คุณแม่ที่เป็นรกเกาะต่ำ การกระโดด การเคลื่อนไหวที่มีแรงกระแทก รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งต้องห้ามค่ะ
  • หากตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ คุณแม่ก็ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังหนัก ๆ ค่ะ เพราะระหว่างออกกำลัง  ร่างกายของคุณแม่จะต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น อาจทำให้ทารกในครรภ์ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอค่ะ
  • ในช่วงใกล้คลอด หากรู้สึกว่ามีอาการเกร็งตัวของมดลูกบ่อย ๆ การออกกำลัง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดค่ะ

 

สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 77

 

กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นข้อจำกัดที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่สามารถออกกำลังกายหนัก ๆ ได้ ดังนั้น หากจะออกกำลังเพื่อยืดเส้นยืดสายบ้าง ก็ควรเลือกวิธีที่นุ่มนวล เช่น การเดินเล่นรอบ ๆ บ้าน การเล่นโยคะ หรือการออกกำลังกายในน้ำ และหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

ข้อควรระวังขณะออกกำลังกาย

สำหรับคุณแม่ที่การตั้งครรภ์ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถออกกำลังกายได้ค่ะ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เช่น

  1. หลีกเลี่ยงการออกกำลังในที่ที่มีอากาศอบอ้าว
  2. ในช่วงเริ่ม และก่อนจะเลิกการออกกำลัง ต้องมีการวอร์มอัพ และวอร์มดาวน์เสมอ
  3. ไม่ออกกำลังอย่างหักโหม
  4. ไม่ควรออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกิน 30 นาที
  5. พักดื่มน้ำทุก ๆ 10 – 15 นาที เพื่อให้ร่างกายได้ระบายความร้อนออก เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป

 

สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 77

 

ระหว่างออกกำลังกาย ควรสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกายคุณแม่ รวมทั้งการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ว่าเป็นไปตามปกติหรือไม่ เพราะการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพของเขาค่ะ

 

1. กลุ่มคุณแม่ที่ห้ามออกกำลังกาย
ปกติแล้วจะห้ามเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ในข่ายเป็นโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น คุณแม่ครรภ์แฝด เคยแท้งบุตรมาก่อนหรือคลอดก่อนกำหนดและไม่รู้สึกเจ็บท้อง เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน ฯลฯ เพราะการออกกำลังกายอาจทำให้เกิดอันตรายอย่างที่กลัว ๆ กันได้ หรือถ้าอยากจะออกกำลังกายจริง ๆ ก็ควรปรึกษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์ครับ ส่วนคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครบ 4 เดือนแล้ว และมีสุขภาพปกติ ร่างกายแข็งแรง การตั้งครรภ์เป็นปกติ ไม่มีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา ก็สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติครับ

 

2. ห้ามออกกำลังกายชนิดที่หักโหมมากหรือชนิดที่ต้องใช้แรงกระแทก

เช่น กระโดดเชือก บาสเกตบอล วิ่งเร็ว การวิ่งจ็อกกิ้ง เทนนิส ปิงปอง แบดมินตัน ขี่ม้า สกีทางน้ำ กระโดดตบ สะพานหก รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น ท่าซิตอัพ แต่ควรหันมาออกกำลังกายอย่างอื่นที่เบา ๆ เช่น การเดินเป็นประจำแทน ด้วยการเริ่มจากการใช้เวลาช่วงละ 5 – 10 นาที แล้วเพิ่มเวลามากขึ้นเมื่อร่างกายชินแล้วควรเดินให้ได้วันละ 30 นาที (การเดินตอนเช้าหรือตอนเย็นในบริเวณที่อากาศไม่ร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่ค่อยเหนื่อย และควรเดินในที่โล่ง เช่น สวนสาธารณะ ริมทะเล สนามกีฬา ส่วนสถานที่ที่มีรถพลุกพล่านไม่ควรเดิน หรือถ้าไม่มีที่เดินจริง ๆ การเดินรอบ ๆ บ้านก็ช่วยได้มากเหมือนกัน) ส่วนการเล่นกอล์ฟ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ไม่ถือว่าเป็นกีฬาหักโหมแต่อย่างใด คุณแม่สามารถเล่นได้ตามปกติ

 

3. ไม่ควรออกกำลังกายจนชีพจนเต้นเร็วเกิน 120 ครั้งต่อนาที 

หรือออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อยเกินไป เพราะร่างกายจะขับของเสียออกมาในกระแสเลือดมากกว่าปกติ และเลือดจะไปเลี้ยงมดลูกได้น้อยลง ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อลูกในครรภ์ สำหรับวิธีการจับชีพจรนั้นให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง แตะที่ข้อมือด้านในใกล้ทางหัวแม่มือ แล้วนับจำนวนการเต้นของชีพจรอย่างน้อยครึ่งนาทีแล้วคูณด้วยสอง เพื่อให้ครบ 1 นาที ถ้านับการเต้นของหัวใจได้เกินกว่า 120 ครั้งใน 1 นาที แสดงว่าหัวใจกำลังทำงานหนักและอาจเกิดอันตรายได้ คุณแม่ควรหยุดพัก

 

4. คุณแม่ต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอ ว่าในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะเหนื่อยง่าย การออกกำลังกายเพียงเพื่อให้ผ่อนคลายสบายตัวก็เพียงพอแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องฟิตซ้อมร่างกายเหมือนนักกีฬา และก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง คุณแม่ควรหายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ เพื่อเป็นการเตรียมตัว ทั้งยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

    • คุณแม่ต้องหายใจอย่างสม่ำเสมอในขณะออกกำลังกาย อย่ากลั้นหายใจ เพราะจะทำให้ลูกในครรภ์ได้รับออกซิเจนน้อยลง
    • ถ้ารู้สึกเหนื่อยเกินไปขณะออกกำลังกาย ปวดกล้ามเนื้อ หรือเป็นตะคริว คุณแม่อย่าฝืนทน ควรจะหยุดพักทันที แล้วนั่งให้สบายหายเหนื่อย เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและหัวใจเต้นช้าลงจนเป็นปกติ
    • หลีกเลี่ยงการทำงานอย่างหักโหมตลอดทั้งวัน คุณแม่ควรหาโอกาสพักบ้างเป็นช่วง ๆ เช่น พักผ่อนด้วยการนอนราบ หรือยกขาทั้งสองข้างขึ้นพิงกำแพง โดยให้ส้นเท้ายันกำแพงและอยู่สูงจากพื้นราบประมาณ 1 ฟุต ให้คุณแม่ทำอย่างนี้ไปสักครู่หนึ่ง วิธีนี้จะช่วยลดการคั่งของเลือดที่ไปเลี้ยงที่ขาได้มาก หรือคุณแม่อาจใช้หมอนสัก 2 – 3 ใบมาหนุนที่น่องหรือใช้เก้าอี้เตี้ย ๆ มาหนุนปลายเท้าแทนก็ได้ ซึ่งการนอนราบแบบนี้จะช่วยให้หัวใจลดการทำงานลงและทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังคลายตัวลงได้ เพราะไม่ต้องรับน้ำหนักของมดลูกซึ่งกดทับอยู่ หรือถ้าวันไหนที่คุณแม่ต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ ก็ควรจะนอนพักบ้าง ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายได้มากเลยทีเดียว

 

ที่มา :

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
  1. https://medthai.com/
  2. https://baby.kapook.com/view26310.html
  3. https://medthai.com/%E0%B8%
  4. https://hd.co.th/exercise-postures-and-exercises-to-avoid-when-pregnant

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 77
แชร์ :
  • เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

    เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

  • ภาวะรกเสื่อม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 66

    ภาวะรกเสื่อม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 66

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

    เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

  • ภาวะรกเสื่อม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 66

    ภาวะรกเสื่อม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 66

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ