X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รกคืออะไร ความผิดปกติของรก ที่อันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความ 5 นาที
รกคืออะไร ความผิดปกติของรก ที่อันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

รกคืออะไร เราอาจไม่เห็นรกเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่จริง ๆ แล้ว รกเป็นอวัยวะพิเศษที่อยู่ภายนอกร่างกายของทารก จะเกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิของตัวอ่อน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ รกที่เจริญเติบโตไปเป็นทารก และอีกส่วนคือเซลล์ไปสร้างเป็นรกที่ติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก เชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก อยู่นอกถุงน้ำคร่ำ และมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน จากแม่ไปยังลูก และขับถ่ายของเสีย

 

รกคืออะไร

 

รกคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไรบ้าง?

รก เกิดจากเซลล์ที่มีการปฏิสนธิจากการที่ไข่ตกแล้วเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่ จนมาถึงมดลูก เซลล์นี้จึงฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารก และรก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก จะมีลักษณะแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ทั้งนี้ความหนา ยาว ขึ้นอยู่กับขนาดของทารกด้วย ทำหน้าที่แทนระบบต่าง ๆ ในระหว่างที่เซลล์กำลังพัฒนาขึ้นเป็นอวัยวะต่าง ๆ

  • สารอาหาร (Nutrition) แลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจนจากแม่สู่ลูกในท้อง
  • หายใจ (Respiration) รกเปรียบเสมือนปอด คือ เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับลูกน้อยในครรภ์
  • ขับถ่ายของเสีย (Excretion) ทำหน้าที่คล้ายกับไต คือ เป็นที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทารก
  • สร้างฮอร์โมน (Hormone Production) ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
  • ป้องกันอันตราย (Protection) เป็นโครงสร้างที่ขัดขวางไม่ให้สารหรือ microorganism บางอย่างผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อลูกอ่อน
  • เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่าง เช่น แอนติบอดี (Antibody) หรือยาบางอย่างที่ได้รับจากแม่จะถูกรกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย

 

รกคืออะไร

 

รก ความสำคัญของรกในการสร้างฮอร์โมน

1. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

รก จะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนมีความสำคัญมาก ทำให้การตั้งครรภ์สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยการยับยั้งการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ร่างกายไม่กำจัด ทารกซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายออกมาโดยไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

2. ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกสร้างจากรกและต่อมหมวกไตของทารก ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีหน้าที่เสริมสร้างเนื้อเยื่อเซลล์ต่าง ๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงที่มดลูกมากขึ้น เอสโตรเจนยังช่วยเปลี่ยนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ให้อ่อนนุ่มขึ้น ยืดขยายได้ดี เพื่อจะได้เหมาะแก่การคลอด นอกจากนี้ยังทำให้เต้านมขยาย เพื่อเตรียมสำหรับการผลิตน้ำนมอีกด้วย

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับรก

รกจะมีพัฒนาการไปพร้อม ๆ กับทารกในครรภ์ โดยจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด รกจะมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัมเลยทีเดียว แต่ก็มีข้อควรระวังคือ

  • คุณแม่ต้องรักษาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ให้ดี เพราะหากคุณแม่ท้องไม่แข็งแรง จะทำให้รกมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง การลำเลียงสารอาหารและสิ่งต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงทารกจะไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแท้งได้
  • หากมีความผิดปกติของรก จะเป็นอันตรายต่อทารกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นภาวะรกเกาะต่ำ รกค้าง รกเสื่อม หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ล้วนส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : รกลอกตัวก่อนกำหนด เกิดจากอะไร มีอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

 

รกคืออะไร

 

ความผิดปกติของรก เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

เมื่อมีความผิดปกติของรก อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก และบางครั้งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์ทุกไตรมาส คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเอง ถ้าจดบันทึกการตั้งครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ไว้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการหาสาเหตุของอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ รก อวัยวะสำคัญแต่บางครั้งคนท้องมักจะลืมว่า สิ่งนี้คือความผูกพันส่งอาหาร เชื่อมโยงความสัมพันธ์จากแม่สู่ลูกเช่นกัน

 

1. รกเกาะต่ำ

โดยปกติตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกมักอยู่ที่บริเวณด้านบนของมดลูก โดยค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายจะมีลักษณะของรกที่เกาะตรงส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมที่ปากมดลูก เรียกว่า รกเกาะต่ำ (Placenta previa) ในช่วงใกล้คลอด มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และยืดขยายมากขึ้น ทำให้รกเกิดมีรอยปริแยก และมีเลือดออกบริเวณที่รกเกาะ โดยจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอดออกมา หากเลือดออกมากและไม่หยุดไหล อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : รกเกาะต่ำ เป็นแบบไหน ทำไมใคร ๆ ก็เตือนให้คนท้องต้องระวัง

 

2. รกลอกตัวก่อนกำหนด

หากรกลอกตัวก่อนกำหนด จะทำให้คุณแม่ท้องมีเลือดออกจากช่องคลอด และเจ็บครรภ์ ส่วนทารกก็อาจขาดออกซิเจนและขาดสารอาหาร แม้จะเกิดภาวะอันตรายนี้เพียงประมาณ 1 ใน 150 คน และพบได้ในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์แต่หากไม่ได้รับการรักษาทันที รกที่เกาะอยู่บนผนังมดลูก จะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เนื้อตัวซีด ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว กระสับกระส่าย หมดสติและช็อกได้

 

รกคืออะไร

 

3. รกฝังลึก

โดยปกติรกจะฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุด้านในผนังมดลูก เมื่อทารกคลอดออกไปแล้ว รกก็จะลอกตัวและถูกคลอดตามออกมา แต่ในกรณีรกฝังลึก คือ การที่รกฝังลึกเข้าไปถึงกล้ามเนื้อ หรือบางรายทะลุออกนอกมดลูกเข้าอวัยวะอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ ทำให้เกิดปัญหา คือ หลังคลอด รกก็จะไม่คลอดออกมาด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเสียเลือดมากหลังคลอด

 

4. รกเสื่อม

รกถูกสร้างขึ้น และพัฒนาไปพร้อมกับทารกในครรภ์ เมื่อคลอดทารกออกมา รกก็จะหมดหน้าที่ลง ดังนั้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกจะค่อย ๆ แก่ตัวลง และมีแคลเซียมเกาะ ทำให้ความสามารถในการทำงานของรกลดลง ส่งผลให้เลือดที่ส่งจากแม่ไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ ทารกเจริญเติบโตช้า ลูกดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น จึงมีความเสี่ยงทารกเสียชีวิตในครรภ์สูง

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

 

รกเสื่อม

 

การรักษาโรคประจำตัวของคุณแม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จะช่วยป้องกันภาวะรกเสื่อมได้ รวมทั้งการป้องกันการตั้งครรภ์เกินกำหนด คุณแม่ควรคลอดไม่เกินอายุครรภ์ 41 สัปดาห์เพื่อลดความเสี่ยงภาวะรกเสื่อมค่ะรกมีความสำคัญขนาดนี้ ถึงแม้ช่วงชีวิตของรกมีแค่เพียง 10 เดือนแต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างและหล่อเลี้ยงชีวิตน้อย ๆ ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ภายในครรภ์ของแม่ตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การตัดสายสะดือช้าลงเป็นผลดีกับสุขภาพของทารก

สังเกตตัวเองด่วนค่ะ! ลูกดิ้นมากไปไหม? ระวังเสี่ยงรกพันคอ!

อัลตราซาวนด์ครั้งแรก กี่สัปดาห์ ถึงจะอัลตราซาวนด์ได้ คนท้องจะได้รู้อะไรบ้าง

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรก ได้ที่นี่!

รกคืออะไร รกทำงานยังไงคะ พอมีคุณแม่คนไหนทราบบ้าง

รกคืออะไร ช่วยเรื่องอะไรบ้างคะ รกจะมีอันตรายกับลูกได้ไหมคะ

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • รกคืออะไร ความผิดปกติของรก ที่อันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
แชร์ :
  • การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

    การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

  • แชร์สภาพ ร่างกายหลังคลอด ที่อยากบอกแม่ทุกคนว่าร่องรอยนี้มันเป็นเรื่องปกติ

    แชร์สภาพ ร่างกายหลังคลอด ที่อยากบอกแม่ทุกคนว่าร่องรอยนี้มันเป็นเรื่องปกติ

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

    การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

  • แชร์สภาพ ร่างกายหลังคลอด ที่อยากบอกแม่ทุกคนว่าร่องรอยนี้มันเป็นเรื่องปกติ

    แชร์สภาพ ร่างกายหลังคลอด ที่อยากบอกแม่ทุกคนว่าร่องรอยนี้มันเป็นเรื่องปกติ

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ