X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต ( NICU ) คืออะไร ? เอาไว้ทำอะไรบ้าง ?

บทความ 5 นาที
ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต ( NICU ) คืออะไร ? เอาไว้ทำอะไรบ้าง ?

NICU หรือห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต เป็นห้องที่ไม่มีคุณแม่คนไหนอยากให้ทารกน้อยที่เพิ่งคลอดของตนเองเข้าไปอยู่ด้านใน เนื่องจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต มีไว้สำหรับทารกที่มีร่างกายไม่แข็งแรง หรือทารกที่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิด เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต เอาไว้ทำอะไรบ้าง?

 

NICU คือ ?

ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต หรือ The Neonatal Intensive Care Unit : NICU เป็นพื้นที่ที่ถูกจัดไว้เป็นพิเศษสำหรับทารกแรกเกิดที่ต้องการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างใช้ชิด โดยที่ด้านในห้องอภิบาลนี้จะมีเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลทารกแรกเกิดที่มีการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการดูแลทารกแรกเกิดที่มีการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกแรกเกิดที่มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างรุนแรงเฝ้ารอสังเกตอาการ หรือจำเป็นจะต้องมีการผ่าตัดเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกต้องเข้า NICU

 

ทารกแบบไหนที่จำเป็นต้องเข้าห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต

ทารกส่วนใหญ่ที่เข้ารับรักษาที่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต คือทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม หรือมีภาวะสุขภาพที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ โดยสาเหตุของการทารกแรกเกิดจะต้องเข้าห้องอภิบาลนั้นมีปัจจัย ดังต่อไปนี้

 

ปัจจัยจากมารดา

สาเหตุหนึ่งของการที่ทารกคลอดก่อนกำหนดนั้นมาจากเรื่องสุขภาพของคุณแม่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ หรือในช่วงระหว่างของการตั้งครรภ์  โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้

    • คุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี และมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
    • ผลกระทบจากการทานยาบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อครรภ์ หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์
    • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • คุณแม่ที่มีความดันโลหิตสูง
    • มีเลือดออกจากช่องคลอดขณะที่กำลังตั้งครรภ์
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อน หรือระหว่างตั้งครรภ์
    • การตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน อาทิ แฝด 2 หรือมากกว่า
    • ภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือมากเกินไป
    • เกิดภาวะแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนเวลา หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดเวลา

 

NICU 3

 

ปัจจัยที่เกิดจากการคลอด

การคลอดเป็นส่วนหนึ่งของการนำทารกออกมาจากครรภ์ของมารดาทั้งก่อนและหลังช่วงเวลาที่สมควร แต่การคลอดนั้นก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ จนทำให้ทารกแรกเกิดนั้นจำเป็นจะต้องเข้าสู่ห้องอภิบาลวิกฤต ดังต่อไปนี้

    • การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะภายในของทารก เนื่องจากขาดออกซิเจน
    • ท่าคลอดที่ผิดปกติ ท่าก้น หรือการคลอดโดยวิธีการทำก้นออกก่อนศีรษะ
    • อุจจาระแรกของทารก หรือเมโคเนีย ผ่านน้ำคร่ำภายในครรภ์ขณะตั้งครรภ์
    • สายสะดือพันคอทารก
    • เกิดจากคีม หรือเครื่องผ่าตัด

 

ปัจจัยที่เกิดจากทารก

นอกจากการปัจจัยที่มาจากคุณแม่ตั้งครรภ์ และปัจจัยที่เกิดขึ้นในช่วงของการคลอดบุตรด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ แล้ว ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยคือ ปัจจัยที่เกิดจากทารก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักเช่นเดียวกัน โดยไม่รายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ทารกที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือมากกว่า 42 สัปดาห์
    • น้ำหนักตัวของทารกน้อยกว่า 2500 กิโลกรัม หรือมากกว่า 4000 กิโลกรัม
    • ทารกมีขนาดเล็กเกินกว่าเกณฑ์ หรือน้ำหนักไม่เป็นไปตามอายุครรภ์
    • การใช้ยา หรือการช่วยชีวิตทารกในห้องคลอด
    • ทารกพิการตั้งแต่กำเนิด
    • ทารกแรกเกิดมีอาการหยุดหายใจชั่วขณะ หรือมีการหายใจที่ลำบาก หายใจเร็ว และหายใจมีเสียง
    • มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จากมารดา อาทิ เริม หนองในเทียม และโรคสเตรปโทคอกโคสิส
    • พบอาการชัก
    • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด
    • ทารกมีความต้องการออกซิเจนเพิ่มเติม หรือการให้ยาผ่านเส้นเลือดดำ
    • ทารกที่มีความจำเป็นจะต้องรักษา หรือมีการทำหัตถการพิเศษ เช่น การถ่ายเลือด เป็นต้น

 

 

NICU 5

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าเยี่ยมลูก ได้หรือไม่?

การที่คุณแม่เพิ่งคลอดบุตรมา แต่ต้องแยกจากกันเพราะทารกนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองสามารถเยี่ยม และใช้เวลาอยู่กับทารกในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตได้ รวมถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย แต่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตก็มีข้อจำกัดเพราะว่าในหนึ่งวันจะอนุญาตให้เข้าเยี่ยมเพียงไม่กี่ครั้ง และต้องอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งในบางครั้งผู้เข้าเยี่ยมอาจต้องสวมชุดคลุม และถุงมือป้องกันของโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อของทารกที่อยู่ในห้องอภิบาล และจะต้องมีการล้างมือด้วยสบู่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้หากผู้ปกครองอยากนำของเล่น หรือสิ่งของเข้าไปด้านในจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสอบและการอนุญาตของแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของทารกที่อยู่ภายใน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 ข้อผิดพลาดที่แม่มักทำ เมื่อลูกอยู่ NICU

 

ด้านในห้อง NICU มีอุปกรณ์ใดบ้าง?

เมื่อคุณเข้าไปในห้องครั้งแรก คุณจะมีความรู้สึกตื่นตระหนกกับเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณหายดี โดยอุปกรณ์ และเครื่องมือเหล่านั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • ตู้ควบคุมอุณหภูมิ

จะเป็นในรูปแบบของเตียงขนาดเล็กที่เครื่องทำความร้อน เพื่อช่วยให้ทารกอุ่นขึ้นขณะที่อยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังและติดตามอาการ ซึ่งสามารถดูแลทารกได้ง่ายกว่าด้วยการเปิดประตูตู้และนำทารกออกมา

  • ตู้อบทารกแรกเกิด

จะมีลักษณะคล้ายกับตู้ควบคุมอุณหภูมิ เป็นเตียงที่ครอบด้วยพลาสติกใสแข็ง มีการเจาะช่องเพื่อให้สอดมือเข้าไปหาทารกได้ ซึ่งแพทย์จะไม่นำทารกออกมา แต่จะเป็นการรักษาผ่านตู้นี้แทน

  • ไฟส่อง

เด็กแรกเกิดบางตนมีปัญหาด้านสุขภาพหนึ่งที่เรียกว่า ดีซ่าน ซึ่งทำให้ผิวหนังและตาขาวของทารกเป็นสีเหลือง การส่องไฟรักษาโรคดีซ่าน ทารกจะนอนบนผ้าห่มสำหรับการรักษา และมีการเปิดไฟเพื่อรักษาโรคดังกล่าว และการรักษานี้ใช้เวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

ไฟส่องเด็ก

 

  • มอนิเตอร์

เป็นจอภาพที่จะจะช่วยให้พยาบาล และแพทย์สามารถติดตามสัญญาณชีพของทารกได้แบบเรียลไทม์ และสามารถทำให้ได้เห็นภาพของทารกขณะที่ไม่ได้อยู่กับทารกอีกด้วย โดยจะฉายภาพองค์รวมที่ทำให้เห็นเครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่

    • สายคาดหน้าอก เป็นสายคาดที่ทาบอยู่บนหน้าอกของทารก ไม่ได้ทำให้ทารกเจ็บปวดแต่อย่างใด โดยทำหน้าที่ในการรายงานอัตราการเต้นของหัวใจ และจำนวนในการหายใจของทารก
    • เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องนี้จะใช้วัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือดของทารก โดยเป็นเครื่องมือที่ติดอยู่ที่ปลายนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าของทารกนั่นเอง
    • เครื่องตรวจวัดความดันโลหิตผ่านทางหลอดเลือด หรือสายวัดความดันโลหิต
  • สายสวนทางหลอดเลือดดำ

เป็นท่อบาง ๆ ที่โค้งงอได้ ซึ่งจะเข้าไปในเส้นเลือดของทารกเพื่อให้ยา และของเหลว

  • เครื่องช่วยหายใจ

ทารกที่อยู่ในห้องอภิบาลฯ บางครั้งต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในการหายใจ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้เป็นท่อช่วยหายใจ โดยนำท่อเหล่านั้นเข้าไปในหลอดลมทางปากหรือจมูก

  • ท่อช่วยป้อนนม

ทารกที่มีการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่ป่วยและยังไม่สามารถดื่มนมจากเต้า หรือจากขวดนมได้ จะได้รับนมจากท่อดังกล่าว โดยท่อนั้นจะถูกแหย่เข้าไปทางปาก หรือจมูกของทารกและติดเทปไว้เพื่อไม่ให้เคลื่อน และพยาบาลจะมีการเปลี่ยนท่อบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันความเจ็บปวดของทารก

ทั้งนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องอภิบาลไม่ได้หมายความว่าทารกทุกคนจะได้ใช้ทั้งหมด เพราะทารกแต่ละคนก็มีการรักษาที่แตกต่างกันออก ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่มีความกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกใช้กับทารกของคุณให้มั่นใจได้ว่านั่นคือการรักษาทารกของคุณ เพื่อให้เขากลับมาใช้ชีวิตได้แบบปกตินั่นเอง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ? เราหวังว่าเมื่อคุณแม่อ่านบทความนี้จะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับทารกของคุณที่เพิ่งถูกส่งตัว หรือมีโอกาสที่จะถูกส่งตัวไปยังห้อง NICU ตั้งแต่แรกเกิดได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราขอเป็นกำลังให้ทารกของคุณผ่านเรื่องนี้ไปให้ได้ แล้วกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงในเร็ววันนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มดลูกบีบตัวบ่อย คืออาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เป็นอันตรายต่อทารกไหม

เพื่อนแม่ฟังไว้ 20 กฎเหล็ก เยี่ยมทารกแรกเกิด และคุณแม่หลังคลอด

ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต ( NICU ) คืออะไร ? เอาไว้ทำอะไรบ้าง ?
แชร์ :
  • ดนตรีบำบัด อาจช่วยให้ออกจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติได้เร็วขึ้น

    ดนตรีบำบัด อาจช่วยให้ออกจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติได้เร็วขึ้น

  • 5 ประโยคให้กำลังใจ ที่ควรพูดกับพ่อแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด

    5 ประโยคให้กำลังใจ ที่ควรพูดกับพ่อแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ดนตรีบำบัด อาจช่วยให้ออกจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติได้เร็วขึ้น

    ดนตรีบำบัด อาจช่วยให้ออกจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติได้เร็วขึ้น

  • 5 ประโยคให้กำลังใจ ที่ควรพูดกับพ่อแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด

    5 ประโยคให้กำลังใจ ที่ควรพูดกับพ่อแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ