ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย

ปัจจุบันการแท้งเป็นปัญหาสำหรับคนไทยหลายคน เพราะเรื่องท้องเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย
ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย
ปัจจุบันการแท้งเป็นปัญหาสำหรับคนไทยหลายคน เพราะเรื่องท้องเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หลายคนเคยอาจจะมีปัญหาของการลูกหลุดมาแล้ววันนี้เรามาดู ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย
เพราะอะไรท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย
มาดูภาวะแท้งซ้ำ
ภาวะแท้งซ้ำ หมายถึง การแท้งบุตร ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ อย่างน้อย 3 ครั้งติดต่อกัน ไม่นับรวมถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์ไข่ปลาอุก แต่สำหรับทางสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ภาวะแท้งซ้ำ หมายถึง การแท้งบุตรมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งติดกัน เพื่อที่จะได้ค้นหาสาเหตุหรือให้ความสำคัญเร็วขึ้น โดยทำการประเมินหาสาเหตุบางส่วนภายหลังการแท้งบุตรแต่ละครั้ง และหาสาเหตุอย่างละเอียดภายหลังการแท้งบุตรครั้งที่สองหรือมากกว่า ภาวะแท้งซ้ำ อาจเกิดขึ้นในผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรืออาจะเกิดขึ้นในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้ว ซึ่งแบบนี้จะมีโอกาสได้ลูกที่สมบูรณ์ แข็งแรงมากกว่าแบบแรก
ใครบ้างที่เสี่ยง ท้องแล้วหลุดบ่อย
ในหญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงการแท้งเพียงครั้งเดียวในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ไม่จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุทุกอย่าง เพราะอาจเป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ไม่ได้มีสาเหตุที่แน่นอน การแท้งก่อน 20 สัปดาห์นี้พบได้ประมาณ 10-15%
สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ ท้องแล้วหลุดบ่อย
1.สาเหตุด้านพันธุกรรม
ความผิดปกติของโครโมโซม ทั้งจำนวนที่ผิดปกติหรือโครงสร้างที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการแท้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ประมาณ 60% ความเสี่ยงต่อภาวะแท้งซ้ำจะเพิ่มขึ้น ถ้ามีญาติสายตรงที่เคยมีประวัติภาวะแท้งซ้ำที่ไม่ทราบสาเหตุมาก่อน ความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนครั้งของการแท้ง ( ยิ่งแท้งหลายครั้ง โอกาสที่จะมีโครโมโซมผิดปกติจะยิ่งมากขึ้น )
2.สาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก
แบ่งเป็น 2 แบบคือ ชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง รวมแล้วสามารถส่งผลต่อการเกิดภาวะแท้งซ้ำได้ 10-50%
- ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก มักจะเป็นความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น การมีแผ่นกั้นบางๆขวางกลางโพรงมดลูก มดลูกลักษณะเป็นรูปหัวใจ หรือมีมดลูกแบางตัวเป็น 2 ใบ สาเหตุที่ทำให้แท้งอาจเกิดจากความผิดปกติในการขยายตัวของมดลูกเมื่อทารกโตขึ้น หรือมีปัญหาในการฝังตัวเนื่องจากไม่มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณผนังกั้นมดลูก
- ภาวะมดลูกมีแผ่นกั้น เป็นสาเหตุของภาวะแท้งซ้ำที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบมากที่สุด มีอัตราการแท้งบุตรสูงถึง 60% แผ่นกั้นยิ่งยาวจะยิ่งมีพยากรณ์โรคแย่ขึ้น
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง
- เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกมดลูกที่อยู่ใต้ต่อเยื่อบุโพรงมดลูก หรือยื่นเข้ามาภายในโพรงมดลูก จะขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้
- ติ่งเนื้องอกโพรงมดลูก ข้อมูลยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นสาเหตุของการแท้งซ้ำ
- พังผืดในโพรงมดลูก สาเหตุเกิดจากการขูดมดลูก เยื่อพังผืดที่เชื่อมติดกันภายในโพรงมดลูกเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแท้งบุตร เนื่องจากโพรงมดลูกเต็มไปด้วยพังผืดจนไม่เหลือเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่จะประคับประคองการฝังตัวของตัวอ่อนและรก อาการที่พบได้ในกรณีนี้คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนผิดปกติ, การปวดท้องน้อยเป็นรอบ, ภาวะมีบุตรยาก และภาวะแท้งซ้ำ
- ภาวะปากมดลูกบางไม่แข็งแรง มักเป็นสาเหตุการแท้งบุตรในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ไม่ส่งผลต่อการแท้งในช่วงแรก
3.สาเหตุจากโรคต่อมไร้ท่อ
เป็นสาเหตุของภาวะแท้งซ้ำ 17-20%
- ความบกพร่องของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(luteal phase defect) โปรเจสเตอโรนมีส่วนสำคัญในการฝังตัวของตัวอ่อน และการประคับประคองให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป ดังนั้นโรคที่ส่งผลทำให้การผลิตโปรเจสเตอโรนลดลง ย่อมส่งผลต่อการตั้งครรภ์ด้วย เช่น ความบกพร่องของการทำงานของคอร์ปัสลูเตียม
- โรคเบาหวาน มีหลายๆการศึกษาพบว่าระดับ HbA1C ที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดการแท้งและความพิการแต่กำเนิดของทารกมากขึ้น แต่ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโอกาสเกิดการแท้งซ้ำจะไม่เพิ่มสูงขึ้น
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) กลไกการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเป็นเพราะการมีระดับฮอร์โมนบางตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การตกไข่ผิดปกติ , การทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ
- โรคต่อมไทรอยด์ ผู้หญิงที่มีระดับไทรอยด์แอนตี้บอดี้สูง จะพบอัตราการแท้งบุตรสูง ถึงแม้ว่าจะมีการทำงานของต่อมไทรอยด์ปกติ ส่วนในรายที่มีความผิดปกติของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ พบว่าการควบคุมภาวะไทรอยด์ต่ำ หรือสูงผิดปกติได้ไม่ดี จะสัมพันธ์กับการเกิดภาวะมีบุตรยากและการแท้ง
- ภาวะฮอร์โมนโปรแลคตินในเลือดสูง ในกรณีที่มีภาวะนี้ การรักษาให้ระดับโปรแลคตินในเลือดลดลงจะมีอัตราการตั้งครรภ์ได้สูงกว่า
4.ปัจจัยจากภูมิคุ้มกัน
5.สาเหตุด้านการแข็งตัวของเลือด
6.สาเหตุอื่นๆ
ไม่อยากท้องแล้วหลุดบ่อย ต้อง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดบุหรี่ ,แอลกอฮอล์ , กาแฟ รวมทั้งการลดน้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก จากการศึกษา พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะช่วยเพิ่มภาวการณ์เจริญพันธุ์ได้
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีการศึกษาที่พบว่าการให้โปรเจสเตอโรนในผู้ป่วยที่มีภาวะแท้งซ้ำที่ไม่ทราบสาเหตุมีประโยชน์กว่าการให้ยาหลอกหรือไม่ให้ยาเลย
- Aspirin with or without heparin จากการศึกษาพบว่าทั้งการให้แอสไพรินเพียงอย่างเดียวและการให้ทั้งแอสไพรินร่วมกับเฮปพาริน สามารถเพิ่มอัตราทารกที่คลอดปกติ ในคู่สมรสที่มีภาวะแท้งซ้ำได้
- ทำเด็กหลอดแก้วและคัดเลือกตัวอ่อน เป็นการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ก่อนที่จะนำตัวอ่อนที่ปกตินั้นย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้ทำการฝังตัวและเจริญเติบโตเป็นทารกที่สมบูรณ์ปกติต่อไป
- อุ้มบุญ ผู้ป่วยที่มีภาวะแท้งซ้ำ ที่มีปัญหาภายในโพรงมดลูกหรือตัวมดลูก หรือมีความล้มเหลวในการฝังตัวอ่อนเด็กหลอดแก้ว การใช้วิธีย้ายตัวอ่อนให้ผู้อื่นท้องให้แทน หรือ อุ้มบุญ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
- การรับบริจาคไข่ การใช้ไข่บริจาคเป็นทางเลือกหนึ่ง ในกรณีที่คู่สมรสที่อยากมีลูกแล้วเกิดภาวะแท้งซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุจากการที่ไข่ไม่สมบูรณ์ อายุเยอะ หรือมีโครโมโซมที่ผิดปกติแฝงตัวอยู่ การรับบริจาคไข่ อาจช่วยแก้ไขปัญหาได้ และช่วยเพิ่มอัตราการคลอดทารกปกติมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- รักษาแบบผสมผสาน มีการศึกษา พบว่าผู้ที่ได้รับยา เพรดนิโซโลน ,โปรเจสเตอโรน , แอสไพริน และโฟเลท ก่อนและขณะตั้งครรภ์ มีอัตราการแท้งในไตรมาสแรกน้อยกว่า และมีอัตราคลอดทารกมีชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ให้การรักษาอะไรเลย
ที่มา นพ. ชัยสึก จิวะธนะพร และ pradeepninan
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สู้กับความกลัว เมื่อคุณตั้งครรภ์อีกครั้งหลังแท้งมาก่อน ต้องสู้อีกครั้ง
ท้องอ่อนๆมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม จะเสี่ยงแท้งหรือเปล่า? มีเซ็กส์ตอนท้องอ่อนๆ