ลูกเป็นเด็กขี้เบื่อ จู่ๆ ลูกที่เคยสดใสร่าเริงกลับทำท่าเบื่อหน่ายกับสิ่งรอบตัว ทั้งเบื่อของเล่น เบื่อดูทีวี และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งปกติเราจะเห็นเด็กๆ วัย 3-4 ขวบวิ่งเล่นซุกซนได้ทั้งวัน ซึ่งอาการเบื่อของลูกไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่น่าเป็นห่วงทีเดียว
ลูกเป็นเด็กขี้เบื่อ สังเกตได้จากอะไรบ้าง?
หากสิ่งที่เขาเคยมีของเล่น ชื่นชอบ โปรดปราน อย่างตุ๊กตา หุ่นยนต์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่กลับเบื่อหน่ายไม่อยากได้หรือยากเล่นขึ้นมาเสียดื้อๆ ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรก ซึ่งการดุอาจไม่การแก้ปัญหาที่ถูกวิธี แต่การหาสาเหตุต่างหากซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้
- เบื่อสิ่งของ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ลูกเบื่อสิ่งของชิ้นนั้น เช่น เขาเริ่มบ่นว่าเบื่อนั่น เบื่อนี่ มักจะพูดซ้ำๆ ในหลายเหตุการณ์จนคุณพ่อคุณแม่เริ่มรู้สึกได้และสังเกตได้
- เบื่อเหตุการณ์ หมายถึงลูกทำสิ่งเดิมๆ มากเกินไป เช่น กิจกรรมที่ทำบ่อยๆ เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่ากับเด็กหรือผู้ใหญ่
- เบื่อสิ่งที่ยากเกินไป หมายถึง การที่ถูกให้ทำให้เรียนรู้อะไรที่เกินความสนใจ เกินความสามารถ จนพวกเขารู้สึกว่าตัวเองกำลังทำสิ่งที่ยากเกินไป หรือลูกต้องการใครสักคนให้ความสนใจ ช่วยเหลือ หรือเข้ามาเล่นด้วยกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง: เลี้ยงลูกยุคใหม่ ต้องไม่ตี วิจัยเผย ยิ่งตีลูกยิ่งทําให้ลูกคิดไม่เป็น ลูกเป็นซึมเศร้า
สาเหตุอาการเบื่อของลูกใช่แค่เบื่อสิ่งของ
รู้หรือไม่? ว่าอาการเบื่อไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอก จากสิ่งของหรือสถานการณ์ แต่ “ความเบื่อ” ยังมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพเด็กบางคนมีอาการเบื่ออาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ การขาดสารอาหาร และการไม่ได้รับการกระตุ้น หรือทำอะไรแบบเดิมนานๆ ที่กล่าวไป ดังนั้นคนที่ต้องการการกระตุ้นบ่อยๆ จึงมักเกิดอาการเบื่อได้ง่ายกว่าคนอื่น นอกจากนี้ การถูกตัดสิทธิการเลือกในการทำกิจกรรมบางอย่างที่โรงเรียนหรือจากพ่อแม่ ก็สามารถส่งผลให้เกิดความเบื่อได้ เด็กจะรู้สึกเบื่อที่จะทำกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น ถ้ากิจกรรมเหล่านั้น เด็กไม่ได้เลือกเอง แต่ผู้ใหญ่เลือกมาให้ เช่น เด็กผู้ชายอยากไปแข่งกีฬา แต่ถูกส่งไปให้หัดรำอวยพรในวันพิเศษ
ลูกขี้เบื่อ กลับมีข้อดีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม
ความเบื่อ ใช่มีแต่ข้อเสียหรืออาการน่าเป็นห่วง เพราะเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นปฏิกิริยาของลูก หรือลูกบ่นว่าเบื่อบ่อยครั้ง ก็อดที่จะไม่สบายใจไม่ได้ เพราะกลัวว่านิสัยขี้เบื่อจนติดตัวลูกไปจนโต จะกลายเป็นคนจับจด ทำอะไรไม่ได้นาน คล้ายคนสมาธิสั้น แต่จริงๆ แล้วการปล่อยให้ลูกเกิดอาการเบื่อบ้างนั้นมีข้อดังนี้
-
รู้หรือไม่? ว่าอาการเบื่อทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์
ความเบื่อสามารถสร้างจินตนาการได้ เพราะเมื่อเด็กรู้สึกเบื่อและไม่ตื่นเต้นกับอะไรที่อยู่ตรงหน้า เขาจะใช้ช่วงเวลานี้ ปล่อยตัวเองให้นั่งเฉยๆ สามารถคิดอะไรเรื่อยเปื่อย ซึ่งเป็นการสร้างจินตนาการอย่างหนึ่ง หรือแม้แต่การสร้างฝันในอากาศกับเรื่องราวน่าตื่นเต้นมากมาย ทำให้เด็กขี้เบื่อหลายคนกลายเป็นเด็กที่มีเวลาพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมากกว่าขึ้น
-
รู้หรือไม่? ว่าความเบื่อทำให้เด็กรู้จักพึ่งพาตนเอง
เมื่อความเบื่อมาเยือนเด็กบ่อยๆ บอกพ่อแม่ก็ไม่ได้ เพราะอาจจะโดนดุหรือให้ไปทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ แต่เมื่อความเบื่อเกิดขึ้น เด็กบางคนสามารถหาทางคิดทำบางอย่าง เพื่อทดแทนความเบื่อตรงนั้น และนั่นเอง ทำให้เขาได้เรียนรู้การพึ่งพาตัวเอง เขาสามารถมีโอกาสได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม เช่น เด็กที่ดูดขวดนมจนเบื่อแล้วดึงออก และหันไปมองหาอย่างอื่นมาทดแทน หรือเด็กที่เบื่อตุ๊กตาตัวเก่าแล้วหันไปหาของเล่นชิ้นใหม่ หรือดัดแปลงแก้ไขตุ๊กตาตัวเดิมให้เป็นสิ่งใหม่แม้จะดูประหลาด แต่มันคือการเรียนรู้ในการลงมือทำ
-
รู้หรือไม่? ว่าความเบื่อเป็นแรงผลักดันได้ดี
เบื่อแล้ว ไม่อยากเล่นของเล่น ไม่อยากออกไปเล่นกับเพื่อนๆ ไม่รู้สึกอยากพบปะพูดคุยกับใคร ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบทำอีกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ฟังแล้วอาจตกใจว่าลูกสิ้นหวังอะไรหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้ว พวกเขากำลังค้นหาวิธีใหม่ๆ ทดลองทำอะไรสักอย่างเพื่อความท้าทายในวัยเด็กของพวกเขาชอบที่จะเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น และคอยดูอยู่ห่างๆ ค่ะ เพราะฉะนั้น ความเบื่อที่ดีก็สามารถแปรเปลี่ยนเป็นความพยายามและความทะเยอทะยานที่ดีได้เช่นกัน
-
รู้หรือไม่? ว่าความเบื่อ ช่วยให้เด็กอยู่กับตัวเองมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกๆ จะไม่มีความสามารถหรือทักษะพิเศษ จึงจัดตารางแน่นเอี้ยดในแต่ละสัปดาห์ให้ลูกทำกิจกรรมหรือเรียนพิเศษ จนแทบไม่มีเวลาได้อยู่นิ่ง หรือใช้เวลาไปกับความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองเท่าไหร่นัก อยากให้ลองหยุดดูบ้างถ้ามีโอกาส เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มรู้สึกเบื่อกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่เตรียมไว้ให้ ลองปล่อยให้ลูกได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ได้ลองคิด ลองทำอะไรคนเดียว เนื่องจากมีงานวิจัยระบุว่าเด็กที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง จะเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดีกว่าเด็กที่ต้องใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นตลอดเวลา
บทความที่เกี่ยวข้อง: วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้
คุณพ่อคุณแม่จะแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อรู้ว่าลูกมีความเบื่อ
1. ลูกกำลังหิวหรือไม่
พิจารณาดูว่าลูกของคุณไม่ได้กำลังหิว หรือเหนื่อย เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น เขาอาจรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังเบื่ออยู่
2. ห้ามบังคับลูก
อย่าบังคับลูกโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตังใจ สังเกตว่า เขาเบื่อเพราะหมดพลังในการทำกิจกรรมนั้นๆ ที่โดนบังคับให้ทำหรือเปล่า
3. ให้ลูกเลือกเอง
ปล่อยให้ลูกเป็นคนเลือกสิ่งต่างๆ ในแต่ละวันเอง เช่น เมนูอาหารประจำวัน หรือเลือกว่าอยากจะทำการบ้านวิชาไหนก่อน
4. พ่อแม่อย่ารู้สึกผิด
ลูกเบื่อ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด เพียงลองปล่อยให้ลูกแก้ปัญหาความรู้สึกนี้ด้วยตัวเอง
5. คุยกับลูกอย่างตรงไปตรงมา
เปิดใจคุยกับลูกตรงๆ ว่า ถ้าเบื่อให้บอกพ่อแม่ จะได้หาทางเปลี่ยนทิศทางการใช้ชีวิตร่วมกัน
6. บอกลูกอย่ากลัวความเบื่อ
สอนให้ลูกอย่ากลัวเมื่อเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะความเบื่อเป็นการส่งสัญญาณว่า ว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าเก่า
7. ปล่อยให้ลูกเลือกเอง
สอนให้ลูกรู้จักเลือกในสิ่งที่เขาต้องการ และฝึกให้เขารับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่ตามมา ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม
8. คอยช่วยแก้ปัญหาข้างๆ
พ่อแม่ต้องคอยช่วยเหลือ เมื่อลูกกำลังมีปัญหากับสิ่งที่ทำ เพราะการทำอะไรยากๆ แก้ปัญหาไม่ได้สักที ก็อาจทำให้เด็กเบื่อได้
9. ใช้เวลาร่วมกัน
หาเวลาสัก 1 ชั่วโมง ให้ทั้งครอบครัวได้ใช้เวลาด้วยกัน โดยการเลิกเล่นโซเชียลฯ ปิดสมาร์ทโฟน ทีวี และหากิจกรรมทำด้วยกัน เช่นทำอาหาร เล่มเกมบอร์ด ให้อาหารสัตว์เลี้ยง
จริงอยู่ “ความเบื่อ” ไม่ว่าจะเกิดกับเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเป็นอาการที่ไม่ดีนัก ไม่มีใครอยากมีอารมณ์แบบนี้ แต่ในความเบื่อนั้น สามาถฉุดเราให้ลุกข้นมาทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งตัวลูกเองก็เช่นกัน พวกเขาต้องการแรงสนับสนุนจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อเปิดโลกและใช้คความคิดสร้างสรรค์ในวัยเด็กให้เต็มที่ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
เลี้ยงลูกไม่เครียด แม่มือใหม่ เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไม่ปวดหัว เป็นซึมเศร้า
ที่มา: aboutmom , rakluke, todaysparent
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!