X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนตัวไหนมีผลข้างเคียง อะไรบ้างหลังฉีด เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ หรือไม่

บทความ 3 นาที
วัคซีนตัวไหนมีผลข้างเคียง อะไรบ้างหลังฉีด  เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ หรือไม่

เวลาคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนทีไรก็จะหวั่นๆ ใช่ไหมคะว่าหลังฉีดลูกจะไข้ขึ้นไหม ถ้าขึ้นผื่นเป็นเรื่องปกติไหม เป็นต้น ทางเราเลยรวบรวมผลข้างเคียงของวัคซีนที่เด็กน้อยมักจะโดนฉีดกันบ่อยๆ มาให้ รวมถึงวิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีนตัวนั้นๆ ค่ะ


วัคซีนป้องกันวัณโรคหรือวัคซีนบีซีจี  

ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังฉีดคุณพ่อคุณแม่จะเห็นเป็นรอยนูนแดงขนาดประมาณ 5-15 มิลลิเมตรในตำแหน่งที่ฉีด จากนั้นจะเริ่มแตกออกเป็นแผล ต่อมาตรงกลางของรอยนูนแดงจะนุ่มลง ระยะนี้ใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 6-10 จะเป็นแผลเป็นแบนๆ ขนาด3-7 มิลลิเมตร นอกจากนี้ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงที่ฉีดวัคซีนบีซีจีอาจโตได้โดยเฉพาะที่บริเวณรักแร้มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว

 

วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

หลังฉีดลูกน้อยอาจมีอาการปวด บวมบริเวณที่ฉีดหรือมีไข้ต่ำๆ อาการมักเริ่มราว 3-4 ชั่วโมงหลังฉีดและเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง   

 

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน

ปัจจุบันวัคซีนสำหรับป้องกัน 3 โรครวมนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่วัคซีนไอกรนเป็นแบบปกติหรือเต็มเซลล์ซึ่งจะอยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข (EPI) กับชนิดที่วัคซีนไอกรนเป็นแบบไร้เซลล์ซึ่งจะอยู่นอกแผน EPI  (คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง) โดยทั้ง 2 ชนิดนี้หลังฉีดอาจทำให้ลูกน้อยปวดบวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดได้ และอาจมีไข้ อ่อนเพลีย ไม่สบาย ร้องกวน อาเจียน อาการทั้งหมดมักไม่รุนแรง อาการไข้ควรหายไปภายใน 2-3 วัน

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น แต่พบน้อย ได้แก่ ชัก ร้องไห้ไม่หยุด ตัวอ่อนปวกเปียก ไข้สูงจัด อย่างไรก็ตามวัคซีนรวมชนิดที่วัคซีนไอกรนเป็นแบบไร้เซลล์จะมีอาการข้างเคียงน้อยกว่าชนิดปกติ 2 – 3 เท่าแต่ราคาค่อนข้างสูง  อาจจำเป็นต้องใช้ในกรณีที่ลูกน้อยมีโรคชัก โรคทางสมอง หรือมีปฏิกิริยาต่อการฉีดไอกรนชนิดธรรมดาอย่างมากเช่น ไข้สูง

 

วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคนี้มีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ชนิดรับประทานและชนิดฉีด  โดยวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด มักผสมมารวมกับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนให้เป็นเข็มเดียวกัน  ซึ่งอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนชนิดรับประทานมีน้อยมาก เด็กมักไม่มีไข้ อย่างไรก็ตามจากการที่ไวรัสสายพันธุ์ชนิดที่ 2 (Virus vaccine type 2, Sabin strain) ที่เป็นส่วนประกอบในวัคซีนชนิดรับประทานอาจทำให้เกิดอาการของโปลิโอได้

น.พ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงแจ้งว่า สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจะนำวัคซีนโปลิโอชนิดฉีดมาใช้ในเด็กไทย 1 เข็มเมื่ออายุ 4 เดือน เสริมจากที่ได้รับวัคซีนโปลิโอชนิดกินอยู่แล้ว 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน และ 4 ปีตามลำดับ โดยจะเริ่มให้วัคซีนชนิดฉีดเสริมในวันที่ 1 ธ.ค.58 เป็นต้นไป และในเดือนเมษายน 2559 ประเทศไทยจะเปลี่ยนจากการใช้วัคซีนโปลิโอรูปแบบกินรวมไวรัส 3 ชนิดเป็นวัคซีนโปลิโอรูปแบบกินรวมไวรัส 2 ชนิดแทน ซึ่งวัคซีนชนิดฉีดอาจมีอาการเจ็บปวดเฉพาะที่เล็กน้อยไม่มีปฏิกิริยารุนแรงต่อร่างกาย  อาการสามารถทุเลาเองได้ อาการข้างเคียงส่วนใหญ่มักเกิดจากวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ที่ฉีดร่วมกัน

 

วัคซีนป้องกันโรค หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน

หลังฉีดลูกน้อยอาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดได้ หลังรับวัคซีน 6-12 วัน อาจมีไข้ ผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งอาการมักไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 2 – 3 วัน อาการปวดข้อพบบ่อยในผู้ใหญ่และหายได้เองใน 1-3 สัปดาห์ค่ะ

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคนี้มีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ชนิดเชื้อตาย (Killed JE vaccine) และชนิดเชื้อเป็น (Live JE vaccine ) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้หลังฉีดลูกน้อยอาจพบอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายได้เองในเวลา 2-3 วัน นอกจากนั้นอาจมีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ไม่สบาย อย่างไรก็ตามสำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตายกรณีจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นไม่ควรให้วัคซีนเพิ่มเกิน 2 ครั้ง (รวม 5 ครั้ง) หากฉีดมากครั้งเกินไปอาจเกิดอาการข้างเคียงระยะยาวทางสมองได้

ฉีดวัคซีน อาการข้างเคียง

วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อฮิบ

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนพบได้เล็กน้อย โดยลูกน้อยอาจมีอาการ เช่น ปวด บวม แดงและร้อนบริเวณที่ฉีด นอกจากนี้อาจพบไข้สูง ผื่น และอาการหงุดหงิดได้บ้าง แต่พบไม่บ่อย วัคซีนนี้เมื่อฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ไม่ได้ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้น ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อฮิบ มีชนิดที่สามารถฉีดรวมกับวัคซีนป้องกันคอตีบ– บาดทะยัก–ไอกรน–โปลิโอ และวัคซีนป้องกันตับ อักเสบบีได้

 

วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนพบเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ลูกน้อยจะมีอาการเฉพาะที่ในตำแหน่งที่ฉีดยา ซึ่งไม่รุนแรง อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย

 

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

อาการข้างเคียงของลูกน้อยหลังฉีดวัคซีนพบได้เล็กน้อย โดยลูกน้อยอาจมีปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด ไข้ต่ำ ๆ ตุ่มขึ้นหลังจากฉีด (ไม่เกิน 1 เดือน) อาการข้างเคียงรุนแรง เช่น ชักจากไข้ ซึ่งพบได้น้อยกว่าหนึ่งในพันราย

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนพบได้เล็กน้อย โดยลูกน้อยอาจมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อย มักจะเริ่มไม่นานหลังฉีด แล้วควรหายภายใน 1-2 วัน การแพ้ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตมีน้อยมาก ถ้าหากเกิดขึ้นจะปรากฏภายใน 2 -3 นาทีถึง 2- 3 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดังลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ

 

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกตหรือวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนพบได้เล็กน้อย โดยลูกน้อยอาจพบอาการข้างเคียงได้บ้าง หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการไข้ หงุดหงิด หรือซึมเล็กน้อย เบื่ออาหาร และปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดได้บ้าง อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-2 วัน อาการอื่นๆ พบได้น้อยมาก

 

วัคซีนโรต้า

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน  ได้แก่ ลูกน้อยอาจมีอาการท้องร่วงหรืออาเจียนภายใน 7 วันหลังรับวัคซีนได้ แต่อาการจะมีเพียงเล็กน้อยและมีโอกาสพบน้อย ไม่พบทำให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

หลังฉีดวัคซีน

การดูแลรักษาอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน

โดยทั่วไปหลังฉีดวัคซีนหากลูกน้อยมีอาการปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้คุณพ่อคุณแม่ประคบบริเวณนั้นด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม หากอาการข้างเคียงเป็นรุนแรง หรือเป็นมากควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และบอกอาการให้แพทย์ทราบโดยละเอียด

อย่างไรก็ตามสำหรับวัคซีนป้องกันวัณโรคหรือวัคซีนบีซีจีนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องพิถีพิถันเพิ่มขึ้นในการรักษาผิวหนังบริเวณที่ฉีดของลูกน้อยให้สะอาด โดยการใช้สำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็น แล้วเช็ดผิวหนังรอบๆ บริเวณที่ฉีดแล้วซับน้ำให้แห้ง อย่าบ่งตุ่มหนอง แผลจากการฉีดวัคซีนบีซีจี จะมีอาการพุพอง เป็นๆ หายๆ ได้อยู่ 3-4 สัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องใส่ยาหรือปิดแผลเพียงใช้สำลีสะอาดชุบน้ำเช็ดรอบแผลให้สะอาดก็พอแล้ว  ถ้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงที่ฉีดอักเสบโตขึ้นและเป็นฝีให้ปรึกษาแพทย์ค่ะ

 

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

อัพเดทวัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาวปีนี้

ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ภญ.กษมา กาญจนพันธุ์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วัคซีนตัวไหนมีผลข้างเคียง อะไรบ้างหลังฉีด เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ หรือไม่
แชร์ :
  • วัคซีนสำหรับทารก วัคซีนเด็ก ปี 2564 ตารางการวัคซีน ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้าง

    วัคซีนสำหรับทารก วัคซีนเด็ก ปี 2564 ตารางการวัคซีน ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้าง

  • ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

    ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • วัคซีนสำหรับทารก วัคซีนเด็ก ปี 2564 ตารางการวัคซีน ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้าง

    วัคซีนสำหรับทารก วัคซีนเด็ก ปี 2564 ตารางการวัคซีน ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้าง

  • ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

    ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ