จากกรณีมีหญิงสาวผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่ง โพสต์คลิปเชิงตัดพ้อว่า ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ต้องมาเจอดราม่าแรง คนคอมเมนต์ถามว่าทำไมตอนท้องไม่เอาออก ทำให้ลูกเกิดมาลำบาก โดยหลังจากนั้นมีชาวเน็ตแห่กันมาให้กำลังใจล้นหลาม
เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา นักข่าวได้พูดคุยกับ น.ส.เอ (นามสมมติ) อายุ 34 ปี แม่ของ ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ได้เปิดเผยกับนักข่าวว่า ตนเองคบกับสามีมานานแล้ว 8-9 ปี จนกระทั่งเมื่อปี 2563 ได้ตั้งท้องลูกแฝดหญิง ตนเองรู้สึกดีใจมาก ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล หมอจะแจ้งว่าลูกร่างกายแข็งแรงทุกอย่าง แต่หมอไม่ได้แจ้งว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรม พอตนเองตั้งท้องได้ 6 เดือน สามีก็ทิ้งไปมีผู้หญิงคนใหม่ ทำให้ตนต้องสู้คนเดียวทำงานหาเงินจนถึงตอนคลอดน้องออกมา
น.ส.เอ เผยต่ออีกว่า จนถึงวันที่คลอดลูกออกมา หมอได้แจ้งว่าหน้าตาของน้องออกไปทางดาวน์ซินโดรม จึงขอตรวจให้ละเอียดอีกครั้ง โดยส่งเลือดไปตรวจที่ กทม. เมื่อพอผ่านไป 1 เดือน หมอได้ยืนยันว่า ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ตนรู้สึกเสียใจมากไม่คิดว่าลูกจะเป็นแบบนี้ แต่ยังไงก็ต้องสู้และเข้มแข็งเพื่อลูกน้อยทั้งสอง
น.ส.เอ ยังบอกอีกว่า ที่โพสต์คลิปลูก ๆ ลงในติ๊กต็อก เพราะต้องการกำลังใจ แต่กลับมีบางคนมาต่อว่า ว่าตนเองทำให้ลูกเกิดมาแล้วต้องลำบาก ทำไมตอนท้องไม่เอาออก ตนเองอ่านแล้วรู้สึกเสียใจกับคอมเมนต์ และเลือกที่จะไม่อ่านอีก ถ้าตอนท้องหมอแจ้งว่า ลูกเป็นดาวน์ซินโดรมแนะนำให้เอาออก ยังไงตนเองก็ตัดสินใจเอาออก เพราะไม่อยากให้ลูกออกมาเป็นแบบนี้ แต่ในเมื่อเขาเกิดมาแล้วจะเลี้ยงให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : การตรวจคัดกรองคนท้อง หาอาการดาวน์ซินโดรม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 14
ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุดาวน์ซินโดรมเกิดจากอะไร?
ดาวน์ซินโดรม คืออะไร?
ดาวน์ซินโดรมเป็นกลุ่มที่มีอาการ ที่เกิดขึ้นจากมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเชาวน์ปัญญาต่ำ พูดช้า มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ และมีลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ค่อนข้างที่จะชัดเจน อย่างเช่น หน้าแบน หัวแบน จมูกแบน ตาเล็กเป็นวงรี คอสั้น ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น และรวมถึงมีปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมนั้นมีอายุสั้นกว่าคนปกติ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร อาการดาวน์ซินโดรมสามารถติดต่อทางพันธุกรรม ได้หรือไม่
อาการดาวน์ซินโดรม
เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะมีลักษณะใบหน้าที่แตกต่างกัน แม้ว่าในกลุ่มดาวน์ซินโดรมจะไม่ใช่ทุกคนที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่มีลักษณะทั่วไปบางอย่างที่คล้ายกัน ดังนี้
- หน้าแบน
- หัวเล็ก
- คอสั้น
- ลิ้นยื่นออกมา
- เปลือกตาเอียงขึ้น
- หูที่มีรูปร่างผิดปกติ หรือมีหูที่เล็กผิดปกติ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มือกว้าง หรือสั้นมีรอยย่นเดียวที่ฝ่ามือ
- นิ้วค่อนข้างสั้น มือและเท้าเล็ก
- มีความยืดหยุ่นสูง
- จุดสีขาวเล็ก ๆ บนส่วนที่เป็นสี (ม่านตา) ของดวงตาที่เรียกว่าจุดของ Brushfield
- ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น
สาเหตุของดาวน์ซินโดรม
ดาวน์ซินโดรมเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมโดยปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ซึ่งมีสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของแต่ละบุคคล เช่น สีของตา เพศ หรือการพัฒนา รูปร่างหน้าตาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก พ่อ 23 แท่ง และจากแม่ 23 แท่ง รวมเป็น 46 แท่ง แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีโครโมโซมทั้งสิ้น 47 แท่ง โดยมีเกินมา 1 แท่ง ในโครโมโซมคู่ที่ 21 โดยดาวน์ซินโดรมสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดตามลักษณะการเกิด แต่มีอาการแสดงที่ออกมาคล้ายกัน ได้แก่
- Trisomy 21 มีโครโมโซมในคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
- Translocation มีภาวะการสับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายโครโมโซมในคู่ที่ 21 ย้ายไปอยู่ติดกับโครโมโซมคู่อื่น
- Mosaicism มีเพียงบางเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติจึงมีอาการผิดปกติหรือลักษณะภายนอกที่แสดงออกมาน้อยกว่าแบบอื่น
การรักษาดาวน์ซินโดรม
ดาวน์ซินโดรมเป็นอาการที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแล และรักษาในด้านร่างกายควบคุมกับการฝึกทักษะรับมือข้อบกพร่องทางด้านสติปัญญาตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถที่จะพัฒนา และปรับปรุงทางด้านทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และสามารถที่จะเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้ พ่อแม่ควรใส่ใจสุขภาพของร่างกายของเด็กอยู่เสมอ ให้เด็กได้ตรวจเช็กสุขภาพร่างกายเป็นประจำ และคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะปรึกษาทางแพทย์เพื่อที่จะรับคำแนะนำในการดูแลเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมอย่างเหมาะสม ให้เด็กได้รับการบำบัดเพื่อที่จะให้สามารถที่จะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ให้เด็กหัดช่วยเหลือตนเอง หัดเดิน หัดแต่งตัว หัดพูด หัดรับประทานอาหาร หรือหัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง หรือผู้อื่น ตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็คงจะทราบแล้วว่าดาวน์ซินโดรมนั้นก็คือ ผู้ป่วยมีอาการเชาวน์ปัญญาต่ำ พูดช้า และมีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ แม้ว่าดาวน์ซินโดรม จะไม่ใช่ทุกคนที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่จะมีลักษณะทั่วไปบางอย่างที่คล้ายกันเช่น หน้าแบน หัวเล็ก คอสั้น เป็นต้น ส่วนสาเหตุของดาวน์ซินโดรมนั้นคือ โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมีโครโมโซม 47 แท่ง โดยมีเกินมา 1 แท่ง และไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแล และรักษา ต้องฝึกทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจสุขภาพของร่างกายของเด็กอยู่เสมอด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?
21 มีนาคม วันดาวน์ซินโดรมโลก World Down Syndrome Day
โรคดาวน์ซินโดรม โรคทางพันธุกรรมที่มักพบได้ในเด็ก ป้องกันและรักษาอย่างไร
ที่มา :
khaosod.co.th
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!