เรียกได้ว่าการเจ็บป่วยของมนุษย์ เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้จริง ๆ ค่ะ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วย ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม ที่ถ้าหากเลือกได้ เจ้าตัวคงไม่อยากเกิดมาพร้อมกับอาการเหล่านี้ ในวันนี้ theAsianparent จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มากขึ้นค่ะ
ทำไมถึงควรจะต้องรู้เรื่องผู้ป่วยกลุ่มนี้
ในช่วงนี้สังคมไทย ต่างก็ให้ความสนใจกับซีรีส์ Netflix ที่ชื่อว่า The Glory โดยซีรีส์เรื่องดังกล่าว เป็นการพูดถึงความรุนแรงในโรงเรียน จากกลุ่มเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน จนทำให้เธอต้องลาออกจากโรงเรียน เนื่องจากว่าเนื้อหาซีรีส์เป็นอะไรที่สอดคล้องกับ สังคมนักเรียนในประเทศไทย จึงมีการพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในโลกทวิตเตอร์ ที่ได้มีผู้ใช้งานรายหนึ่ง ออกมาพูดถึงประเด็นดังกล่าว พร้อมกับระบุว่า มีนักแสดงรายหนึ่งกลั่นแกล้งเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษ เมื่อสมัยมัธยมด้วยการสาดน้ำเขียวใส่กลางโรงอาหาร
ซึ่งหลังจากที่มีการโหนกระแสนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนตามหาว่าเป็นนักแสดงคนไหน บางคนบางครอบครัวก็มาแชร์ประสบการณ์ เนื่องจากเป็นความใกล้ตัว พร้อมทั้งบอกว่าการเป็นเด็กพิเศษ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกไม่ดีอยู่แล้ว ยิ่งในสังคมที่มีเด็กเยอะ ๆ การกลั่นแกล้งเด็กพิเศษ ยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่ากระทำ
ในทวิตเตอร์มีกลุ่มคนพูดถึง น้องนักเรียนที่ชื่อว่าบุ๋น ที่เป็นเด็กพิเศษแต่ได้ความรัก และความเอ็นดูจากเพื่อน ๆ ในห้องเรียนเป็นอย่างดี แต่เรื่องที่หลายคนยังคงสับสน นั่นก็คือการแยกระหว่าง ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม ได้ไม่ครบถ้วน อาจจะมีการสื่อสารที่ผิดพลาดออกไป ดังนั้นการทำความเข้าใจในกลุ่มผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สังคม ควรได้รับการเรียนรู้ ถ้าหากพร้อมแล้วมาเรียนรู้และทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ซีรีส์เกาหลี Extraordinary Attorney Woo ซีรีส์ที่ทำให้เข้าใจเด็กออทิสติกมากขึ้น
รู้และเข้าใจ ออทิสติกกับดาวน์ซินโดรม
หลายคนคงรู้จัก โรคออทิสติก และโรคดาวน์ซินโดรม หรือที่เราเรียกเด็ก ๆ กลุ่มนี้ว่า “เด็กพิเศษ” เนื่องจากว่า การที่จะแยกกลุ่มทั้งสองออกจากกัน ยังคงเป็นเรื่องยากอยู่มาก เชื่อว่าหลายคนเอง คงยังไม่ทราบถึงความแตกต่างของสองประเภทนี้ว่า ต่างกันเช่นไร
ออทิสติกคืออะไร ?
ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) เป็นความผิดปกติของสมอง และระบบประสาทที่หลากหลาย ไม่พบความผิดปกติที่จำเพาะ และไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู ภาวะนี้อาจทำให้เกิดการทำอะไรซ้ำ ๆ มีปัญหาในการเข้าสังคม มีปัญหาด้านภาษา ฯลฯ ซึ่งความรุนแรงจะแตกต่างกันไป บางคนอาจเข้าสังคมได้ดี ไม่กลัวคน มีความสามารถที่ดีเลิศในด้านใดด้านหนึ่ง บางคนอาจเก็บตัวเงียบ ไม่สบตาคน ไม่กล้าเผชิญหน้าผู้คน ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ดาวน์ซินโดรมมีลักษณะอย่างไร ?
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เป็นอาการที่เกิดจากสารพันธุกรรม โครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกติ ทำให้กระบวนการควบคุม การสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนไป ส่งผลให้คน ๆ นั้น มีความบกพร่องทางสติปัญญา และมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน กายภาพภายนอก จะแตกต่างจากคนปกติอย่างชัดเจน
สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม ได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ออทิสติก : เกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท ไม่ส่งมีความผิดปกติทางกายภาพ
- ดาวน์ซินโดรม : เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้กระบวนการสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนไป มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากคนปกติชัดเจน
สาเหตุการเกิดออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม
|
ออทิสซึม |
ดาวน์ซินโดรม |
เกิดจากความผิดปกติของสมอง และระบบประสาทที่หลากหลาย เช่น ความผิดปกติของระบบสมอง ระบบประสาท ปัจจัยทางพันธุกรรม ฯลฯ |
เกิดจากโครโมโซม คู่ที่ 21 ผิดปกติ คือเกินมา 1 ขา ทำให้กระบวนการควบคุม การสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนไป |
ลักษณะของออทิสติก
คนที่เป็น มักไม่มีความผิดปกติทางกายภาพ ออทิสติกจึงสังเกตได้จากความใกล้ชิด พฤติกรรม และการสื่อสารที่แตกต่างจากคนอื่นเท่านั้น กล่าวคือคนที่เป็นออทิสติก 100 คน ก็จะมีนิสัยต่างไป 100 แบบ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า พฤติกรรมหรือการเข้าสังคม ของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร
ลักษณะทางกายภาพ ของดาวน์ซินโดรม
- รูปร่างเตี้ย
- ลิ้นยื่นและจุกที่ปาก
- คอสั้น
- ศีรษะเล็ก
- ช่องปากแคบ
- หน้าแบน
- ตาเฉียงขึ้น
- ท้ายทอยแบน
- ดั้งจมูกแบน
- ใบหูเล็ก,ต่ำ
แนวทางการดูแลรักษา
1. แนวทางการรักษาออทิสซึม
ใช้ยารักษา เช่น ยากันชัก ยาช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านที่บกพร่อง เช่น
- ฝึกพูด ฝึกการเข้าสังคม
- ฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ฝึกใช้ทักษะในชีวิตประจำวัน
2. แนวทางการรักษาดาวน์ซินโดรม
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ป่วยง่าย จึงต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม ถูกสุขอนามัย พร้อมกับต้องมีการฝึกฝนพัฒนาการ เช่น
- การช่วยเหลือตนเอง
- ควบคุมตนเอง
- ฝึกพูดเพื่อปฏิสัมพันธ์
- กายภาพบำบัดที่เหมาะสม
และนี่คือความแตกต่างของกลุ่มผู้ป่วย ออทิสติก และดาวน์ซินโดรม ที่ควรต้องเรียกให้ถูก แยกให้ออก แต่ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันมากแค่ไหน อันดับแรกที่สำคัญก็คือครอบครัว เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ ส่วนที่สำคัญต่อมาก็คือคนในสังคม เมื่อมีเพื่อนหรือใครที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยนี้ ไม่ควรทำให้เขาเสียใจ หรือรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง เพราะว่าครอบครัวเขาต่างก็ปกป้องและดูแล เพื่อให้คนสำคัญคนนั้นใช้ชีวิตได้ปกติ คนในสังคมจึงควรช่วยกันป้องกันด้วย อย่าลืมเพิ่มความเห็นอกเห็นใจกับเพื่อนมนุษย์ และลดความใจร้ายในการบูลลี่ลง เพื่อให้สังคมน่าอยู่ขึ้นกันนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตรวจก่อนเจอก่อน! ตรวจคัดกรอง ดาวน์ซินโดรม แม่อายุน้อยลูกก็เป็นได้
ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร อาการดาวน์ซินโดรมสามารถติดต่อทางพันธุกรรม ได้หรือไม่
สุดน่ารัก!! เด็กหนุ่มออทิสติกวัย 17 ปี มากความสามารถที่มีพรสวรรค์เรื่องดนตรี
ที่มา : thisable
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!