สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวานนี้ (1 มีนาคม 2566) ว่า TikTok ประกาศแผนเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ตั้งใจ ให้เด็กลดเวลาการใช้งาน ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้เหลือไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง หรือ 60 นาที โดยหากใช้งานเกินกำหนด จะถูกบังคับให้ใส่รหัสผ่านเพื่อยืนยันว่าจะใช้งานต่อไป
โดยฟีเจอร์นี้ ได้เปิดใช้งานเฉพาะผู้ใช้งานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเท่านั้น และเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น หากเมื่อเล่นจนครบ 60 นาที ระบบจะขึ้นแบนเนอร์แจ้งเตือน หากต้องการเล่นต่อ จำเป็นต้องใส่รหัส passcode เท่านั้น ถึงจะสามารถเล่นต่อได้
หากในผู้ใช้งานที่มีอายุต่ำกว่าอายุต่ำกว่า 13 ปี ระบบจะแสดงผลการแจ้งเตือนที่ 60 นาทีเช่นเดียวกัน แต่การจะที่เล่นต่อไปได้ จำเป็นจะต้องให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นคนใส่ passcode ให้ หากผู้ใช้งานอายุต่ำกว่า 18 ปี เลือกที่จะไม่จำกัดเวลาเล่นใด ๆ เลย ระบบก็จะแสดงการแจ้งเตือนให้เปิดตั้งค่าการใช้งาน เมื่อผู้ใช้งานเล่นจนถึง 100 นาที
ดังนั้นไม่ว่าเยาวชนจะเปิดตั้งค่าระบบหรือไม่ ระบบก็จะแจ้งเตือนให้ลดเวลาการใช้หน้าจออยู่เรื่อย ๆ นั่นเองค่ะ นอกจากนี้แล้ว TikTok จะทำการส่งรายงานเป็นรายสัปดาห์ ว่าเด็ก ๆ นั้นใช้งาน TikTok กันไปมากขนาดไหนในภาพรวมทั้งหมด
โดยทาง TikTok ยังบอกอีกด้วยว่า ได้ปรึกษากับองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านเยาวชน Digital Wellness Lab ที่โรงพยาบาลเด็กบอสตัน ถึงการระบุเวลาที่เหมาะสมกับเด็ก และยังบอกด้วยว่าจากการทดสอบก่อนหน้านี้ จะสามารถช่วยลดเวลาหน้าจอของเด็ก ๆ ได้ถึง 234%
ภายในระยะหลังมานี้ TikTok ได้รับคำวิจารณ์เป็นอย่างมากว่า เป็นแอปที่ทำให้สมาธิสั้น และเกิดการเสพติดได้โดยง่าย ทางบริษัทจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการใช้งานฟีเจอร์จำกัดเวลาใช้งาน คือ Family Pairing โดยให้ผู้ปกครองควบคุมการใช้งาน TikTok ในเด็กได้ เล่นโดยระบุเวลาที่ให้เล่นได้ต่อวัน ปิดการแจ้งเตือนเพื่อไม่ให้เสียสมาธิ เป็นต้น
ทั้งนี้นอกจากฟีเจอร์จำกัดเวลาในเยาวชนแล้ว อนาคตของ TikTok จะเปิดใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวแก่ผู้ใช้งานทุกคน โดยตั้งค่าจำกัดเวลาหน้าจอสำหรับแต่ละวัน ตั้งเวลาเพื่อปิดเสียงการแจ้งเตือนได้ และตั้งเวลาเตือนให้ไปนอนได้ ถ้าวันไหนเล่นเพลินจนเลยเวลานอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : แพทย์เตือน!! ปล่อยลูกเล่นมือถือนาน ๆ เสี่ยง หน้าเบี้ยวครึ่งซีก
วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
1. อย่าปล่อยให้ลูกเล่นมือถือคนเดียว
หากเวลาให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ อย่ามัวคิดแต่จะให้ลูกเล่นเพื่อให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ หรือหยุดร้องไห้ด้วยโทรศัพท์ ผู้ปกครองควรสอดส่องดูแล คอยดูว่าลูกเล่นอะไร เหมาะสมหรือไม่ อธิบายและให้คำแนะนำกับลูกระหว่างเล่นด้วยเสมอ จะเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการและเรียนรู้ไปในตัวอีกด้วย เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ป้องกันการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ที่อาจกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้ค่ะ
2. หากิจกรรมอื่นทำร่วมกัน
นอกเหนือจากเล่นโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย ยิ่งถ้าหากลูกเริ่มติดจอมากเกินไป ให้ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันทำในครอบครัว เช่น ไปเที่ยวข้างนอกบ้าน ไปออกกำลังกายด้วยกัน หรือลองสังเกตจากเกมที่ลูกเล่น แล้วหากิจกรรมที่ใกล้เคียงกับเกม มาเล่นกับลูกแทนได้ เพื่อให้ลูกละสายตาจากหน้าจอ ออกมาสนใจโลกแห่งความเป็นจริง
บทความที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรม มีนาคม 2566 แนะนำอีเวนท์น่าสนใจ จับมือพาครอบครัวไปเที่ยวกัน!
3. ให้เล่นได้ แต่อย่าให้เป็นเจ้าของ
หากให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรให้ลูกรู้สึกว่าเป็นเจ้าของโทรศัพท์เครื่องนั้นเด็ดขาด เพราะถ้าหากลูกเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของแล้ว ลูกมักจะโมโหหากพ่อแม่สั่งให้หยุดเล่น จนทำให้ไม่สามารถควบคุมการใช้งานของลูกได้เลย เพราะฉะนั้นพ่อแม่จะต้องแสดงให้เห็นเลยว่าเป็นเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้อยู่นะ เพียงแต่ให้ลูก ๆ ได้เล่นบ้างในบางเวลาเท่านั้นค่ะ
4. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
พ่อแม่ยุคดิจิทัลนั้น คงเป็นเรื่องยากที่จะวางโทรศัพท์มือถือไว้ห่างจากตัว เพราะถ้าพูดตามตรงแล้ว โทรศัพท์มือถือก็ดูเหมือนกลายมาเป็นอีกอวัยวะหนึ่งของเราไปแล้ว ใช้ติดต่อสื่อสารหรือทำงานอยู่ตลอดเวลา และหากต้องควบคุมพฤติกรรมของลูก ๆ พ่อแม่ก็ควรจะต้องมีวินัยและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกด้วย นอกจากจะทำให้ลูกเห็นแล้ว การที่พ่อแม่วางโทรศัพท์มือถือลง ก็จะทำให้มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้นด้วยค่ะ
5. กำหนดเวลาเล่นไม่เกินวันละ 2 ชม.
คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกน้อยไปในตัว โดยปกติแล้วไม่ควรให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดทั้งวัน โดยควรให้ได้แค่วันละ 60 นาที และในวันหยุดอาจจะเพิ่มเป็นให้เล่นได้วันละไม่เกิน 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมงนั้นเอง
6. กฎเป็นกฎ อย่าใจอ่อน
คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะใจอ่อน ตามใจลูก เวลาที่ลูกแอบเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยนะคะ หากเมื่อหมดเวลาตามข้อตกลงแล้ว กฎก็ควรเป็นกฎ ไม่มีการขอต่อเวลา คุณพ่อคุณแม่ยุคดิจิทัลจะต้องใจแข็งหน่อยนะคะ ยึดตามข้อตกลงที่คุยกันไว้ตั้งแต่แรก ถ้าไม่ทำตามก็ต้องมีทำโทษหรือยึดเครื่องคืน ให้เขาเข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่เอาจริง ลูกอาจจะมีหงุดหงิดบ้าง แต่ถ้าเราหัดจนเป็นนิสัย ลูกก็จะมีระเบียบวินัยขึ้นเอง
หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกติดหน้าจอ อย่าลืมที่จะดูแลเอาใจใส่ สอดส่องดูแล โดยไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นมือถือเพียงลำพัง ควรจะหากิจกรรมทำร่วมกัน โดยถ้าหากให้ลูกเล่นมือถือก็ไม่ควรที่จะให้ลูกรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ พ่อแม่ต้องให้รู้ว่าเป็นเจ้าของอุปกรณ์นี้อยู่ เพียงแต่ให้ลูก ๆ ได้เล่นบ้างในบางเวลาเท่านั้น และพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ๆ กำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเล่นมือถือ ให้ไม่เกินวันละ 2 ช.ม. และอย่ายอมใจอ่อนเป็นเด็ดขาด กฎเป็นกฎ เท่านี้ก็จะสามารถช่วยให้ลูกไม่ติดหน้าจอได้แล้วล่ะค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?
5 วิธีจำกัดสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก ช่วยลูกพ้นจากสื่อที่เกินคำว่าเหมาะสม
เด็ก 1 ขวบเด็กเกินไปไหมที่จะเล่นไอแพด อายุเท่าไหร่ถึงจะเล่นได้ ?
ที่มา : newsroom.tiktok.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!