หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ ต้องทุกข์ใจแค่ไหนเมื่อต้องส่งลูกไปโรงเรียนแล้วต้องเจอเหตุการณ์อย่างคุณพ่อท่านนี้ ที่ได้มาโพสต์ลงเฟซบุ๊กว่า ครูสั่งนักเรียนถอดรองเท้ายืนตากแดด พร้อมภาพเท้าของลูกที่บาดเจ็บ ไหม้พอง จากการที่คุณครูไม่เชื่อว่านักเรียนเจ็บเล็บขบและสั่งให้ทำการดังกล่าว
ครูสั่งนักเรียนถอดรองเท้ายืนตากแดด !
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กของคุณพ่อ สุรศักดิ์ สุขประเสริฐ ได้โพสต์ข้อความว่า ” วันนี้ลูกชายไม่ได้ใส่รองเท้านักเรียน เนื่องจากเล็บขบ อธิบายกับครูแล้ว ครูไม่เชื่อ สั่งให้ถอดรองเท้ายืนตากแดด บนถนน ตอนเที่ยง จะตีก็ได้ไม่ว่า เพราะถ้าแบบนี้เด็กเดินทางไปโรงเรียนไม่สะดวก เรียนมาก็สูง เอาสมองส่วนไหนคิด ตีเป็นรอยก็ไม่ว่าอะไรหรอก อย่างน้อยก็ไปโรงเรียนสะดวก ฝากด้วยครับ” พร้อมรูปภาพประกอบ ซึ่งเป็นรูปเท้าของลูกชาย ที่บาดเจ็บจากการยืนตากแดดตอนเที่ยงด้วยเท้าเปล่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่ใจสลาย! ลูกบ่นเจ็บหูเจ็บตา ผ่านไป 2 วันถึงรู้สาเหตุว่า ลูกสาวถูกเห็บกัด
(คลิกเพื่อดูโพสต์ต้นฉบับ)
จากรูปจะเห็นได้ว่า ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้า เป็นแผลพุพอง จากการยืนบนพื้นที่ร้อนจัดในเวลาเที่ยงวัน เมื่อคุณพ่อได้โพสต์นี้ออกไป มีคนมาคอมเมนต์กันมากมาย ส่วนมากจะต่อว่าการกระทำของคุณครูคนดังกล่าว และขอให้ทางโรงเรียนออกมารับผิดชอบ เพราะถือว่าคุณครูทำเกินกว่าเหตุ ส่วนทางด้านคุณพ่อ ได้คอมเมนต์สั้น ๆ ว่า เดี๋ยวจะเดินทางไปพูดคุยกับทางโรงเรียนในวันเช้าวันศุกร์ ( วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 )
ลูกโดนของร้อน แผลพุพอง รักษาอย่างไร
- ก่อนอื่นควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำสบู่อ่อน ๆ ไม่ควรถูแรง ๆ เด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น แล้วค่อยใช้ผ้าซับให้แห้ง
- ต่อมาให้ทายาตามขนาดแผล สำหรับแผลที่ขนาดเล็ก แต่ผิวหนังเปิด ให้ทายาลงบนแผล และปิดด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ส่วนแผลที่มีขนาดกว้างกว่า เมื่อล้างแผลแล้ว ให้ทายาทันที
- จากนั้นใช้สำลีแผ่นบาง ๆ เรียบ ๆ ชนิดที่ดูดหนองออกได้ จากนั้นวางไว้บนแผล แล้วพันทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วค่อยเปิดดูแผล ถ้าแผลมีอาการดีขึ้นก็ให้ล้างแผลและทายาอีกครั้ง แล้วจึงปิดทับเหมือนเดิมอีกรอบ ทิ้งไว้ 2-3 วันค่อยล้างแผลใหม่ แต่ถ้าแผลยังคงมีหนอง และไม่ดีขึ้นภายใน 3 อาทิตย์ให้รีบไปพบแพทย์
- เมื่อแผลหายดีแล้ว ไม่ควรออกไปโดนแสงแดดทันที ควรหลีกเลี่ยงการออกแดด 3-6 เดือน และพกโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่มีมอยส์เจอไรเซอร์สูง ติดตัวไว้ทาบริเวณแผล เมื่อมีอาการคันและแสบ โดยเฉพาะแผลที่ใช้เวลารักษานานเกิน 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเสียดสีจนแผลอาจนูนขึ้น และกลายเป็นแผลเป็นได้
คำแนะนำในการดูแลแผลน้ำร้อนลวก
กรณีโดนที่ใบหน้า : ทายาที่มีส่วนผสมของคลอแรมฟินีคอล (chloramphenicol ointment) 1% วันละ 3-4 ครั้ง หรือเมื่อแผลเริ่มแห้งก็ทาได้เรื่อย ๆ และควรเปิดแผลทิ้งไว้
กรณีที่โดนตรงมือและขาหรือเท้า : ถ้าแผลเปิด ให้ล้างแผล ทายา และพันแผลหลาย ๆ รอบแล้วหาไม้มาดามตรงบริเวณแผล จากนั้นยกแผลให้สูงขึ้น เป็นเวลา 72 ชั่วโมง จากนั้นค่อยมาบริหารกล้ามเนื้อ ตรงบริเวณที่เป็นแผลต่อไป
กรณีโดนที่ข้อต่อต่าง ๆ ตามร่างกาย : หากมีแผลตามข้อต่าง ๆ เช่น ข้อพับ ข้อมือ ข้อเข่า และข้อเท้า เป็นต้น อาจเกิดแผลดึงรั้งยึดติดได้ ถ้าปล่อยไว้อาจจะเกิดการผิดรูปจนอาจทำให้พิการ เพราะฉะนั้นเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ให้บริหารร่างกายและข้อต่ออย่างจริงจัง และรับคำแนะนำจากคุณหมอ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกโดนของร้อน น้ำร้อนลวก รักษาอย่างไรไม่ให้เป็นแผลเป็น?
ระดับความรุนแรงของแผลไหม้
ระดับความรุนแรงของแผลไหม้ แบ่งออกได้ดังนี้
ความรุนแรงระดับแรก (First Degree Burn)
ความรุนแรงระดับแรก ถือเป็นความรุนแรงที่เบามากที่สุด ซึ่งมักเกิดขึ้นได้บ่อยมากกับเด็ก ๆ โดยลักษณะของแผลนั้น จะอยู่บริเวณหนังกำพร้า และจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย อาจรู้สึกแสบบริเวณที่ถูกของร้อนลวก
ความรุนแรงระดับที่สอง (Second Degree Burn)
ความรุนแรงในระดับนี้ จะมีความรุนแรงมากกว่าระดับแรกตรงที่ บาดแผลที่เกิดขึ้น จะมีสีแดง และมีตุ่มพอง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดรุนแรง และมีแผลที่หายยากกว่า ความรุนแรงในระดับนี้มักจะเกิดแผลเป็นอีกด้วย หลังจากหายแล้วควรใช้ยารักษาแผลเป็นเอาไว้ด้วยนะคะ
ความรุนแรงระดับที่สาม (Third Degree Burn)
บาดแผลจากความรุนแรงระดับที่สาม บาดแผลจะลึกลงไปถึงชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งจัดเป็นบาดแผลระดับรุนแรงมากที่สุด โดยบริเวณที่ถูกลวกนั้น จะเห็นไปถึงเนื้อสีขาวขุ่นด้านในผิว และเส้นระบบประสาทของผิวหนังจะถูกทำลาย จนสร้างความเจ็บปวดให้แก่เด็ก ๆ เป็นอย่างมาก และยังเกิดเป็นแผลเป็นได้อีกเช่นกัน และอาจรักษาแผลเป็นได้ยากกว่าในระดับอื่น ๆ อีกด้วย
การกระทำที่เกินกว่าเหตุของคุณครู ส่งผลระยะยาวต่อจิตใจของเด็ก ๆ และผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ในโรงเรียนอีก ผู้ปกครองควรพูดคุยกับบุตรหลาน และทางโรงเรียน ว่าการกระทำใดที่ไม่ควรทำ หรือถ้าหากบุตรหลานทำผิดควรลงโทษอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบต่อความรู้สึกทางใจและทางร่างกายของเด็ก ๆ นั่นเองค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ผอ. โกงค่าอาหารเด็กนักเรียน หลักฐานมัดตัว ภาพจากกล้องวงจรปิดชัดเจน !
เด็ก 4 ขวบ กลืนลูกปัด 61 เม็ด จนลำไส้ กระเพาะ ทะลุ ! บ้านไหนมีเด็กเล็กต้องอ่าน
เจอแล้ว! ภรรยา ตามหาสามีพร้อมลูก หลังเครียดถูกหลอกไปทำงาน ตปท.
ที่มา : facebook
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!