วันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายนของทุกปี โรคที่ผู้สูงอายุป่วยเป็นอันดับที่ 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคเบาหวาน นับเป็นอาการเจ็บป่วยที่ผู้สูงอายุในประเทศไทย ป่วยและเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 รองจากความดัน ซึ่งวันที่ 14 พ.ย. ของทุกปี ถูกจัดตั้งให้เป็น วันเบาหวานโลก มีมาตั้งแต่ในปี 1991 โดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (IDF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) กลายเป็นวันสหประชาชาติอย่างเป็นทางการในปี 2006 ซึ่งหลายที่ก็แนะนำว่าอาการนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

 

จากรายงานสถิติสาธารณสุข โรคเบาหวานทั่วโลกในปี 64 มีผู้ป่วยจำนวน 537 ล้านคน และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และโรคเบาหวานมีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก ๆ 5 วินาที ส่วนในประเทศไทยพบว่าโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.3 ล้านคน ในปี 63 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 คน

 

โรคเบาหวาน คืออะไร ?

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติ ในการผลิตหรือตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพและทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตาสูญเสียการมองเห็น ไตวายเรื้อรัง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ชาปลายมือปลายเท้า รวมถึงเป็นแผลหายยาก บางรายอาจจำเป็นต้องตัดขา

 

กรมควบคุมโรค ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดโรงเรียนเบาหวาน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานในการจัดการตนเองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ และการดูแลทางด้านจิตใจผู้ป่วยให้เข้าถึงโปรแกรมความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคเบาหวานทั้งบุคคล ครัวเรือน และชุมชน การติดตามผลการดูแลด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชันสมุดสุขภาพประชาชน เพื่อดูแลและจัดการตนเองให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด

แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค ดังนี้

 

1. เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus, T1DM)

เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน พบประมาณ 5 – 10 % ของโรคเบาหวานทั้งหมด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานชนิดนี้ คือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus, T2DM)

พบมากถึงร้อยละ 90 – 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด สาเหตุเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่วนมากเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วน อายุที่มากขึ้น เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้

 

3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes mellitus, GDM)

พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 – 3 พบว่า 2 – 5 % ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยร้อยละ 40 ของคุณแม่ที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์มีโอกาสพัฒนาเป็นเบาหวานต่อไปได้ในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (Specific Types of Diabetes Due to Other Causes)

เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรม การผ่าตัด สารเสพติด ภาวะขาดสารอาหาร การติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคจากตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรืออาจเกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

 

การป้องกันภาวะแทรกซ้อน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี พบแพทย์สม่ำเสมอ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ที่รักษา ห้ามปรับยาเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเท้าด้วยตัวเอง หากเป็นแผลควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่

 

 

การป้องกันโรคเบาหวานควรปฏิบัติ

  1. เลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เน้นผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ
  2. ลดอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม
  3. ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  4. ทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  5. ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  6. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพทุกปี

 

ธีมและคำขวัญ วันเบาหวานโลก

ธีมของวันเบาหวานสากล ประจำปี 2022-2023 คือ “Access to Diabetes Care” หรือ ส่งเสริมการเข้าถึงและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องมาจาก มีผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลได้ เพราะผู้ป่วยต้องการการดูแลและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการสภาพของตนเองและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นกิจกรรมหลักในวันโลกเบาหวาน จึงเป็นการเรียนรู้สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน และเชิญชวนให้ทุกคนไปตรวจสุขภาพโรคเบาหวานประจำปีนั่นเอง

 

คำขวัญประจำวันเบาหวานโลกล่าสุด ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้เมื่อปี 2561-2562 คือ The Family and Diabetes เพราะครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการรักษาเบาหวาน ทั้งนี้ สัญลักษณ์ของวันเบาหวานโลก คือ วงกลมที่มีขอบสีฟ้า วงกลมสื่อถึงชีวิตและสุขภาพที่ดี ส่วนสีฟ้าหมายถึงท้องฟ้าทั่วโลกเปรียบได้กับความเป็นสากลโลก เมื่อรวมกันแล้ว “วงกลมสีฟ้า” จึงหมายถึง การรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของชุมชนทั่วทุกมุมโลกโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการแก้ปัญหาภาวะเบาหวานทั่วโลก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วันเบาหวานโลก มีกิจกรรมอะไรบ้าง ?

จัดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข ในการกำหนดให้บุคลากรสาธารณสุขและโรงพยาบาลทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในประเด็นดังต่อไปนี้

  • เรื่องสถานการณ์ความรุนแรงของโรคเบาหวาน
  • ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคเบาหวาน
  • การประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน
  • สัญญาณเตือนภัยโรคเบาหวาน
  • วิธีลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
  • การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน
  • การป้องกันโรคแทรกซ้อน

 

เช็กสิทธิประกันสังคม ตรวจสุขภาพประจำปี

เนื่องในวันเบาหวานโลก อยากชวนให้คนไทยใช้สิทธิประกันสังคม ตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 ตามโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการกับทางสำนักงานประกันสังคม โดยเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด 14 รายการ ดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง

 

No. ประเภทการตรวจ อายุที่ควรตรวจ จำนวนการตรวจ
1 การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
2
การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากร
30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี
40-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
55 ปีขึ้นไป
ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
3
การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์
40-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง
55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี
4 การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
5
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
18-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง
55-70 ปี ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
6 ตรวจปัสสาวะ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
7
น้ำตาลในเลือด
35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี
55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
8 การทำงานของไต 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
9 ไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ปี
10 เชื้อไวรัสตับอักเสบ สำหรับผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.2535 ตรวจ 1 ครั้ง
11
มะเร็งปากมดลูก วิธี Pap Smear
30-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
55 ปีขึ้นไป
ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
12
มะเร็งปากมดลูกวิธี Via
30-54 ปี ตรวจทุก 5 ปี
55 ปีขึ้นไป
แนะนำให้ตรวจ Pap Smear
13 เลือดในอุจจาระ FOBT 50 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
14 Chest X-ray 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี

 

ทั้งนี้ หากตรวจพบความผิดปกติระหว่างการตรวจ ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 จะได้รับการดูแลบำบัดในระยะแรก ซึ่งรวมถึงการตรวจไขมันในเส้นเลือด เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานนั่นเอง ผู้ประกันตนสามารถเข้าตรวจสุขภาพประจำปี ก่อนสิ้นปีนี้ ตรวจสอบข้อมูลสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลที่ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

 

ผู้เป็นโรคเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยกินอาหารควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ลดความเครียดหรือวิตกกังวล ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่จะไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับวัย เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ

 

คุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคมะเร็งปอด สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อาการป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ !

ไม่รู้ว่าท้อง สาววัย 31 คลอดลูกในห้องน้ำ คิดว่ากินจุจนอ้วน เชื่อลูกให้โชค!

ทำไมต้องเตรียมตัว ตรวจเบาหวาน

ที่มา : pptvhd36.com, news.ch7.com, tnnthailand.com

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn