X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ออกซิเจนในเลือดของลูก น้อยก็ไม่ดี มากก็อันตราย

บทความ 5 นาที
ออกซิเจนในเลือดของลูก น้อยก็ไม่ดี มากก็อันตราย

หากลูกของคุณพ่อคุณแม่คลอดก่อนกำหนด อาจจะมีภาวะของออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือการรักษาจนทำให้มีออกซิเจนสูงได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกนะคะ

ออกซิเจนในเลือดของลูก น้อยก็ไม่ดี มากก็อันตราย

การตรวจ ออกซิเจนในเลือดของลูก ส่วนใหญ่แล้วการตรวจสุขภาพของเด็กเล็ก ๆ จะต้องใช้การประเมินผลหลายรูปแบบรวมกัน เช่น การสังเกตอาการ วัดส่วนประกอบที่สำคัญของเลือด การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนนั้นจะบ่งบอกข้อมูลเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สุขภาพของหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือเด็กที่มีประวัติว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ

 

ออกซิเจนในเลือดของลูก

การให้ออกซิเจนในเด็ก

ความอิ่มตัวของออกซิเจน บอกอะไร

ในเด็กที่คลอดครบกำหนด จะมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 95-100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นค่าปกติโดยอาจแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั้นค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนจะอยู่ที่ประมาณ 84-90 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปอดจะยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั่นเองค่ะ

ทั้งนี้ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดนั้นบอกว่า ออกซิเจนที่อยู่ในเลือดมีมากแค่ไหน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพลูกน้อยได้นั่นเองค่ะ

 

ความอิ่มตัวของออกซิเจน “ต่ำ” จะเป็นอย่างไร

 

เป็น hypoxemia หรือ ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย คือภาวะที่เลือดมีออกซิเจมต่ำกว่าปกติ ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานไม่เป็นปกติ โดยอาการที่แสดงออกเมื่อออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 75% หรือต่ำกว่า คือการหายใจจะทำได้ยากลำบาก ถ้าเป็นหนักอาจจะมีอาการเขียวหรือม่วงคล้ำเกิดขึ้นได้ตามริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้า

Advertisement

ระดับออกซิเจนปกติ

แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ที่ 96-99% ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีที่สุดต่อร่างกาย ซึ่งระดับออกซิเจนนี้จะส่งผลให้

1  สมองทำงานดี ที่ระดับออกซิเจนปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ดี เนื่องจากซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับปกติจะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำดี มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีและช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้ปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ถูกต้อง

2  ผิวพรรณดี เนื่องจากออกซิเจนและน้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำและออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และช่วยให้เซลล์มีอายุยืนขึ้น ช่วยลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร

3   ร่างกายแข็งแรง ออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย เมื่อเซลล์ตับแข็งแรงจึงสามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ร่างกายจึงแข็งแรงสมบูรณ์และยังช่วยให้ตับสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย

ความอิ่มตัวของออกซิเจน “สูง” จะเป็นอย่างไร

หากลูกมีภาวะออกซิเจนต่ำต่อเนื่อง ในบางกรณีอาจไม่เกิดความผิดปกติหรืออันตรายใดๆ แต่ในบางกรณีที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เลือด ซึ่งอาจทำให้ออกซิเจนในเลือดสูง ส่งผลให้มีปัญกาบริเวณจอประสาทตาของลูกได้ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้อาจจะส่งผลให้ตาบอดได้เช่นกันค่ะ

 

ออกซิเจนในเลือดของลูก

การให้ออกซิเจนในเด็ก 5 เรื่องที่คุณไม่รู้ และจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับ ทารกแรกเกิด

ปริมาณออกซิเจน ในอากาศแค่ไหนถึงเป็นอันตราย

โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น  ประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21 % และ ไนโตนเจนประมาณ 79 %และ ปริมาณออกซิเจนที่สภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5 – 23.5 % แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15 – 17 % จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน ( Hypoxia ) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาทีแพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูง และ การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่าปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12 – 15 % ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12 % ถือว่าอันตรายและถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไรจะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที

ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร

–  รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
–  หัวใจเต้นเร็วขึ้น
–  การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
–  วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
–  คลื่นไส้ อาเจียน
–  ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
–  รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
–  รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
–  การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
–  มือเท้าชา
–  ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
–  เพ้อ หมดสติ ชัก

ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก
ออกซิเจนหรือสายให้ออกซิเจนทางจมูก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย
ทั้งนี้จะต้องให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอเพื่อที่จะรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะถ้าหากให้ออกซิเจนเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน

 

ออกซิเจนในเลือดของลูก

ติดเชื้อในกระแสเลือด การให้ออกซิเจนในเด็ก

 

ที่มา : Livestrong

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

แม่ร้องขอความเป็นธรรมให้ลูก! หมอฉีดยาจนลูกตาย แต่อ้างลูกสำลักนมเสียชีวิต!

ซึ้ง! พ่อถ่ายภาพ pre-wedding กับลูกสาวหลังแม่ตาย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ออกซิเจนในเลือดของลูก น้อยก็ไม่ดี มากก็อันตราย
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว