หลังจากประชุมด่วน ศบค. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. ได้เรียกประชุมด่วนในวันนี้ (9 ก.ค.) ได้มีการถกเถียงถึงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะเปิดมาตรการ “ล็อกดาวน์” 14 วัน
ซึ่งได้มีความเห็นชอบให้ใช้มาตรการ “ล็อกดาวน์” 14 วัน โดยใข้นโยบายควบคุมการระบาดเข้มข้น 14 วัน เป้าหมายเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้ได้ภายใน 2 – 4 สัปดาห์ รวมถึงห้ามมิให้มีการเคลื่อนย้าย เดินทางออกนอกพื้นที่ และงดการเดินทางออกนอกเคหสถาน อีกทั้งยังคงตระเตรียมทบทวนแผนทั้งหมด เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์ โดยจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในประกาศของ ศบค.
โดยมาตรการหลักของการประชุมในครั้งนี้ เปิดมาตรการบังคับในพื้นที่ จังหวัดกรุงเทพฯ กับ 5 จังหวัดพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และนครปฐม โดยมีระยะเวลาเบื้องต้นอยู่ที่ 14 วัน ก่อนจะประเมินสถานการณ์จากตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน ภายหลัง โดยมาตรการจะเริ่มต้นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 นี้ ยกเว้นการออกนอกจังหวัดให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นต้นไป
ข้อสรุปในการ “ล็อกดาวน์” เบื้องต้นมีดังนี้
- ห้างสรรพสินค้า อนุญาตให้เปิดบริการได้ตามปกติ ในส่วนของซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ด
- ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน Work From Home อย่างเต็มรูปแบบในช่วง 14 วัน ยกเว้นงานบริการที่จำเป็น และงานเกี่ยวกับสาธารณูปโภค
- ขอความร่วมมืองดออกนอกเคหะสถาน 21:00 น. – 04:00 น. แต่จะไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวแต่อย่างใด
- ขอให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ – ปริมณฑล และพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด งดการเคลื่อนย้าย หรือเดินทางข้ามจังหวัด ยกเว้นกรณีจำเป็น (ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.)
- ขอประชาชนออกนอกบ้าน เฉพาะ ซื้ออาหาร ไปโรงพยาบาล และฉีดวัคซีนเท่านั้น
- ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ห้าง สวนสาธารณะ ปิด 20:00 น.
- ระบบขนส่งสาธารณะ ให้บริการได้ 03:00 – 21:00 น.
- สถานบันเทิง สถานบริการ ร้านนวด สปา สถานเสริมความงามปิด
- เน้นมาตรการป้องกันสวมหน้ากากอนามัย
- โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา เปิดปกติ
- งดคลุกคลีคนใกล้ชิด หรือทานอาหารร่วมกัน
- ห้ามรวมกลุ่มทำกิจกรรมเกิน 5 คน
*** ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง 30 กันยายน 2564
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : จับตา โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา หลังพบระบาดแล้วกว่า 30 ประเทศ
ประกาศไม่ขอรับเงินเดือน เป็นเวลา 3 เดือน
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังได้ประกาศไม่ขอรับเงินเดือน เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 อีกด้วย ทำให้รัฐมนตรีบางคน เช่น จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประกาศไม่ขอรับเงินเดือนเป็นเวลา 3 เดือนด้วยเช่นกัน
ย้อนรอยการประกาศล็อกดาวน์ช่วงที่ผ่านมา
วันที่ 2 เมษายน 2563 กับการระบาดครั้งที่ 1
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ 3 เมษายน 2563 เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ในวันเดียวกัน เพื่อให้มีมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้า หรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืน ตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็น หรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้า หรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อ 2 ในกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือน หรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ 1 วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไข หรือเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัด กว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย
ข้อ 3 ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใดซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไป นอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จัดที่เอกเทศเพื่อควบคุม หรือกักกันบุคคลดังกล่าวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
วันที่ 9 เมษายน 2563 ประกาศเพิ่มเติม
กรุงเทพมหานคร ประกาศสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่มที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอยจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดได้ตั้งแต่เวลา 04.01 น. ถึงเวลา 22.00 รวมถึงให้ปิดร้านค้า หรือสถานประกอบการขายสุรา
วันที่ 12 เมษายน 2563 ประกาศเพิ่มเติม
ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้รับรายงานว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัด ได้พิจารณาออกคำสั่งปิดร้านค้า และสถานประกอบการจำหน่ายสุราเป็นการชั่วคราว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : กินอาหารเดลิเวอรี่ อย่างไรให้ปลอดภัย จากโควิด-19 พร้อมวิธีการป้องกัน
วันที่ 1 มกราคม 2564 กับการระบาดครั้งที่ 2
พลตํารวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามประกาศ สั่งปิด 25 สถานที่ เป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย
- สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ
- สวนน้า สวนสนุก
- สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
- โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด
- สถานที่เล่นตู้เกม
- ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
- สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
- สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ
- สนามมวย
- โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)
- สนามม้า
- สถานประกอบกิจการอาบน้ำ
- สถานประกอบกิจการอาบอบนวด
- สนามแข่งขันทุกประเภท
- สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยงทำนองเดียวกัน
- สนามชนโค สนามกัดปลา
- สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
- สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส
- สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
- สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย
- สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด
- สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ
- อาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษาทุกประเภท ห้ามใช้เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอนการฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ยกเว้น การปิดอาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้มีผลถึงวันที่ 17 มกราคม 2564
มีประกาศเพิ่มเติมในวันที่ 4 มกราคม 2564
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกประกาศสั่งปิดสถานที่เพิ่ม ดังนี้
1. ขยายเวลาปิดอาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถานศึกษาทุกประเภท ตามประกาศ กทม. จะใช้ได้ในกิจกรรมให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรืออุปการะแก่บุคคล และกิจกรรมของราชการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจาก กทม. แล้วเท่านั้น
2. ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่แผงลอย ภัตตาคาร ศูนน์อาหาร โรงอาหาร (เว้นร้านอาหารในสนามบิน)ให้บริการรับประทานที่ร้านได้ระหว่างเวลา 06.00-21.00 น. หลังเวลา 21.00 น.รับเฉพาะสั่งกลับบ้าน (Take Away) เท่านั้น
3. สถานที่ให้บริการรักษาสัตว์ สปา อาบน้า ตัดขน รับเลี้ยง/ฝากสัตว์เลี้ยง ช่างตัดขนต้องสวมใส่หน้ากาก Face Shield ถุงมือ และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ทำงาน และควบคุมผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด
4. การประชุม สัมมนา ที่มีผู้ร่วมงานเกิน 200 คน หรือการจัดกิจการขนาดใหญ่ ที่ทำให้เกิดการชุมนุม 300 คน ต้องยื่นแผนจัดงาน และมาตรการควบคุมโรคติดต่อด้วย รวมถึงสถานที่จัดงานเลี้ยง
วันที่ 16 เมษายน 2564 กับการระบาดครั้งที่ 3
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษก ศบค. ได้แถลงสรุปหลังการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ระบุว่า ไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว และล็อกดาว แต่ได้เพิ่ม 9 (ร่าง) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ยกระดับควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ดังนี้
- ห้ามจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
- ปิดสถานบริการ หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร
- กำหนดพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามเขตพื้นที่
- พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) : รวม 18 จังหวัด
- พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) : รวม 59 จังหวัด
- กำหนดมาตรการควบคุมพื้นที่ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน
พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)
- ก. การจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ให้การบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มในร้าน ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น.
- ข. ห้ามการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
- ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น.
- ง. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.
- จ. สนามกีฬา หรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย เปิดได้ไม่เกิน เวลา 21.00 น.
พื้นที่ควบคุม (สีส้ม)
- ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ในร้านได้ ไม่เกินเวลา 23.00 น.
- ข. การจำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
- งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง
- งดจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ งานเลี้ยง งานรื่นเริง
- ขอความร่วมมือ Work From Home
- ให้ ศปค.สธ. และ ศบค.มท. เร่งจัดหาสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อโดยด่วน
- ปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
ล่าสุดวันที่ 27 มิถุนายน 2564
เว็บไซต์ราชกิจจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ซึ่งลงนาม โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีสาระสาคัญคือมาตรการกึ่งล็อกดาวน์กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา) ดังนี้
- ปิดแคมป์ก่อสร้าง 30 วัน เพื่อเข้าควบคุม และชะลอการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
- การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านอาหารทั้งหมด ให้เปิดดำเนินการเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าคอมมิวนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. โดยให้งดการให้บริการเพิ่มเติมในพื้นที่โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ พื้นที่นั่งรับประทานในศูนย์อาหาร และเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลในพื้นที่พักคอย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหมุนเวียนอากาศ
- โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยให้งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา และการจัดเลี้ยง
- ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจานวนรวมกันมากกว่ายี่สิบคน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
ที่มา : mgronline , prachachat
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกฉีดวัคซีน ไข้ขึ้น ทำยังไง วัคซีนตัวไหนทำให้เกิดไข้บ่อยสุด
ผลวิจัยเผย การล็อคดาวน์ COVID-19 อาจทำแม่เสี่ยงแท้งบุตรได้
เตรียมล็อกดาวน์ !! พรุ่งนี้นายกนัด ศคบ. เรื่องปิดล็อกหลังยอดพุ่งสูงทะลุ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!