เมื่อลูกรักของเราอายุได้ 6 เดือน เด็ก ๆ จะเริ่มทานอาหารอ่อนได้เเล้ว ซึ่งคุณแม่เองควรให้น้อง ๆ เริ่มจากการทานอาหารบด อาหารปั่น และอาหารที่เคี้ยวง่าย ๆ ก่อน ในช่วงนี้ เด็ก ๆ ยังฟันขึ้นไม่ครบ ฉะนั้น ควรเลือกอาหารอ่อนให้ลูกจะดีที่สุดค่ะ วันนี้เราอยากจะมาแนะนำเมนูอาหารง่าย ๆ เมนู ผักสําหรับทารก6เดือน แสนอร่อย ที่คุณแม่ทำเองที่บ้านได้ง่าย ๆ ค่ะ
พัฒนาการเด็ก 6 เดือน มีอะไรบ้าง
เด็กทารกวัย 6 เดือน จะเริ่มได้ยินเสียงชัดขึ้น ชอบมองตามเสียงของพ่อแม่หรือเสียงรอบ ๆ ตัวแล้ว รวมทั้งจะเริ่มจับสิ่งของเองได้บ้าง และก็เนื่องจากว่าลำไส้ของเด็ก ๆ ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น เด็ก ๆ จึงเริ่มทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมได้แล้ว ทั้งนี้ เด็ก ๆ จะเริ่มยิ้ม และเริ่มมีปฏิกิริยาตอบโต้กับคนรอบตัวด้วยเช่นกัน หากว่าช่วงนี้เด็ก ๆ ชอบจับสิ่งของแล้วโยนทิ้ง คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งดุเด็ก ๆ นะคะ เพราะนิสัยเหล่านี้ ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการของเด็กค่ะ
รวมเมนูผักสําหรับทารก6เดือนแสนอร่อย
การฝึกให้ลูกกินผักตั้งแต่ยังเด็ก เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้เด็ก ๆ ชอบกินผักจนเป็นนิสัย แถมผักยังเป็นอาหารที่ให้คุณประโยชน์มากมาย ซึ่งเมนูผักสำหรับเด็กที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ มีดังต่อไปนี้
1. อะโวคาโด้บดสุดอร่อย
วัตถุดิบ : อะโวคาโด้ 1 ลูก ใบสะระแหน่ 6 ใบ
วิธีทำ :
- ผ่าอะโวคาโด้ออกเป็นครึ่งซีกตามแนวยาว แล้วคว้านเนื้อออกมา
- บดเนื้ออะโวคาโด้ด้วยช้อนให้ละเอียด
- นำใบสะระแหน่มาสับให้ละเอียด และผสมลงในอะโวคาโด้ที่บดไว้
- เสร็จแล้วนำมาเสิร์ฟพร้อมขนมปังปิ้งชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกน้อยทานได้เลย
2. ซุปข้นผักโขมและแครอทย่าง
วัตถุดิบ : แครอทขนาดกลางปอกเปลือก ผักโขมสด 2 กำมือใหญ่
วิธีทำ :
- เตรียมฟอยล์มา 1 แผ่น จากนั้นหั่นแครอทออกเป็นแท่งหรือชิ้น แล้วห่อรวมกับผักโขม
- นำแครอทและผักโขมที่ห่อฟอยล์แล้วไปอบในเตาอบที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 นาที
- พออบเสร็จแล้ว ให้นำแครอทและผักโขมที่อบไว้มาบด
- เสิร์ฟให้ลูกน้อยทานได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : สูตรอาหารเด็กวัยหย่านม เมนูฟักทองสำหรับเด็กวัยหย่านมสุดอร่อยประโยชน์เน้น ๆ
3. ถั่วลันเตาและหัวผักกาดบด
วัตถุดิบ : ถั่วลันเตาแช่แข็ง 100 กรัม หัวผักกาด 1 ลูก
วิธีทำ :
- ปอกเปลือกหัวผักกาดออก และหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- นำหัวผักกาดไปต้มในหม้อประมาณ 10-15 นาที จนเนื้อหัวผักกาดนิ่ม
- นำถั่วลันเตาลงไปต้มประมาณ 5 นาที
- เมื่อเสร็จแล้วให้นำหัวผักกาดที่ต้มเสร็จ มาปั่นรวมกับถั่วลันเตาต้ม
4. บวบและดอกกะหล่ำบด
วัตถุดิบ : บวบ 200 กรัม ดอกกะหล่ำ 100 กรัม
วิธีทำ :
- ต้มดอกกะหล่ำในหม้อน้ำเดือดประมาณ 10-12 นาทีจนดอกกะหล่ำนิ่มได้ที่
- ระบายน้ำออกจากหม้อต้ม
- สับบวบออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปนึ่งจนนิ่ม
- นำบวบและดอกกะหล่ำมาบดรวมกัน ทั้งนี้ จะขูดชีสโรยหน้าเพื่อเพิ่มความอร่อยด้วยก็ได้
5. บวบบด ผสมถั่วลันเตาและคะน้า
วัตถุดิบ : ถั่วลันเตา 200 กรัม คะน้าสด 200 กรัม บวบ
วิธีทำ :
- ล้างบวบแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- ล้างผักคะน้าให้สะอาด
- ต้มผักทั้ง 2 ชนิดในกระทะประมาณ 6-8 นาที จนผักสุกนิ่มได้ที่
- นำผักไปบดด้วยเครื่องปั่นหรือช้อนจนละเอียดตามที่ต้องการ
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวม 7 อาหารเด็ก 1 ขวบ อาหารญี่ปุ่น เพิ่มพัฒนาการ อาหารอร่อยที่ลูกชอบ!
6. มันหวานบด
วัตถุดิบ : มันเทศ 1 ลูก น้ำต้มสุกเย็น หรือนมที่เด็กกินเป็นประจำ
วิธีทำ :
- ปอกมันเทศแล้วหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
- นำมันเทศไปต้มในหม้อจนนิ่ม
- นำมันเทศต้มสุกไปบดและใส่นมเด็กลงไปผสม คนจนเป็นเนื้อเดียว เป็นอันเสร็จ
เคล็ดลับในการป้อนอาหารทารกอายุ 6 เดือน
เราแนะนำให้คุณแม่ค่อย ๆ ป้อนอาหารน้อง ๆ อย่างระมัดระวัง เพราะเด็ก ๆ อาจจะยังไม่ชินกับการทานอาหาร ซึ่งในบางครั้งเด็ก ๆ อาจสำลักอาหาร หรืออาจจะไม่ยอมทานอาหาร หากในช่วงแรกที่ป้อนอาหารแล้วเด็กไม่ยอมกินอาหาร ให้รออีกสัก 2-3 วันก่อน แล้วจึงค่อยลองป้อนอาหารชนิดอื่นดู
ทั้งนี้ อาจมีบางครั้ง ที่เด็กกินอาหารแล้วเกิดอาการแพ้อาหาร แต่คุณแม่ก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ ในเบื้องต้น ให้จดบันทึกอาการและอาหารที่ลูกแพ้เอาไว้ และหากเด็กมีอาการแพ้รุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หายใจไม่อิ่ม ปากบวม หรือมีผื่นลมพิษ เป็นต้น ควรรีบพาลูกไปหาหมอโดยด่วนค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เครื่องปั่นอาหารทารก แนะนำเครื่องปั่น เครื่องนึ่งอาหารเด็ก ยี่ห้อไหนดีมาดูกัน
อาหารเด็ก 2 ขวบ แชร์ไอเดียสูตรเมนูอาหารญี่ปุ่นสำหรับเด็ก 2 ขวบ
อาหารเด็ก ก่อนวัยเรียน เมนูอาหารก่อนวัยเรียนของลูกๆ ที่คุณแม่ทำง่ายๆ
ที่มา : nanababyshop