หินปูน สาเหตุและวิธีป้องกัน ไม่ให้ฟันลูกมีคราบหินปูน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิตลูกน้อย เราจะเห็นการงอกของฟันน้ำนมหลายซี่ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะตกใจที่เห็นฟันของลูกน้อยมีคราบ หินปูน ขึ้นมา ลองมาดูกันว่าหินปูนเกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษาเพื่อให้ฟันลูกน้อยปราศจากคราบหินปูนกันครับ

 

หินปูน เกิดจากอะไร

คราบหินปูน มักเกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับโปรตีน หรือเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟัน และผิวคอฟันต่าง ๆ  เกิดเป็นคราบขี้ฟันสีขาว หรือ เหลือง   โดยคราบขี้ฟันในระยะนี้จะนิ่ม และแปรงออกได้  แต่หาก ทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จะตกตะกอนจนเป็นก้อนแข็ง กลายเป็นคราบหินปูนขึ้นมา เกาะตามผิวฟัน คอฟัน และซอกฟัน หากทิ้งไว้ต่อไป มีโอกาสทำให้เหงือกอักเสบ และมีเลือดออกได้ ขณะกินข้าว หรือ แปรงฟัน รวมถึงทำให้มีกลิ่นปากด้วย

เมื่อไหร่ที่เรามีคราบหินปูนเกิดขึ้นภายในบริเวณช่องปาก การแปรงฟันปกติก็อาจจะไม่ได้ช่วยกำจัดคราบหินปูนเหล่านี้ได้ เราจึงต้องให้คุณหมอใช้เครื่องมือทันตแพทย์ช่วยกำจัดคราบหินปูนออกนั่นเองครับ

 

นอกจากคราบหินปูนแล้ว ยังมีคราบอื่น ๆ สีต่าง ๆ ที่สามารถขึ้นเกาะบนผิวฟันลูกได้  มีแบบไหนบ้าง

คราบสีดำบนฟันน้ำนม

  • คราบสีดำบนผิวฟันลูก เพียงซี่เดียว หรือหลาย ๆ ซี่  มักเกิดร่วมกับการที่ลูกรับประทานอาหารเสริม หรือ วิตามินบางชนิดที่มีส่วนผสม ของธาตุเหล็กสูง  คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นเป็นคราบสีดำบนผิวฟันลูกที่แปรงไม่ออก หรือ แปรงออกได้ยาก สาเหตุมาจากตะกอนของธาตุเหล็กที่แสดงออกบนผิวฟัน แต่ไม่มีความอันตรายแต่อย่างใด หากคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องความสวยงาม สามารถพาไปพบทันตแพทย์เพื่อ ทำการขัดฟันได้ ออกได้ แต่คราบฟันดำนี้สามารถกลับมาได้อีก หากลูกยังรับประทานอาหารเสริม หรือ วิตามินที่มีธาตุเหล็กอยู่

คราบสีน้ำตาลบนผิวฟันลูก

คราบสีน้ำตาลบนฟันลูก มักพบเกิดขึ้นในช่วงชุดฟันผสม อาจเป็นสัญญาณของฟลูออโรซิส ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป หรือฟันแท้ของลูกมีสีน้ำตาลรูปร่างไม่สวยงาม อาจมาจาก การที่เคยมีฟันน้ำนมในตำแหน่งนั้น  ที่ผุมากจนมีการติดเชื้อมาก่อนจึงส่งผลกระทบต่อฟันแท้ที่ขึ้นมาใหม่ได้ หรืออาจจะเป็นสีน้ำตาลที่เป็นจุดเริ่มต้นของฟันผุ บนผิวฟันได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนม ต้องดูแลอย่างไร

 

อาหารที่สามารถทำให้เกิดคราบหินปูนได้ง่าย

คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงที่ฟันของลูกจะเกิดคราบหินปูนได้ โดยการจำกัดอาหารบางชนิดที่เพิ่มโอกาสการเกิดคราบหินปูนได้ เพราะอาหารบางชนิดอาจทำให้ฟันน้ำนมเป็นคราบหินปูนเกาะได้มากและ เกิดได้เร็วขึ้นด้วย ได้แก่

  • ผลไม้อบแห้ง ขนมเยลลี่ ลูกอม  ที่มีทั้งความหวานความเหนียว เกาะติดผิวฟันทำความสะอาดได้ยาก
  • โซดา น้ำอัดลม ต่าง ๆ ความหวานและความเป็นกรดของแก๊สในน้ำอัดลม จะทำลายผิวฟันและทำให้หินปูนสามารถเกาะได้ง่ายขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสการเกิดฟันผุตามมาได้อีกด้วย
  • นมรสหวาน หรือ นมแต่งกลิ่นรสต่าง ๆ ทั้งคราบนม และคราบน้ำตาลทำให้หินปูนเกาะ และขึ้นเร็วขึ้นได้
  • ขนมปัง จากการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลของสารในน้ำลาย จะทำให้เกิดคราบตามผิวฟันได้ง่าย
  • น้ำผลไม้รสเปรี้ยว กัดกร่อนผิวเคลือบฟันทำให้หินปูนเกาะง่ายมากขึ้น

หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกทานอาหารเหล่านี้ แนะนำให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ หลังจากนั้น  เพื่อปรับสภาวะในช่องปาก ชะล้างคราบน้ำตาล และ เศษอาหารออกได้บางส่วน 

ในน้ำนมแม่ แม้ว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่า มีสารช่วยยับยั้งฟันผุได้จริง แต่ในน้ำนมแม่ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นน้ำตาลอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ฟันผุ และเกิดเป็นคราบหินปูน ได้เช่นกัน แต่โอกาสการเกิดจากนมแม่ จะมีน้อยกว่า จากในนมผง นมวัว หรือนมอื่น ๆ ที่มีโอกาสทำให้ฟันผุ และ เกิดคราบหินปูนได้มากกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา อันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

วิธีขจัดคราบหินปูน

การกำจัดคราบหินปูนมักจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากคราบเป็นสีเหลืองหรือ สีขาว นิ่ม ๆ ที่ดูเหมือนยังใหม่อยู่ คุณพ่อคุณแม่สามารถแปรงฟันของลูกน้อยเบา ๆ เพื่อขจัดคราบพลัคหรือ คราบขี้ฟันนั้น ออกจากเคลือบฟันได้เลย  แต่หากเป็นก้อนหินปูนที่แข็งไปแล้ว จำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการใช้เครื่องมือเอาออกให้ และถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังกังวลอยู่อีกละก็ หมอมีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ มาแบ่งปันครับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้หรือโซดา น้ำอัดลม เพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดคราบหินปูนได้
  • เช็ดพื้นผิวฟัน และเหงือกของเด็ก ๆ หลังจากการให้นมครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของวัน
  • แปรงฟันให้สะอาดเป็นประจำ วันละ 2 ครั้ง เช้า -เย็น 
  • ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น ให้พาลูกไปหาหมอฟันอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง หรือ ทุก 6 เดือน เพื่อติดตามสุขภาพฟัน เพราะหากพบความผิดปกติเล็ก ๆ จะรักษาได้ทันก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ รวมถึงสร้างความคุ้นเคยให้เด็กด้วย 
  • สอบถามทันตแพทย์ของเด็ก ๆ เกี่ยวกับการเคลือบฟลูออไรด์ ทันทีที่ฟันซี่แรกของลูกขึ้นมา
  • พูดคุยกับกุมารแพทย์หรือทันตแพทย์เด็ก หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับคราบหินปูนหรือฟันลูก ๆ ที่เปลี่ยนสีไป

 

การป้องกันไม่ให้ฟันของเด็ก ๆ มีคราบหินปูนนี่ง่ายกว่าการรักษาเยอะเลยนะครับ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อย่าลืมทำตามคำแนะนำ หมั่นทำความสะอาดช่องปาก ฟัน และเหงือกของลูกน้อยอยู่เสมอ รับรองว่าฟันจะสะอาด ไม่ต้องมีการรักษาอื่นที่ซับซ้อนวุ่นวายอีกด้วยครับ

 

ทพ.ณัฐภัทร ภัทรพรเจริญ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แปรงลิ้น ตอนแปรงฟันดีอย่างไร? สอนลูกแปรงลิ้น จำเป็นหรือไม่

ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน