X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก อายุ 0 - 9 ปี วิธีแบ่งเวลาให้กับลูกสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่

บทความ 5 นาที
ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก อายุ 0 - 9 ปี วิธีแบ่งเวลาให้กับลูกสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่

ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 9 ขวบ วิธีใช้เวลากับลูกให้มีคุณภาพ พ่อแม่ควรทำอย่างไร ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอย่างไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกน้อยคนแรกอาจต้องการปรับตัวในช่วงที่ตนเองกำลังทำงาน และต้องเลี้ยงลูกไปด้วย ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก จะเป็นทางออกที่สำคัญให้กับปัญหานี้ โดยเรามีคำแนะนำให้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กอายุ 9 ปีว่าควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมได้อย่างไรบ้าง

 

ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก

ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก อยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีสมวัยพ่อแม่ควรจัดกิจกรรมให้ลูกอย่างไร เราลองมาดูวิธีบริหารจัดการเวลา สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 9 ขวบกันดีกว่าค่ะ

 

เด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี

สำหรับเด็กวัยนี้ มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไม่แนะนำให้เด็กอยู่กับหน้าจอพวกโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ หากจำเป็นให้ลูกดูจริงๆ พ่อแม่ก็ควรอยู่กับลูกด้วยอย่าปล่อยให้ลูกดูเพียงลำพัง แต่ควรแบ่งเวลาให้ลูกทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกด้วยอย่างน้อย 30 นาที เช่น กิจกรรมให้ลูกนอนคว่ำค่ะ หรือจะให้ลูกนั่งรถเข็น นั่งเล่นเก้าอี้ประมาณ 1 ชั่วโมงก็ได้ (เวลาไม่จำกัดค่ะ) และอย่าลืมปล่อยให้น้องได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยการนอนของเด็กที่มีอายุ 0-3 เดือน จำเป็นต้องใช้เวลานอนทั้งวันประมาณ 14-17 ชั่วโมง ส่วนเด็กอายุ 4-11 เดือน จำเป็นต้องใช้เวลานอนทั้งวัน 12-16 ชั่วโมงค่ะ

 

ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก 10

 

เด็กวัยหัดเดิน อายุ 1-2 ปี

กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ พ่อแม่อย่าลืมแบ่งเวลาอย่างน้อย 180 นาที ให้ลูกได้ออกกำลังกายออกแรงบ้าง เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อยเช่นเดียวกัน แล้วอาจจะเปลี่ยนมาให้ลูกนั่งรถเข็น หรือนั่งบนเก้าอี้บ้างในเวลาที่มากกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ที่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี นั่งดูโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตนิ่งๆ อยู่ลำพัง หากอยากให้ลูกได้เล่นเพื่อเสริมพัฒนาการต้องรอให้ลูกมีอายุ 2 ขวบขึ้นไปก่อน และไม่ควรปล่อยให้เล่นนานเกิน 1 ชั่วโมงนะคะ สำหรับน้องวัยนี้ควรได้รับการนอนหลับพักผ่อนประมาณ 11-14 ชั่วโมงต่อวัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการเด็กวัย 2 ขวบถึง 2 ขวบครึ่ง และเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

 

เด็กวัยก่อนเรียน อายุ 3-5 ปี

เช่นเดียวกับเด็กวัยหัดเดิน พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกเล่นออกกำลังกายประมาณ 180 นาที ไม่ควรให้เด็กนั่งเฉยๆ และควรจัดกิจกรรมอย่างน้อย 60 นาที ให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่กระฉับกระเฉงมากขึ้น อาจจะเป็นการเล่นกีฬาอย่างว่ายน้ำ เล่นฟุตบอล หรือตีแบดมินตันก็ได้ค่ะ แน่นอนว่าไม่แนะนำให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตนานกว่า 1 ชั่วโมงนะคะ และพ่อแม่ต้องคอยดูลูกเล่นอยู่เสมอเพื่อที่ลูกจะได้ใช้หน้าจอเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับการนอนที่เหมาะสมคืออยู่ประมาณ 10-13 ชั่วโมงต่อวันค่ะ

 

เด็กวัยเรียน อายุ 6 – 9 ปี

พ่อแม่ควรเน้นกิจกรรมที่ให้ลูกได้เล่นหรือมีส่วนร่วมกับเพื่อน เพราะจะทำให้เด็กได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกัน ได้เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็ก แต่ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ยัดเยียดให้ลูกทำกับเพื่อนนะคะ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกเลือกเองว่าอยากทำกิจกรรมนี้หรือไม่ เด็กจะได้ไม่รู้สึกเครียดหรือกดดันตลอดเวลาค่ะ เพราะถ้าพ่อแม่บังคับลูกจนเกินไปจะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่าย ขาดการเป็นตัวเอง ขาดการกระตือรือร้น ทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้ค่ะ ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่จะพอทำได้คือการคอยดูแลเอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น และคอยตอบสนองความต้องการของลูกอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพูดคุยและการสอบถามความต้องการของลูกบ้างค่ะ

 

ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก 11

 

ในทางตรงข้าม หากพ่อแม่กลับปล่อยละเลยลูก ให้ลูกทำอะไรตามลำพังคนเดียว เด็กก็จะหันไปหาสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุดอย่างโทรทัศน์ เกม โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตแทน และบางคนยังใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากกว่าอยู่ในห้องเรียนอีก จนกลายเป็นเด็กเฉื่อยชา และท้ายที่สุดเด็กก็คิดว่าเขามีโทรทัศน์ เกม โทรศัพท์มือถือเป็นเพื่อน เป็นเหมือนพี่เลี้ยงค่ะ สำหรับเวลาที่เด็กควรดูโทรทัศน์นั้นต้องไม่เกิน 30 นาที – 1 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ต้องไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวันค่ะ และพ่อแม่ควรคอยสังเกตดูด้วยว่าลูกดูอะไรอยู่ คอยพูดคุยกับลูกถึงสิ่งที่ลูกได้ดู คอยสอดแทรกความคิดเห็นและสอดลูกในเรื่องต่างๆ ด้วยค่ะ เพราะเด็กพอโตขึ้นเวลาที่อยู่กับพ่อแม่ก็จะน้อยลง พ่อแม่จึงควรเก็บเกี่ยวช่วงที่ลูกเล็กๆ ไว้นะคะ

สำหรับเด็กในวัยเรียน การแบ่งเวลาให้กับลูกเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะได้เป็นการฝึกวินัยให้กับลูกไปในตัวด้วย โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มเข้าชั้นประถม เด็กจะเริ่มมีการบ้าน มีโครงงาน มีงานกลุ่มเยอะแยะไปหมด ดังนั้นพ่อแม่อาจต้องช่วยลูกในการวางแผนด้วยค่ะ โดยมีวิธีการ ดังนี้

 

  • ดูสมุดจดการบ้านลูก พ่อแม่ควรเช็คว่าวันนี้ลูกมีการบ้านอะไรบ้าง กำหนดส่งวันไหน งานยากหรือง่ายอย่างไร ต้องหาอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือเปล่า ลูกจะได้มีงานสิ่งทันกำหนดค่ะ
  • กำหนดเวลาทำการบ้านที่แน่นอน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีสมาธิในการทำงานไม่เหมือนกัน บางคนรีบทำการบ้านก่อน บางคนขอเล่นก่อนค่อยทำ จนสุดท้ายก็ลืมทำการบ้านไป ดังนั้น พ่อแม่ควรให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จก่อนแล้วค่อยเล่นค่ะ
  • ให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น พ่อแม่อาจจัดสรรตารางเวลาให้ลูก เช่น หลังทานอาหารเย็น ให้เวลาลูกครึ่งชั่วโมงทำกิจกรรมอะไร แล้วค่อยอาบน้ำ ก่อนเข้านอน
  • ให้ความสำคัญกับลักษณะนิสัยของเด็ก พ่อแม่จะรู้ว่าลูกแต่ละคนเป็นอย่างไร ชอบอ่านหนังสือ ชอบเล่นกีฬา ชอบทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือมีความเชื่องช้า ดังนั้น พ่อแม่อาจจะต้องคุยกับลูก กำหนดเวลาให้กับลูก ทำข้อตกลงร่วมกัน จะได้ไม่เป็นปัญหาค่ะ
  • เขียนกิจกรรมของคนในครอบครัวลงในปฏิทิน เพื่อที่ลูกจะได้ให้ทุกคนในลูกรู้จักหน้าที่ของตัวเอง อาจจะทำในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ โดยที่พ่อแม่และลูกช่วยกันทำ เช่น เวลาเล่นเกม ทำการบ้าน อ่านหนังสือ ทำความสะอาดบ้าน เก็บผ้า เป็นต้น

 

คุณพ่อคุณแม่คงได้แนวทางการแบ่งเวลาให้ลูกตามที่เราแนะนำไปแล้ว อย่าลืมการปรับตัวหรือแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อให้มีความเหมาะสมตามรูปแบบของแต่ละครอบครัวด้วยนะ

 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

ลดการเล่นโทรศัพท์ แบ่งเวลาเล่นโทรศัพท์ มาเล่นกับลูก ลดการใช้มือถือต้องทำทั้งครอบครัว

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เล่นด้วยกันได้ไม่นานก็ทะเลาะกันตลอด ควรทำอย่างไรดี

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือ-แท็บเล็ตได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ

 

ที่มา:  1, 2,3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ตารางแบ่งเวลาให้กับลูก อายุ 0 - 9 ปี วิธีแบ่งเวลาให้กับลูกสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่
แชร์ :
  • 6 วิธีใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ

    6 วิธีใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ

  • วิจัยชี้! พ่อเล่นกับลูกช่วยให้ลูกฉลาด แนะคนเป็นพ่อหาเวลาเล่นกับลูกบ่อยๆ

    วิจัยชี้! พ่อเล่นกับลูกช่วยให้ลูกฉลาด แนะคนเป็นพ่อหาเวลาเล่นกับลูกบ่อยๆ

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 6 วิธีใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ

    6 วิธีใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ

  • วิจัยชี้! พ่อเล่นกับลูกช่วยให้ลูกฉลาด แนะคนเป็นพ่อหาเวลาเล่นกับลูกบ่อยๆ

    วิจัยชี้! พ่อเล่นกับลูกช่วยให้ลูกฉลาด แนะคนเป็นพ่อหาเวลาเล่นกับลูกบ่อยๆ

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ