คลอดไหล่ยาก คลอดติดไหล่ อาการทำให้คลอดยาก คืออะไร ส่งผลต่อลูกอย่างไร?
ลองจินตนาการ ดูถึงตอนที่คุณกำลังอยู่ในห้องคลอดดู อีกไม่นานลูกที่อยู่ในท้องคุณมาตั้ง 9 เดือน จะออกมาดูโลกภายนอกแล้ว แต่จู่ ๆหมอก็บอกให้คุณหยุดเบ่งกลางครัน สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ และ มันเรียกว่าอาการ คลอดไหล่ยาก คุณอาจจะถามตัวเองว่า แค่คลอดธรรมดามันยังไม่เคร่งเครียดพออีกหรอ อย่างไรก็ตามอาการนี้สามารถคาดเดาได้ยากว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน ถึงแม้ว่าจะอันตราย และสามารถเกิดขึ้นได้ กับทุก ๆ คน แต่เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่าอาการนี้เกิดมาจากอะไร และ คุณทำอะไรได้บ้าง ถ้ามันดันไปเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง
คล อดไหล่ยาก คลอดติดไหล่
อะไรคือคลอดไหล่ยาก?
การจะอธิบายว่าการคลอดไหล่ยาก และ มันเกิดขึ้นตอนไหน เราควรจะต้องเข้าใจก่อนว่า การคลอดเกิดกระบวนการ อะไรขึ้นบ้าง
คลอดไ หล่ยาก คลอดติดไหล่
การคลอดมีสี่ขั้นตอน :
- ปากมดลูกเปิด
- เตรียมพร้อมสำหรับการเบ่งลูก
- เบ่งครั้งสุดท้าย
- เปลี่ยนเป็นสภาพหลังคลอด
อาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสองของการคลอด ตอนที่ คุณแม่ กำลังเตรียมตัวจะเบ่งลูก และ คลอดลูก ในช่วงนี้ปกติแล้วจะมีการหยุดชั่วคราวตอนที่หัวเด็กออกมาแล้วก่อนตัวจะตามออกมา ถ้าอาการนี้เกิดขึ้น การหยุด หรือ ดีเลย์จะนานขึ้นไปอีก เพราะไหล่จองเด็กจะติด ถ้าเกิดอาการนี้ขึ้น เด็กจะหายใจไม่ออก และ สายสะดือจะบีบตัว ความถี่ของการเกิดอาการแบบนี้คือ 1 ใน 2000 การคลอด อย่างไรก็ตามอาการน้สามารถเกิดขึ้น กับแม่ผ่าคลอดได้ด้วย
ความเสี่ยง
คลอดไหล่ ยาก
คุณแม่ บางคนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการนี้ มากกว่าแม่คนอื่น ๆ การที่เรารู้ก่อนว่าตัวเองมีความเสี่ยงจะทำให้เราสามารถป้องกัน ได้ก่อนเกิดเหตุร้ายใด ๆ ถ้าคุณมีเบาหวาน ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 2 ถึง 4 เท่า ถ้าลูกอ่อนในครรถ์นั้นหนักกว่า 4.5 กิโล หรือ ค่า BMI ของคุณแม่สูงกว่า 30 หน่วย ก็จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงสูง ๆ ขึ้นไปอีก
ถ้าเกิดอาการติดไหล่คุณควรจะทำอย่างไร?
คลอดไ หล่ยาก คลอดติดไหล่
ถ้าอาการนี้ เกิดขึ้นกับคุณก่อนอื่นเลยคือ อย่าตระหนก คนที่กำลังช่วยคุณทำคลอด จะช่วยเหลือคุณ และ แนะนำว่าคุณควรทำอย่างไร มันเป็นเรื่องปกติมากที่ คุณจะกังวลเมื่อเห็นว่าลูกไม่สามารถออกมาได้ และ อาจเบ่งแรงขึ้น อย่างไรก็ตามหมอจะบอกให้ คุณหยุดเบ่งทันที คุณแม่ ควรพยายามที่จะไม่เบ่งเพราะ คุณแม่ อาจจะทำให้ลูกเจ็บเข้าไปมากกกว่าเดิม
คุณหมออาจจะใกล้คุณลองใช้เทคนิคที่เรียกว่า McRoberts Manoeuvre ซึ่งเป็นเทคนิคให้ยกเข่าขึ้น และ หมอจะค่อย ๆ กดท้องของคุณอย่างเบา ๆ และ ช่วยให้ไหล่ออกมาจากช่วงกระดูกเชิงกราน การทำท่านี้จะช่วยเปลี่ยนองศาในการคลอด ทำให้เปอร์เซ็นต์การคลอดสำเร็จเพิ่มขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์
หรือ หมออาจจะให้คุณทำท่าที่เรียกว่า all-fours position แล้วหมอจะล้วงมือเข้าไป ภายในช่องคลอดเพื่อดึงลูกออกมา แต่คุณจำเป็นจะต้องทำการขยายช่องคลอดก่อนที่จะทำแบบนี้ได้
คล อดไหล่ยาก คลอดติดไหล่ อาการทำให้คลอดยาก คืออะไร ส่งผลต่อลูกอย่างไร?
ในเคสที่ยากจริง ๆ คุณหมอออาจจะต้องทำให้กระดูกไหปลาร้าองเด็กแตกออกก่อนจะนำตัวเด็กออกมา กระดุกชิ้นนี้จะสามารถรักษาให้หายได้
โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะไม่สามารถหายใจได้ ขาดอ๊อกซิเจนช่วงเวลาหนึ่ง และ อาจจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตัว คุณแม่ เองอาจจะรู้สึกผิด แต่คุณหมอจะช่วยให้ คุณแม่ ผ่านไปได้
Source : sg.theasianparent
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะ คุณแม่ จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้ง เด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่ คุณแม่ ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีดูแลแผลหลังคลอด ทิปส์สำหรับการรักษาแผลให้หายไวๆ ไม่เจ็บตัวนาน
วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดควรปฎิบัติตัวอย่างไร ทำอย่างไรให้ฟื้นตัวเร็ว
5 เหตุผลยอดนิยมของ คุณแม่ผ่าคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!